กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอาหารเช้าเพื่อน้อง อิ่มท้อง สมองแจ่มใส ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งวิมานชัยพัฒน์

1.นางเจ๊ะอะ สัญญา ตำแหน่ง ครูเบอร์โทร 0850796221
2.นางสาวกูจิตรา หลังจิตำแหน่ง ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กเบอร์โทร 0896812018
3.นางลิยะ เหมสลาหมาดตำแหน่งครู เบอร์โทร 0950859431
4.นางรอสนี สัญญา ตำแหน่ง ครู เบอร์โทร 0851188759
5.นายเจ๊ะอาด สัญญาตำแหน่งครูผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก เบอร์โทร 0896559070

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งวิมานชัยพัฒน์ 214 ม.2 ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

12.00

หลักการและเหตุผล
รายงานเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2560 ว่ายูนิเซฟและสำนักงานสถิติแห่งชาติได้เผยแพร่ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในจังหวัดชายแดนใต้ โดยระบุว่า จังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทยมีอัตราของเด็กที่ประสบภาวะทุพโภชนาการมากที่สุด เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีรายจังหวัด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติและสนับสนุนโดยยูนิเซฟ พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา มีภาวะเตี้ยแคระแกร็น (ความสูงต่ำกว่าเกณฑ์อายุ) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ โดยในจังหวัดนราธิวาสมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่มีภาวะเตี้ยแคระแกร็นสูงถึงร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 11 ในขณะที่จังหวัดยะลา ปัตตานี สตูล และสงขลา อัตรานี้อยู่ที่ร้อยละ 21 ร้อยละ 19 ร้อยละ 17 และร้อยละ 13 ตามลำดับ
นายโธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยกล่าวว่า “ปัญหานี้น่าเป็นห่วงมากเพราะ
มันหมายความว่า เด็กที่อยู่ในจังหวัดเหล่านี้ไม่ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน การขาดสารอาหารทำให้การเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาสมองของเด็กต้องหยุดชะงัก ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ ทั้งหมดนี้ส่งผลเสียในระยะยาวต่อตัวเด็กเองและสังคมโดยรวม”นอกจากนี้ อัตราของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่มีภาวะผอมแห้งหรือภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันในจังหวัดชายแดนใต้ก็สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศเช่นกัน อัตรานี้สูงสุดในจังหวัดปัตตานีเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ในชายแดนใต้ คือร้อยละ 13 ตามด้วยจังหวัดนราธิวาสที่ร้อยละ 11 ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของประเทศอยู่ที่ร้อยละ 5 (เว็บไซต์ข่าวสด )การบริโภคอาหารไม่สมดุลทำให้ขาดวิตามินและเกลือแร่ แต่ได้รับไขมันและคาร์โบไฮเดรตเกิน เป็นเหตุให้เด็กไทยในเมืองมีความเสี่ยงสูงต่อการด้อยพัฒนาการทางกายและสมอง
