กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนยุคใหม่เข้าใจ HIV ไม่ตีตรา ไม่เลือกปฏิบัติ
รหัสโครงการ 2566-L5164-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกระแสสินธุ์
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 4,790.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแพทย์ภควรรษ สังค์ทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีและ โรคเอดส์ ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยมีการกำหนดยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ปีพ.ศ.2560 - 2573 ไว้ 3 เป้าประสงค์หลักคือ 1) ลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ให้เหลือปีละไม่เกิน 1,000 ราย 2) ลดการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวีเหลือปีละไม่เกิน 4,000 รายและ 3) ลดการเลือกปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องจากเอชไอวีและเพศภาวะลงร้อยละ 90 ทั้งนี้ในเป้าประสงค์ที่หนึ่ง คือ ลดการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่นั้น มุ่งเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวี และการสนับสนุนให้เกิดการป้องกันการติดเชื้อ เป้าประสงค์ที่สองคือ ลดการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่มุ่งเน้น เป้าหมายด้านการรักษา (Treatment Target) ด้วยเป้าหมาย 95-95-95 โดย 95 ที่ 1 คือ ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีมารับการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีและรู้สถานะการติดเชื้อเอชไอวีไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่คาดประมาณทั้งหมด,95 ที่ 2 คือ ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีและรู้สถานะติดเชื้อของตนเองได้เข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสไม่น้อยกว่าร้อยละ 95และ 95 ที่ 3 คือ ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสสามารถกดไวรัสสำเร็จไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 สำหรับเป้าประสงค์ที่สามคือ ลดการเลือกปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องจากเอชไอวีและเพศภาวะ ซึ่งปัจจุบันคนไทยยังมีทัศนคติเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีและ ผู้ป่วยเอดส์ ร้อยละ 48.6 (รายงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563) การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเอชไอวีมีปรากฎอยู่ทั่วไปในทุกหน่วยของสังคม ตั้งแต่ชุมชน ครอบครัว สถานที่ทำงานไปจนถึงสถานบริการสุขภาพ มักมีความคิดว่าผู้ติดเชื้อเป็นคนไม่ดี ทำให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีต้องปิดเป็นความลับไม่เข้าสู่การรักษา หรือไม่ยอมมาตรวจ และยังแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัวในปี 2565 จังหวัดสงขลา มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีชีวิตอยู่ และได้รับการวินิจฉัย จำนวน 9,944ราย ,มีผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี และรู้สถานะติดเชื้อของตนเองได้เข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ร้อยละ 81 ,อำเภอกระแสสินธุ์มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีชีวิตอยู่ และได้รับการวินิจฉัย 52 ราย ,มีผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี และรู้สถานะติดเชื้อของตนเองได้เข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ร้อยละ 96.16 ตำบลเชิงแสมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีชีวิตอยู่ และได้รับการวินิจฉัย 7 ราย มีผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี และรู้สถานะติดเชื้อของตนเองได้เข้ารับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ร้อยละ 100 และยังพบสถานการณ์ที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้ป่วยเอดส์ปฏิเสธการเข้ารับสวัสดิการอื่นๆ และไม่รับบริการในสถานบริการสุขภาพใกล้บ้านเพราะไม่อยากเปิดเผยข้อมูลการติดเชื้อเอชไอวี ดังนั้นการสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องการติดเชื้อเอชไอวี โรคเอดส์ และเพศภาวะในชุมชน เพื่อแก้ปัญหาการตีตราและและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อให้หมดไป จะเป็นตัวสำคัญที่สุดที่จะทำให้คนกล้าตรวจเอดส์กันมากขึ้น และจะทำให้ผู้ติดเชื้อเข้าสู่ระบบการดูแลรักษามากขึ้นและเร็วขึ้น ส่งผลให้ผู้เสียชีวิตจากเอดส์น้อยลง และลดการแพร่เชื้อลง
โรงพยาบาลกระแสสินธุ์ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ เรื่องการติดเชื้อเอชไอวี โรคเอดส์และเพศภาวะในชุมชน จึงจัดทำโครงการองค์กรยุคใหม่เข้าใจHIV ไม่ตีตรา ไม่เลือกปฏิบัติ ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2566 เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ปรับทัศนคติที่ดี อยู่ร่วมกันโดยไม่มีการแบ่งแยก และมุ่งสู้การยุติปัญหาเอดส์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ ลดการตีตราและการไม่เลือกปฏิบัติ

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ ลดการตีตราและการไม่เลือกปฏิบัติ

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 4,790.00 0 0.00
1 ก.พ. 66 - 31 ส.ค. 66 สำรวจสถานการณ์การตีตราและเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ 0 0.00 -
1 มี.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 อบรมให้ความรู้เรื่อง เอชไอวี/เอดส์ และร่วมหาวิธีลดการตีตราและเลือกปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี/เอดส์ที่เกิดขึ้นในชุมชน 0 4,790.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีข้อมูลสถานการณ์การตีตรา และเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ 2.ชุมชนมีแนวปฏิบัติเรื่องการลดการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีและกลุ่มประชากรหลัก
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และความเข้าใจเรื่องการตีตราและเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2565 10:45 น.