กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารเช้าเพื่อน้อง อิ่มท้อง สมองแจ่มใส ประจำปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L5307-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งวิมานชัยพัฒน์
วันที่อนุมัติ 8 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 35,022.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเจ๊ะอะ สัญญา
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนิสากร บุญช่วย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 21 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ
12.00
2 หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล รายงานเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2560 ว่ายูนิเซฟและสำนักงานสถิติแห่งชาติได้เผยแพร่ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในจังหวัดชายแดนใต้ โดยระบุว่า จังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทยมีอัตราของเด็กที่ประสบภาวะทุพโภชนาการมากที่สุด เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีรายจังหวัด ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติและสนับสนุนโดยยูนิเซฟ พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีในจังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา มีภาวะเตี้ยแคระแกร็น (ความสูงต่ำกว่าเกณฑ์อายุ) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ โดยในจังหวัดนราธิวาสมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่มีภาวะเตี้ยแคระแกร็นสูงถึงร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 11 ในขณะที่จังหวัดยะลา ปัตตานี สตูล และสงขลา อัตรานี้อยู่ที่ร้อยละ 21 ร้อยละ 19 ร้อยละ 17 และร้อยละ 13 ตามลำดับ นายโธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยกล่าวว่า “ปัญหานี้น่าเป็นห่วงมากเพราะ มันหมายความว่า เด็กที่อยู่ในจังหวัดเหล่านี้ไม่ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน การขาดสารอาหารทำให้การเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาสมองของเด็กต้องหยุดชะงัก ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ ทั้งหมดนี้ส่งผลเสียในระยะยาวต่อตัวเด็กเองและสังคมโดยรวม”นอกจากนี้ อัตราของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่มีภาวะผอมแห้งหรือภาวะทุพโภชนาการเฉียบพลันในจังหวัดชายแดนใต้ก็สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศเช่นกัน อัตรานี้สูงสุดในจังหวัดปัตตานีเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ในชายแดนใต้ คือร้อยละ 13 ตามด้วยจังหวัดนราธิวาสที่ร้อยละ 11 ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของประเทศอยู่ที่ร้อยละ 5 (เว็บไซต์ข่าวสด )การบริโภคอาหารไม่สมดุลทำให้ขาดวิตามินและเกลือแร่ แต่ได้รับไขมันและคาร์โบไฮเดรตเกิน เป็นเหตุให้เด็กไทยในเมืองมีความเสี่ยงสูงต่อการด้อยพัฒนาการทางกายและสมอง ด้วยสภาพปัญหาดังกล่าว บริบทขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควนเป็นสังคมที่กึ่งเมืองกึ่งชนบท และบริบทของชุมชนนั้นเป็นสังคมที่มีการสื่อสาร สองภาษาโดยได้รับวัฒนธรรมมาจากประเทศมาเลเซียเพราะเป็นจังหวัดที่มีเขตแดนติดกับประเทศมาเลเซีย โดยภาษาที่ใช้เป็นภาษามาลายู โดยผู้สูงอายุบางกลุ่มพูดภาษาไทยไม่คล่อง อีกทั้งคนในวัยกลางคนได้ไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย ทิ้งบุตรหลานให้อยู่กับปู่ย่า ตา ยาย ทำให้เด็กที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบ อีกทั้งโดยส่วนใหญ่ผู้ปกครองมีอาชีพเกษตรกรทำสวนยางพารา อาชีพค้าขายทำให้ช่วงเช้าเป็นเวลาเร่งรีบทำให้เด็ก มีพฤติกรรมไม่ได้รับประทานอาหารเช้า ทำให้เด็กบางกลุ่มมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ทั้งนี้อาหารถือว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กในทุกด้านและที่สำคัญเด็กในวัย ๐-๗๒ เดือนนับเป็นช่วงวัยทองของการเจริญเติบโต ทั้งด้านอารมณ์ สติปัญญา และพัฒนาการทางด้านร่างกาย การรับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ถือเป็นเรื่องสำคัญ อาหารเช้าเป็นอาหารมื้อสำคัญกว่ามื้ออื่น ๆ เพราะการกินอาหารเช้าจะช่วยเติมท้องที่ว่างมาทั้งคืนของเราให้เต็ม ทำให้เรามีพลังที่จะทำงานต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะพลังสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำ การเรียนรู้ ความกระตือรือร้นแต่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญเพราะคิดว่าช่วงเช้าร่างกายยังไม่ต้องการอาหารส่วนใหญ่จะซื้อ ข้าวเหนียวไก่ทอดขนมกรุบกรอบพวกน้ำหวานให้ลูกกินในตอนเช้า ทั้งนี้มีผลการวิจัยพบว่าเด็กนักเรียนที่กินอาหารเช้าไปโรงเรียนจะเรียนและทำงานได้ดีกว่าเด็กที่ไม่กินอาหารเช้า ซึ่งจะเหนื่อยเร็วกว่า หงุดหงิดง่ายกว่า และจะมีปฏิกิริยาตอบโต้กับสิ่งต่าง ๆ ได้ช้ากว่าด้วย เรื่องนี้เป็นจุดที่ทำให้ทางโรงเรียน (เริ่มตั้งแต่เด็กอนุบาล) ของอเมริกาหันมาให้ความสนใจกับพฤติกรรมการกินอาหารเช้าของครอบครัวเด็ก ๆถึงขั้นจัดให้เดือน กันยายนเป็น "Better Breakfast Month" (เดือนแห่งการกินอาหารเช้าที่ดีขึ้น)
ความพลังงานและสารอาหารจากอาหารเช้า วันหนึ่งๆ ลูกควรได้รับอาหารให้ครบ ๕ หมู่ มีความหลากหลาย ปริมาณเพียงพอเหมาะสมกับอายุของลูก เช่น ลูกวัย ๑-๓ ขวบ ควรได้รับข้าวหรืออาหารประเภทแป้งอย่างอื่นๆ วันละ ๓-๔ ทัพพีเมื่อโตขึ้นอีกหน่อยในช่วง ๓-๕ ปี ก็ควรเพิ่มเป็นวันละ ๔-๕ ทัพพี เนื้อสัตว์ก็เช่นเดียวกัน เด็กเล็กควรได้รับวันละอย่างน้อย ๓ ช้อนกินข้าว โตขึ้นมาหน่อย ก็ควรได้รับ ๔-๕ ช้อนกินข้าวต่อวันนอกจากนี้ อาหารประจำที่ควรได้รับทุกวันคือ ไข่วันละ ๑ ฟอง และนมวันละ ๒-๓ แก้วเด็กอายุ ๑-๓ ขวบ มีความต้องการพลังงานประมาณวันละ ๑,๐๐๐ กิโลแคลอรี และเพิ่มอีกประมาณ ๒๕๐ กิโลแคลอรี เมื่ออายุ ๔-๕ ขวบ โปรตีนก็เช่นเดียวกันความต้องการเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉลี่ยแล้วความต้องการโปรตีนของเด็กเล็กอยู่ในช่วง ๒๐-๓๐ กรัมต่อวัน