ด้วยสภาพปัญหาดังกล่าว บริบทขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควนเป็นสังคมที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท และบริบทของชุมชนนั้นเป็นสังคมที่มีการสื่อสาร สองภาษาโดยได้รับวัฒนธรรมมาจากประเทศมาเลเซียเพราะเป็นจังหวัดที่มีเขตแดนติดกับประเทศมาเลเซีย โดยภาษาที่ใช้เป็นภาษามาลายู โดยผู้สูงอายุบางกลุ่มพูดภาษาไทยไม่คล่อง อีกทั้งคนในวัยกลางคนได้ไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย ทิ้งบุตรหลานให้อยู่กับปู่ย่า ตา ยาย ทำให้เด็กที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบ อีกทั้งโดยส่วนใหญ่ผู้ปกครองมีอาชีพเกษตรกรทำสวนยางพารา อาชีพค้าขายทำให้ช่วงเช้าเป็นเวลาเร่งรีบทำให้เด็ก มีพฤติกรรมไม่ได้รับประทานอาหารเช้า ทำให้เด็กบางกลุ่มมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ทั้งนี้อาหารถือว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กในทุกด้านและที่สำคัญเด็กในวัย ๐-๗๒ เดือนนับเป็นช่วงวัยทองของการเจริญเติบโต ทั้งด้านอารมณ์ สติปัญญา และพัฒนาการทางด้านร่างกาย การรับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ถือเป็นเรื่องสำคัญ อาหารเช้าเป็นอาหารมื้อสำคัญกว่ามื้ออื่น ๆ เพราะการกินอาหารเช้าจะช่วยเติมท้องที่ว่างมาทั้งคืนของเราให้เต็ม ทำให้เรามีพลังที่จะทำงานต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะพลังสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำ การเรียนรู้ ความกระตือรือร้นแต่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญเพราะคิดว่าช่วงเช้าร่างกายยังไม่ต้องการอาหารส่วนใหญ่จะซื้อ ข้าวเหนียวไก่ทอดขนมกรุบกรอบพวกน้ำหวานให้ลูกกินในตอนเช้า ทั้งนี้มีผลการวิจัยพบว่าเด็กนักเรียนที่กินอาหารเช้าไปโรงเรียนจะเรียนและทำงานได้ดีกว่าเด็กที่ไม่กินอาหารเช้า ซึ่งจะเหนื่อยเร็วกว่า หงุดหงิดง่ายกว่า และจะมีปฏิกิริยาตอบโต้กับสิ่งต่าง ๆ ได้ช้ากว่าด้วย เรื่องนี้เป็นจุดที่ทำให้ทางโรงเรียน (เริ่มตั้งแต่เด็กอนุบาล) ของอเมริกาหันมาให้ความสนใจกับพฤติกรรมการกินอาหารเช้าของครอบครัวเด็ก ๆถึงขั้นจัดให้เดือน กันยายนเป็น "Better Breakfast Month" (เดือนแห่งการกินอาหารเช้าที่ดีขึ้น)
ความพลังงานและสารอาหารจากอาหารเช้า
วันหนึ่งๆ ลูกควรได้รับอาหารให้ครบ ๕ หมู่ มีความหลากหลาย ปริมาณเพียงพอเหมาะสมกับอายุของลูก เช่น ลูกวัย ๑-๓ ขวบ ควรได้รับข้าวหรืออาหารประเภทแป้งอย่างอื่นๆ วันละ ๓-๔ ทัพพีเมื่อโตขึ้นอีกหน่อยในช่วง ๓-๕ ปี ก็ควรเพิ่มเป็นวันละ ๔-๕ ทัพพี เนื้อสัตว์ก็เช่นเดียวกัน เด็กเล็กควรได้รับวันละอย่างน้อย ๓ ช้อนกินข้าว โตขึ้นมาหน่อย ก็ควรได้รับ ๔-๕ ช้อนกินข้าวต่อวันนอกจากนี้ อาหารประจำที่ควรได้รับทุกวันคือ ไข่วันละ ๑ ฟอง และนมวันละ ๒-๓ แก้วเด็กอายุ ๑-๓ ขวบ มีความต้องการพลังงานประมาณวันละ ๑,๐๐๐ กิโลแคลอรี และเพิ่มอีกประมาณ ๒๕๐ กิโลแคลอรี เมื่ออายุ ๔-๕ ขวบ โปรตีนก็เช่นเดียวกันความต้องการเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉลี่ยแล้วความต้องการโปรตีนของเด็กเล็กอยู่ในช่วง ๒๐-๓๐ กรัมต่อวัน

การกระจายของพลังงานในมื้ออาหารของลูกที่เหมาะสม คือ

มื้อเช้า ๒๕% พลังงาน๒๕๐-๓๑๕กิโลแคลอรีโปรตีน๘๕ กรัม
มื้อกลางวัน ๓๕% พลังงาน๓๕๐-๔๔๐ กิโลแคลอรีโปรตีน๗-๑๑กรัม
มื้อเย็น๓๐%พลังงาน๓๐๐-๓๗๕ กิโลแคลอรีโปรตีน ๖-๙ กรัม
อาหารว่าง๑๐%พลังงาน๑๐๐-๑๒๕กิโลแคลอรีโปรตีน ๒-๓ กรัม

จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งวิมานชัยพัฒน์ พบว่าโดยส่วนใหญ่ผู้ปกครองไม่ให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหารเช้าของเด็กนักเรียนที่มาเรียนที่ศูนย์ ส่วนใหญ่จะใส่ขนมมาในกระเป๋าเด็ก และขนมส่วนใหญ่เป็นขนมที่ไม่มีประโยชน์ และพบว่ามีเด็กที่มีภาวะเสี่ยงน้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์ จำนวน12 คน และอีกกลุ่มคือเด็กที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักมากจากการรับประทานอาหารประเภทขนมกรุปกรอบและน้ำหวาน จำนวน 6 คน และเด็กที่ไม่ยอมทานอาหารเช้าจำนวน 3 คน โดยรวมจำนวน 21 คน โดยที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งวิมานชัยพัฒน์มีเด็กปฐมวัยทั้งหมด 100 คนในปีการศึกษา 2565 และจากผลการดำเนินการในปีที่ผ่านมาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อลดจำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ ปรากฎว่า นักเรียนมีนำ้หนักผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น จำนวน 10 คน จากจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 66.66 จากข้อมูลข้างต้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งวิมานชัยพัฒน์ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 โดยมีหนึ่งในจุดมุ่งหมาย คือ ให้เด็กปฐมวัยมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง และมีสุขภาพดี ตามหลักสูตรศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และให้เด็กมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง และมีสุขนิสัยที่ดี ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี และสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดสตูล 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ประเด็นการพัฒนา ที่ 2 การพัฒนาคนคุณภาพ สังคมแห่งความสงบเรียบร้อย สันติสุข และระบบบริการรัฐ ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาประชาชนคุณภาพรองรับการเติบโตของจังหวัดในทุกมิติ และเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบริการของรัฐที่มีคุณภาพ เข้าถึงการบริการประชาชน เป็นที่พึงพอใจของประชาชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครองในเรื่องการส่งเสริมให้เด็กทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์เพื่อ ร่างกายที่มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัยในเด็ก

ผู้ปกครองตระหนักถึงความ สำคัญ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ของเด็ก และมีส่วนร่วมในการส่งเสริม พัฒนาเด็กปฐมวัย ร้อยละ 100

21.00 21.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองเห็นถึงความสำคัญของการลดอาหารที่ไม่มีประโยชน์ในการให้เด็กทาน ในช่วงเช้า

ผู้ปกครองตระหนักถึงความ สำคัญ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการลดอาหารที่ไม่มีประโยชน์ในการให้เด็กทาน
ในช่วงเช้า ร้อยละ 100

21.00 21.00
3 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีน้ำหนักเหมาะสมตามวัย

เด็กปฐมวัยมีน้ำหนักตามเกณฑ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 75

12.00 9.00
4 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีส่วนร่วมในการปลูกผักสวนครัวและส่งเสริมการกินผักของเด็ก

เด็กปฐมวัยเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทางกายร้อยละ 100

21.00 21.00
5 เพื่อให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในเรื่องการส่งเสริมการรับประทานอาหารเช้า ในเด็ก

ผู้ปกครองตระหนักถึงความ สำคัญ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ของเด็ก และมีส่วนร่วมในการส่งเสริม พัฒนาเด็กปฐมวัย ร้อยละ 100

21.00 21.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 21
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เตรียมความพร้อม

