กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านควน ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L5307-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน 2
วันที่อนุมัติ 8 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 21,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนฤมล โต๊ะหลัง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนิสากร บุญช่วย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ประชาชนต้องรีบเร่งแข่งขันกับเวลา ทำให้ขาดการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว ส่งผลให้เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สาเหตุมาจากพฤติกรรมการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย กินผักผลไม้ที่ไม่เพียงพอ รวมทั้งอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัดความเครียดและการสูบบุหรี่ เป็นต้น ทางกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงมีมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคโดยมีเป้าหมายประชากรอายุ 35ปีขึ้นไปทุกรายที่ไม่ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ต้องได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงด้วยการ วัดความดันโลหิต ตรวจน้ำตาลในเลือด ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและการวัดเส้นรอบพุง เพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงและค้นหาโรคในระยะเริ่มต้น ปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและถือว่าเป็น “ภัยเงียบ”เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ โดยประชาชนที่เสี่ยงหรือป่วยถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักาที่เหมาะสมก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอาจเสียชีวิตเฉียบพลันหรืออาจเกิดความพิการที่ไม่อาจแก้ไขได้ เช่นโรคไตวาย ตาบอดโรคหลอดเลือดสมองตีบและโรคหลอดเลือดสมองแตกได้ จากผลการดำเนินงานคัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป ใน ม.1 และม.4 ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ในปี 2565 ผลการคัดกรองโรคเบาหวาน จากกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรอง จำนวน 913 คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 4.12 กลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 0.43 และผลงานการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจากกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรอง จำนวน 829 คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 85 คน คิดเป็นร้อยละ 10.15 กลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 2.62 และพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 4 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 5 คน เป็นผู้ป่วยรายใหม่ที่เกิดจากกลุ่มสี่ยงสูง ถ้ากลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมอย่างต่อเนื่อง จะสามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงโรคดังกล่าวได้และการดูแลสุขภาพในกลุ่มป่วย ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ตำบลบ้านควน
มีผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 31 คน โรคเบาหวาน 28 คน โรคความดันโลหิตสูง 74 ราย รวมทั้งหมด 133 คนซึ่งเป็นกลุ่มป่วยที่ต้องได้รับการดูแล และให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ตำบลบ้านควน อ.เมืองจ.สตูลได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจึงจัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ สามารถดูแลตนเอง และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรังและภาวะแทรกซ้อนจากโรคได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมด้วยหลัก 3อ 2ส

ร้อยละ 60 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีค่าระดับน้ำตาล,ค่าความดันโลหิตลดลงจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ(ลดลงจาการตรวจครั้งแรก ติดตามหลังการอบรม 3 เดือนและ 6 เดือน)

50.00 60.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ให้ได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างเป็นระบบ

ร้อยละ 100 ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างเป็นระบบ

50.00 100.00
3 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค

50.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดอบรมและติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 0 14,150.00 14,150.00
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดอบรมและติดตามกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง 0 7,750.00 7,750.00
รวม 0 21,900.00 2 21,900.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้ถูกต้องมากขึ้น
2.ผู้ป่วยรายใหม่ลดลงจากปีก่อน
3.การเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2565 00:00 น.