กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านควน ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1.นางนฤมล โต๊ะหลัง ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์โทร 081-4796366
2.นางอารีนี หมัดสะแหละ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทร 081-0925942
3.นางเบญจมาภรณ์ หลีเส็น ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทร 086-4813643
4.นางสุกัญญา ลัสมาน ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์โทร 086-0810676
5.นส.มุณา กฤติยาสกุล ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทร 081-0995792

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ประชาชนต้องรีบเร่งแข่งขันกับเวลา ทำให้ขาดการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว
ส่งผลให้เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สาเหตุมาจากพฤติกรรมการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย กินผักผลไม้ที่ไม่เพียงพอ รวมทั้งอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัดความเครียดและการสูบบุหรี่ เป็นต้น ทางกระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคโดยมีเป้าหมายประชากรอายุ 35ปีขึ้นไปทุกรายที่ไม่ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
ต้องได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงด้วยการ วัดความดันโลหิต ตรวจน้ำตาลในเลือด ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและการวัดเส้นรอบพุง เพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงและค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น ปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและถือว่าเป็น “ภัยเงียบ”เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ โดยประชาชนที่เสี่ยงหรือป่วยถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักาที่เหมาะสมก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอาจเสียชีวิตเฉียบพลันหรืออาจเกิดความพิการที่ไม่อาจแก้ไขได้ เช่นโรคไตวาย ตาบอดโรคหลอดเลือดสมองตีบและโรคหลอดเลือดสมองแตกได้
จากผลการดำเนินงานคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป ใน ม.1 และม.4 ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ในปี 2565 ผลการคัดกรองโรคเบาหวาน จากกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรอง
จำนวน 913 คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 4.12 กลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 0.43 และผลงานการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจากกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรอง จำนวน 829 คน
พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 10.15 กลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 2.62 และพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 4 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 5 คน
เป็นผู้ป่วยรายใหม่ที่เกิดจากกลุ่มสี่ยงสูง ถ้ากลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง จะสามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงโรคดังกล่าวได้และการดูแลสุขภาพในกลุ่มป่วย ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ตำบลบ้านควน
มีผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 31 คน โรคเบาหวาน 28 คน โรคความดันโลหิตสูง 74 ราย รวมทั้งหมด 133 คนซึ่งเป็นกลุ่มป่วยที่ต้องได้รับการดูแล และให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ตำบลบ้านควน อ.เมืองจ.สตูลได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจึงจัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ สามารถดูแลตนเอง
และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมด้วยหลัก 3อ 2ส

ร้อยละ 60 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีค่าระดับน้ำตาล,ค่าความดันโลหิตลดลงจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ(ลดลงจาการตรวจครั้งแรก ติดตามหลังการอบรม 3 เดือนและ 6 เดือน)

50.00 60.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ให้ได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างเป็นระบบ

ร้อยละ 100 ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างเป็นระบบ

50.00 100.00
3 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมและติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมและติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1จัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
1.2ทำหนังสือเชิญกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการอบรม
1.3ดำเนินกิจกรรมอบรมกลุ่มเสี่ยง ดังนี้
-ประเมินความรู้ก่อนอบรม
-ให้ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการปฏิบัติตัว
-สาธิตและฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย
-กิจกรรมเวียนฐานความรู้ (แบ่งเป็น 3 ฐาน ฐานที่ อาหารเพื่อสุขภาพและ Model อาหาร ฐานที่ 2ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกาย ฐานที่ 3 การผ่อนคลายความเครียด)
-ประเมินความรู้หลังการอบรม
-หลังการอบรม แจ้งแผนออกติดตามประเมินสุขภาพกลุ่มเสี่ยงซ้ำทุก3 เดือนและ 6 เดือนโดย อสม.
-ออกติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงสูงที่มีปัญหาในการดูแลสุขภาพ นัดติดตามผลและส่งต่อ โดยเจ้าหน้าที่ ร่วมกับ อสม.
รายละเอียดตามเอกสารแนบ
รายละเอียดงบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวันประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 50 คน มื้อละ 75.- บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,750.- บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ประชาชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 50 คน มื้อละ 25.- บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500.- บาท
- ค่าคู่มือดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยง จำนวน 50 เล่ม เล่มละ 30.- บาท เป็นเงิน 1,500.- บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับ อสม.ในการติดตามกลุ่มเสี่ยง 3 เดือนครั้ง จำนวน 2 ครั้ง จำนวน 10 คน มื้อละ 25.- บาท * 2 วัน เป็นเงิน 500.- บาท
- ค่าเครื่องวัดความดันใลหิตในการติดตามกลุ่มเสี่ยง หมู่ละ 1 เครื่อง จำนวน 2 หมู่บ้าน เครื่องละ 2,950.- บาท เป็นเงิน 5,900.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสียงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้องมากขึ้น
2.ผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงลดลงจากปีก่อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14150.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมและติดตามกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมและติดตามกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ทำหนังสือเชิญกลุ่มป่วยเข้ารับการอบรม
2.2 จัดทำเอกสารคู่มือในการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง
2.3 ประเมินความรู้ก่อนการอบรม
2.4 ฟื้นฟูความรู้และโรค การปฏิบัติตัวและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน
2.5 ฝึกทำสปาเท้า 2.6 ประเมินความรู้หลังอบรม
2.7 ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ผู้ป่วยCKD stage 3a และ3b, ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด,ผู้ป่วยที่ระดับน้ำตาลสะสม มากกว่าหรือเท่ากับ 7.5และผู้ป่วยที่มีระดับความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 160/100 mmHg
รายละเอียดตามเอกสารแนบ
รายละเอียดงบประมาณ
-ค่าอาหารกลางวัน ประชาชนกลุ่มป่วย จำนวน 50 คน มื้อละ 75.- บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,750.- บาท
-ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม ประชาชนกลุ่มป่วย จำนวน 50 คน มื้อละ 25.- บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500.-บาท
-ค่าคู่มือดูแลสุขภาพสำหรับกลุ่มป่วย จำนวน 50 เล่ม เล่มละ 30.-บาท เป็นเงิน 1,500.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,900.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถั่วเฉลี่ยจ่าย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้ถูกต้องมากขึ้น
2.ผู้ป่วยรายใหม่ลดลงจากปีก่อน
3.การเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยลดลง


>