ชื่อกิจกรรม
เตรียมความพร้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นตอนที่ 1 สำรวจสภาพปัญหาเรื่องของเด็กที่มีน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์ และเด็กที่มีน้ำหนักเกิน โดยดูจากแบบบันทึกพัฒนาการเด็ก เมื่อได้ข้อมูลดังกล่าวจึงหาสาเหตุถึงสภาพปัญหาดังกล่าว จากการสำรวจพบว่ามีเด็กที่มีปัญหาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 เด็กที่น้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์พบว่าส่วนใหญ่ผู้ปกครองมักใส่ขนมกรุบกรอบมาในกระเป๋าเนื่องจากเด็กไม่ได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน สอดคล้องกับสภาพเด็กที่ไม่ชอบทานข้าวตอนเที่ยงเนื่องจากไม่ชอบรสชาติอาหารที่ไม่เหมือนกับขนมกรุบกรอบที่กินทำให้ส่งผลต่อการเจริญเติบโตที่ไม่เหมาะสมตามวัยจำนวน 12 คน
กลุ่มที่ 2 เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จำนวน 6 คน
กลุ่มที่ 3 เด็กที่ทานขนบกรุบกรอบแทนอาหารเช้า จำนวน 3 คน ขั้นตอนที่ 2 นำเสนอโครงการต่อกองการศึกษาเพื่อนำเข้าแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นและนำโครงการเข้าแผนพัฒนาการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากนั้นนำโครงการดังกล่าวเข้าสู่แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566 ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยกำหนดงบประมาณขอสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสุขภาพตำบล (สปสช.) ตำบลบ้านควน
ขั้นตอนที่ 3 ประชุมคณะครูเพื่อนำข้อมูลเด็กประกอบ การเขียนโครงการเพื่อนำเสนอของบประมาณจากสำนักงานกองทุนสุขภาพตำบล (สปสช) ตำบลบ้านควนโดยชื่อโครงการอาหารเช้าเพื่อน้องอิ่มท้องสมองแจ่มใสโดยมีกิจกรรมดังนี้