การกระจายของพลังงานในมื้ออาหารของลูกที่เหมาะสม คือ

มื้อเช้า ๒๕% พลังงาน๒๕๐-๓๑๕กิโลแคลอรีโปรตีน๘๕ กรัม
มื้อกลางวัน ๓๕% พลังงาน๓๕๐-๔๔๐ กิโลแคลอรีโปรตีน๗-๑๑กรัม
มื้อเย็น๓๐%พลังงาน๓๐๐-๓๗๕ กิโลแคลอรีโปรตีน ๖-๙ กรัม
อาหารว่าง๑๐%พลังงาน๑๐๐-๑๒๕กิโลแคลอรีโปรตีน ๒-๓ กรัม

จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งวิมานชัยพัฒน์ พบว่าโดยส่วนใหญ่ผู้ปกครองไม่ให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหารเช้าของเด็กนักเรียนที่มาเรียนที่ศูนย์ ส่วนใหญ่จะใส่ขนมมาในกระเป๋าเด็ก และขนมส่วนใหญ่เป็นขนมที่ไม่มีประโยชน์ และพบว่ามีเด็กที่มีภาวะเสี่ยงน้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์ จำนวน12 คน และอีกกลุ่มคือเด็กที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักมากจากการรับประทานอาหารประเภทขนมกรุปกรอบและน้ำหวาน จำนวน 6 คน และเด็กที่ไม่ยอมทานอาหารเช้าจำนวน 3 คน โดยรวมจำนวน 21 คน โดยที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งวิมานชัยพัฒน์มีเด็กปฐมวัยทั้งหมด 100 คนในปีการศึกษา 2565 และจากผลการดำเนินการในปีที่ผ่านมาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อลดจำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ ปรากฎว่า นักเรียนมีนำ้หนักผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้น จำนวน 10 คน จากจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 66.66 จากข้อมูลข้างต้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทุ่งวิมานชัยพัฒน์ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 โดยมีหนึ่งในจุดมุ่งหมาย คือ ให้เด็กปฐมวัยมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง และมีสุขภาพดี ตามหลักสูตรศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และให้เด็กมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง และมีสุขนิสัยที่ดี ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี และสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดสตูล 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ประเด็นการพัฒนา ที่ 2 การพัฒนาคนคุณภาพ สังคมแห่งความสงบเรียบร้อย สันติสุข และระบบบริการรัฐ ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาประชาชนคุณภาพรองรับการเติบโตของจังหวัดในทุกมิติ และเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบริการของรัฐที่มีคุณภาพ เข้าถึงการบริการประชาชน เป็นที่พึงพอใจของประชาชน

21.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครองในเรื่องการส่งเสริมให้เด็กทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์เพื่อ ร่างกายที่มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัยในเด็ก

ผู้ปกครองตระหนักถึงความ สำคัญ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ของเด็ก และมีส่วนร่วมในการส่งเสริม พัฒนาเด็กปฐมวัย ร้อยละ 100

21.00 21.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองเห็นถึงความสำคัญของการลดอาหารที่ไม่มีประโยชน์ในการให้เด็กทาน ในช่วงเช้า

ผู้ปกครองตระหนักถึงความ สำคัญ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการลดอาหารที่ไม่มีประโยชน์ในการให้เด็กทาน
ในช่วงเช้า ร้อยละ 100

21.00 21.00
3 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีน้ำหนักเหมาะสมตามวัย

เด็กปฐมวัยมีน้ำหนักตามเกณฑ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 75

12.00 9.00
4 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีส่วนร่วมในการปลูกผักสวนครัวและส่งเสริมการกินผักของเด็ก

เด็กปฐมวัยเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาทางกายร้อยละ 100

21.00 21.00
5 เพื่อให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในเรื่องการส่งเสริมการรับประทานอาหารเช้า ในเด็ก

ผู้ปกครองตระหนักถึงความ สำคัญ มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ของเด็ก และมีส่วนร่วมในการส่งเสริม พัฒนาเด็กปฐมวัย ร้อยละ 100

21.00 21.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครองในเรื่องการส่งเสริมให้เด็กทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์เพื่อ ร่างกายที่มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัยในเด็ก

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองเห็นถึงความสำคัญของการลดอาหารที่ไม่มีประโยชน์ในการให้เด็กทาน ในช่วงเช้า

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีน้ำหนักเหมาะสมตามวัย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีส่วนร่วมในการปลูกผักสวนครัวและส่งเสริมการกินผักของเด็ก

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 5 : เพื่อให้ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในเรื่องการส่งเสริมการรับประทานอาหารเช้า ในเด็ก

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

13 - 31 ม.ค. 66 เตรียมความพร้อม 0.00 -
1 ก.พ. 66 - 29 ก.ย. 66 กิจกรรมคัดกรอง ชั่งน้ำหนักส่วนสูงลงกราฟพัฒนาการรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้ 0.00 -
1 ก.พ. 66 - 29 ก.ย. 66 กิจกรรมอาหารเช้าของหนูเพื่อพัฒนาการที่สมบรูณ์ 30,912.00 -
1 ก.พ. 66 - 29 ก.ย. 66 กิจกรรมปลูกผักสวนครัวเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย 0.00 -
6 ก.พ. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กและสะท้อนปัญหาภาวะโภชนาการของเด็กรายบุคคล 4,110.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองความตระหนักในเรื่องการส่งเสริมให้เด็กทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์เพื่อ ร่างกายที่มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย
  2. ผู้ปกครองเห็นถึงความสำคัญของการลดอาหารที่ไม่มีประโยชน์ในการให้เด็กทาน
    ในช่วงเช้า
  3. เด็กปฐมวัยมีน้ำหนักเหมาะสมตามวัย
  4. เด็กปฐมวัยมีส่วนร่วมในการปลูกผักสวนครัวและส่งเสริมการกินผักของเด็ก
  5. ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในเรื่องการส่งเสริมการรับประทานอาหารเช้า ในเด็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2565 00:00 น.