กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนยุคใหม่เข้าใจ HIV ไม่ตีตรา ไม่เลือกปฏิบัติ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

โรงพยาบาลกระแสสินธุ์

1.นางสาวรัฏฐกาญจน์ ฝอยทอง
2.นางนิธิพร ศรีเมือง
3.นางสาวเพ็ญภานี กำเนิดดี
4.นายพิสิษฐ์ ละหมิด
5.นางสาวพีระดี ดำสีใหม่

ตำบลเชิงแส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีและ โรคเอดส์ ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยมีการกำหนดยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ปีพ.ศ.2560 - 2573 ไว้ 3 เป้าประสงค์หลักคือ 1) ลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ให้เหลือปีละไม่เกิน 1,000 ราย 2) ลดการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวีเหลือปีละไม่เกิน 4,000 รายและ 3) ลดการเลือกปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องจากเอชไอวีและเพศภาวะลงร้อยละ 90 ทั้งนี้ในเป้าประสงค์ที่หนึ่ง คือ ลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่นั้น มุ่งเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี และการสนับสนุนให้เกิดการป้องกันการติดเชื้อ เป้าประสงค์ที่สองคือ ลดการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่มุ่งเน้น เป้าหมายด้านการรักษา (Treatment Target) ด้วยเป้าหมาย 95-95-95 โดย 95 ที่ 1 คือ ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีมารับการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีและรู้สถานะการติดเชื้อเอชไอวีไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่คาดประมาณทั้งหมด,95 ที่ 2 คือ ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีและรู้สถานะติดเชื้อของตนเองได้เข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสไม่น้อยกว่าร้อยละ 95และ 95 ที่ 3 คือ ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสสามารถกดไวรัสสำเร็จไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 สำหรับเป้าประสงค์ที่สามคือ ลดการเลือกปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องจากเอชไอวีและเพศภาวะ ซึ่งปัจจุบันคนไทยยังมีทัศนคติเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีและ ผู้ป่วยเอดส์ ร้อยละ 48.6 (รายงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563) การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเอชไอวีมีปรากฎอยู่ทั่วไปในทุกหน่วยของสังคม ตั้งแต่ชุมชน ครอบครัว สถานที่ทำงานไปจนถึงสถานบริการสุขภาพ มักมีความคิดว่าผู้ติดเชื้อเป็นคนไม่ดี ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีต้องปิดเป็นความลับไม่เข้าสู่การรักษา หรือไม่ยอมมาตรวจ และยังแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัวในปี 2565 จังหวัดสงขลา มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีชีวิตอยู่ และได้รับการวินิจฉัย จำนวน 9,944ราย ,มีผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี และรู้สถานะติดเชื้อของตนเองได้เข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ร้อยละ 81 ,อำเภอกระแสสินธุ์มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีชีวิตอยู่ และได้รับการวินิจฉัย 52 ราย ,มีผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี และรู้สถานะติดเชื้อของตนเองได้เข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ร้อยละ 96.16 ตำบลเชิงแสมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีชีวิตอยู่ และได้รับการวินิจฉัย 7 ราย มีผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี และรู้สถานะติดเชื้อของตนเองได้เข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ร้อยละ 100 และยังพบสถานการณ์ที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้ป่วยเอดส์ปฏิเสธการเข้ารับสวัสดิการอื่นๆ และไม่รับบริการในสถานบริการสุขภาพใกล้บ้านเพราะไม่อยากเปิดเผยข้อมูลการติดเชื้อเอชไอวี ดังนั้นการสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องการติดเชื้อเอชไอวี โรคเอดส์ และเพศภาวะในชุมชน เพื่อแก้ปัญหาการตีตราและและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อให้หมดไป จะเป็นตัวสำคัญที่สุดที่จะทำให้คนกล้าตรวจเอดส์กันมากขึ้น และจะทำให้ผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการดูแลรักษามากขึ้นและเร็วขึ้น ส่งผลให้ผู้เสียชีวิตจากเอดส์น้อยลง และลดการแพร่เชื้อลง
โรงพยาบาลกระแสสินธุ์ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ เรื่องการติดเชื้อเอชไอวี โรคเอดส์และเพศภาวะในชุมชน จึงจัดทำโครงการองค์กรยุคใหม่เข้าใจHIV ไม่ตีตรา ไม่เลือกปฏิบัติ ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2566 เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ปรับทัศนคติที่ดี อยู่ร่วมกันโดยไม่มีการแบ่งแยก และมุ่งสู้การยุติปัญหาเอดส์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ ลดการตีตราและการไม่เลือกปฏิบัติ

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ ลดการตีตราและการไม่เลือกปฏิบัติ

80.00

ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการติดเชื้อเอชไอวี โรคเอดส์และเพศภาวะเพิ่มขึ้น

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจสถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์

ชื่อกิจกรรม
สำรวจสถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1.สำรวจสถานการณ์การตีตรา และเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ ด้วยแบบสอบถามความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์

กลุ่มเป้าหมาย
- หน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน นักเรียน และประชาชน ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์

งบประมาณ
- ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีข้อมูลสถานการณ์การตีตรา และเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่อง เอชไอวี/เอดส์ และร่วมหาวิธีลดการตีตราและเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์ที่เกิดขึ้นในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่อง เอชไอวี/เอดส์ และร่วมหาวิธีลดการตีตราและเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์ที่เกิดขึ้นในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1. ประสานงานติดต่อหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินกิจกรรมโครงการ
2. อบรมให้ความรู้เรื่อง เอชไอวี/เอดส์ และการลดการตีตราและเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์
3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ลดการตีตราและเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์ที่เกิดขึ้นในชุมชน
4. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ลดการตีตราและเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์
5. ทดสอบความรู้ก่อน-หลังเข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย
- หน่วยงานราชการ ผู้นำชุมชน นักเรียน และประชาชน ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์

งบประมาณ
-ค่าอาหารกลางวัน30 คน x 50 บาท x 1 วัน x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม30 คน x 25 บาท x 1 วัน x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท
-ค่ากระดาษปรู๊ฟ 20 แผ่น x 5 บาท เป็นเงิน100 บาท
-ค่าปากกาเคมี 10 ด้าม x 15 บาท เป็นเงิน150 บาท
-ค่า x stand ความรู้เรื่องเอชไอวี ขนาด 80 x 180 ซม. x 650 บาท x 2 ป้าย เป็นเงิน 1,300 บาท
-ค่า โฟมบอร์ด ขนาด 40 x 60 ซม. x 120 บาท x 2 ป้าย เป็นเงิน240 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ มีทัศนคติที่ดีขึ้น รวมถึงทราบสถานการณ์การตีตราในปัจจุบัน สามารถนำไปสู่ความตะหนักที่จะมีส่วนร่วมต่อการแก้ไขปัญหาการตีตราและเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์ที่เกิดขึ้นในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4790.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,790.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีข้อมูลสถานการณ์การตีตรา และเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์
2.ชุมชนมีแนวปฏิบัติเรื่องการลดการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีและกลุ่มประชากรหลัก
3. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และความเข้าใจเรื่องการตีตราและเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์


>