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 มกราคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคัดกรอง ชั่งน้ำหนักส่วนสูงลงกราฟพัฒนาการรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรอง ชั่งน้ำหนักส่วนสูงลงกราฟพัฒนาการรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ครูผู้ดูแลเด็กตรวจประเมินน้ำหนัก ส่วนสูง ลงกราฟพัฒนาการ เพื่อเป็นการคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก
  • จดบันทึกพฤติกรรมการทานอาหารเช้าของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ประเภทขนมในกระเป๋า)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กและสะท้อนปัญหาภาวะโภชนาการของเด็กรายบุคคล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กและสะท้อนปัญหาภาวะโภชนาการของเด็กรายบุคคล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กเล็กที่มีพฤติกรรมไม่ทานอาหารเช้า กลุ่มเด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และกลุ่มเด็กน้ำหนักเกินเกณฑ์ ในช่วงเช้าและพูดคุย อธิบายผลการประเมินภาวะโภชนาการแนวทางการแก้ไขปัญหาของศูนย์ ช่วงบ่าย โดยอธิบาย แนวทาง ดังนี้
-เด็กเล็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ และเด็กที่มีพฤติกรรมไม่ทานอาการเช้า จะดำเนินการเสริมอาหารมื้อเช้าให้ทานเป็นเวลา 8 เดือน (กพ - กย 66)
-เด็กเล็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จะเพิ่มกิจกรรมทางกายโดยการสอนนักเรียนให้มีส่วนร่วมในการปลูกผักสวนครัวภายในศูนย์ และนำผักที่ได้มาประกอบอาหารทานภายในศูนย์ด้วย เป็นต้น
รายละเอียดงบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแก่ผู้ปกครองที่มีปัญหาสุขภาพ (น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และน้ำหนักเกินเกณฑ์)เข้ารับการอบรม จำนวน 21 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 1,050 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน แก่ผู้ปกครอง จำนวน 21 คนๆละ 60 บาทเป็นเงิน 1,260 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ ุ600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
กำหนดการอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองโครงการอาหารเช้าเพื่อน้องอิ่มท้อง สมองแจ่มใส วันที่ ................................สถานที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งวิมานชัยพัฒน์
เวลา 08.30 น.- 09.00 น. ลงทะเบียน
เวลา 09.00 น. - 09.30 น.เปิดการอบรม และบรรยายพิเศษโดยนายกูดานันหลังจิ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน
เวลา 09.30 น. -10.30 น. บรรยายเรื่องอาหารที่จำเป็น และที่สำคัญต่อโภชนาการที่สมวัย โดย นางปทุมมาศ โลหะจินดา ผอ.รพ.สต.บ้านควน1
เวลา 10.30 - 10.45 น.รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
เวลา10.45 - 11.00 น. สันทนาการโดยผู้รับผิดชอบโครงการ
เวลา 11.00 น.-12.00 น. บรรยายเรื่องอาหารที่จำเป็นและที่สำคัญต่อโภชนาการที่สมวัย(ต่อ) โดย นางปทุมมาศโลหะจินดา ผอ.รพ.สต.บ้านควน1 เวลา 12.00 น. -13.00 น.พักรับประทานอาหาร/ละหมาด
เวลา 13.00 น.- 14.00 น. สันทนาการโดยผู้รับผิดชอบโครงการ
เวลา 14.00 น.-15.30 น. บรรยายเรื่องการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม โดย นางปทุมมาศโลหะจินดา ผอ.รพ.สต.บ้านควน1 เวลา 15.30 น.-15.45 น. รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
เวลา 15.45 น. - 16.00 น.สันทนาการโดยผู้รับผิดชอบโครงการ
เวลา 16.00 น. ปิดพิธี
หมายเหตุ: กำหนดการนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 6 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบบรมได้รับความรู้ เรื่องอาหารที่จำเป็น และที่สำคัญต่อโภชนาการที่สมวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4110.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอาหารเช้าของหนูเพื่อพัฒนาการที่สมบรูณ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอาหารเช้าของหนูเพื่อพัฒนาการที่สมบรูณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม ครูผู้ดูแลเด็กจัดเมนูอาหารเช้าที่เหมาะสมและมีประโยชน์กับเด็กที่มีภาวะโภชนาต่ำกว่าเกณฑ์ ทุกวันทำการ
รายละเอียดงบประมาณ
1.เด็กทีมีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 12 คนๆละ 16 บาท จำนวน 161 วัน เป็นเงิน 30,912 บาท
โดยเมนูประจำสัปดาห์หมุนเวียนไปในแต่เดือน ดังนี้
- วันจันทร์/พุธ เมนูนำ้เต้าหู้/โอวัลติลร้อน/ขนม /ผลไม้ - วันอังคาร/พฤหัสบดี /ศุกร์ เมนู ข้าวต้มไก่ สลับอาหารทะเล โดยนำผักที่ได้จากการปลูกมาเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารด้วยและมีการติดตามประเมินผลเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงด้านโภชนาการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งวิมาชัยพัฒน์ที่นำ้หนักต่ำกว่าเกณฑ์ได้รับประทานอาหารเช้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30912.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมปลูกผักสวนครัวเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปลูกผักสวนครัวเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
-ครูและผู้ปกครองช่วยกันทำแปลงผักภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อเป็นพื้นที่เพิ่มกิจกรรมทางกายที่มีประโยชน์ให้กับเด็ก ที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเด็กทุกคนภายในศูนย์ฯ โดยมีครูเป็นพี่เลี้ยงและให้เด็กมีการแบ่งกลุ่มเพื่อรับผิดชอบในการดูแลแปลงผัก เมื่อผักสามารถรับประทานได้จึงมีการเก็บผักมาปรุงอาหาร เพื่อให้เด็กกินผักที่ปลอดสารพิษ และเพื่อเพิ่มธาตุเหล็กให้เด็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,022.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการถั่วเฉลี่ยจ่าย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองความตระหนักในเรื่องการส่งเสริมให้เด็กทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์เพื่อ ร่างกายที่มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย
2. ผู้ปกครองเห็นถึงความสำคัญของการลดอาหารที่ไม่มีประโยชน์ในการให้เด็กทาน
ในช่วงเช้า
4. เด็กปฐมวัยมีน้ำหนักเหมาะสมตามวัย
4. เด็กปฐมวัยมีส่วนร่วมในการปลูกผักสวนครัวและส่งเสริมการกินผักของเด็ก
6. ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในเรื่องการส่งเสริมการรับประทานอาหารเช้า
ในเด็ก


>