กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองป้องกันโรคภาวะซึมเศร้าในวัยเรียนนักเรียนโรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

โรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา

นางประนอม ประยูร
นางสาวอมร ช่วยพันธ์
นางอรทัย คงสุวรรณ
นายไพศาล คงสุวรรณ
นายแวรอนิง แวเด็ง

โรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา ต. เชิงแส อ. กระแสสินธุ์ จ.สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยสถานการณ์ป่วยโรคซึมเศร้านำสู่การฆ่าตัวตาย กำลังเป็นปัญหาคุกคามสังคมไทย มีคนไทยอย่างน้อย 1.5 ล้านคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ปี 2564 มีผู้พยายามฆ่าตัวตาย 6 คนต่อชั่วโมง ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า และ 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในประเทศไทยมีผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว โดยที่ผู้ป่วยจำนวนมากเข้าไม่ถึงการรักษา ซึ่งผู้ที่ป่วยรุนแรงจะนำไปสู่ความพยายามฆ่าตัวตาย อ้างอิงข้อมูลจากศูนย์โรคซึมเศร้าไทย กรมสุขภาพจิต ระบุว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน โดยเฉลี่ยผู้ป่วยจำนวน 100 คน เข้าถึงการรักษาเพียง 28 คนเท่านั้น นอกจากนี้ ยังพบว่าเพศหญิงมีอัตราการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าเพศชาย แต่เพศชายมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่า โดยในปี 2564 คนไทยพยายามฆ่าตัวตายชั่วโมงละ 6 คน หรือทั้งปีมากกว่า 53,000 คน และเสียชีวิตราว 4,000 คน ซึ่งการฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในไทย โดยข้อมูลจากศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ กรมสุขภาพจิต ระบุว่าจำนวนผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ สาเหตุจากภาวะซึมเศร้า 10% ขณะที่สาเหตุการฆ่าตัวตายส่วนใหญ่มาจากปัญหาอื่นๆ เช่น ด้านความสัมพันธ์ ฯลฯ และนอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ภาวะซึมเศร้าเป็นภัยเงียบของสุขภาพเป็นได้ทุกวัย หากไม่ได้รับการแก้ไขจะมีผลกระทบรุนแรง ทำงานหรือเรียนหนังสือไม่ได้ อนาคตในอีก 18 ปี ข้างหน้าจะส่งผลกระทบกลายเป็นภาระการดูแลรักษาอันดับ 1 ของทั่วโลก

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตส่งผลต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก และพบค่อนข้างมากในกลุ่มวัยรุ่นในวัยเรียนโดยเฉพาะโรคซึมเศร้า นับเป็นโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ป่วย เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้หมดกำลังใจ ท้อแท้ในชีวิต ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงานลดลงอย่างชัดเจน ส่งผลกระทบต่อตัววัยรุ่น ครอบครัวและสังคม ประกอบกับปัจจุบันนักเรียนโรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยามีปัญหาด้านสุขภาพจิต ความเครียดซึ่งกลุ่มงานแนะแนวได้ให้นักเรียนทำการประเมินแบบภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (อายุ 11-20 ปี) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ผลปรากฏว่า นักเรียน จำนวน 264 คน มีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลางไปจนถึงภาวะรุนแรงจำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 13.64 และ มีความคิดในการจะทำร้ายตัวเองโดยการฆ่าตัวตายที่ทำการประเมิน จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 10.98 ซึ่งปัญหาสุขภาพจิตดังกล่าวนี้ ส่งผลต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก โรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยาได้เล็งเห็นถึงถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการวัยรุ่น วัยใส สุขภาพกายใจ เบิกบาน ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยงโรคภาวะซึมเศร้า มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิต ป้องกันตนเองไม่ให้เกิดภาวะซึมเศร้าในตนเองได้

นักเรียน ร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิต ป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยเป็นโรคภาวะซึมเศร้าในตนเอง

0.00 5.00
2 เพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนในกลุ่มเสี่ยงในภาวะซึมเศร้า เพิ่มความรู้สึกของคุณค่าในตนเองและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

นักเรียน ร้อยละ 95 มีความตระหนักถึงคุณค่าในตนเองและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะความเสี่ยงโรคซึมเศร้าในระดับกลางจนถึงระดับรุนแรง และคิดฆ่าตัวตายได้รับการบริการด้านสุขภาพจิต นำไปปรับใช้ดูแลตนเอง และ ครอบครัว ให้มีความสุขต่อไป

นักเรียน ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการบริการด้านสุขภาพจิต นำไปปรับใช้ดูแลตนเอง และ ครอบครัว ให้มีความสุขต่อไป

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงาน 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประเมินสุขภาวะทางจิต

ชื่อกิจกรรม
ประเมินสุขภาวะทางจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
- ทำแบบประเมินประเมินแบบภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (อายุ 11-20 ปี)ของกรมสุภาพจิต โดยคุณครูที่ปรึกษา

กลุ่มเป้าหมาย
- นักเรียน จำนวน 264 คน
งบประมาณ
-ค่าแบบประเมินภาวะซึมเศร้า จํานวน 264 ชุด ๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 1,056 บาท
เป็นเงิน 1,056 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 18 พฤศจิกายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้รับรู้ถึงสภาวะทางจิตของตนเอง สามารถจำแนกกลุ่มนักเรียนที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพจิต เป็นระดับต่างๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1056.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้ และปรับเปลี่ยนทัศนะคติ ความคิด

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ และปรับเปลี่ยนทัศนะคติ ความคิด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1. ทำแบบประเมินความรู้ก่อนเข้ารับการอบรม
2. จัดอบรมในหัวข้อ
- จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ความเครียดและปัญหาการซึมเศร้าในปัจจุบัน
- อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ อาการแสดงภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเยาวชน
- สาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเยาวชน
- การช่วยเหลือและการป้องกันกลุ่มเยาวชนที่มีภาวะซึมเศร้า
- กลยุทธ์และวิธีการป้องกันรักษาภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเยาวชน
- เยาวชนสดใสป้องกันการซึมเศร้าร่วมใจต้านอบายมุข
3. ทำแบบประเมินความรู้หลังการอบรม

กลุ่มเป้าหมาย
- นักเรียน จำนวน 60 คน
-คณะทำงาน/ผู้สังเกตุการณ์ จำนวน 10 คน
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 70 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน1,750บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย จำนวน 3.30 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน2,100 บาท
- ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร 1 ผืน เป็นเงิน 432บาท
- ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 60 ชุด ๆ ละ 10 บาทเป็นเงิน 600บาท
- ค่ากระเป๋าใส่เอกสารประกอบการอบรมจำนวน 60 ใบ ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,200บาท
- ค่าปากกาจำนวน 60 ด้าม ๆ ละ 7 บาท เป็นเงิน420 บาท
- ค่าสมุดบันทึกกิจกรรมจำนวน 60 เล่ม ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน600บาท
- ค่า ปากกาเคมี จํานวน 20 ด้าม ๆ ละ 15 เป็นเงิน300บาท
- กระดาษบลู๊พ จํานวน 11 แผ่น ๆ ละ 9 บาท เป็นเงิน99บาท
- ผ้าเทปจํานวน 1 ม้วน ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 35 บาท
- ค่าเกียรติบัตรผู้เข้าร่วมอบรม 60 ใบ เป็นเงิน 300บาท
เป็นเงิน7,836บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องสภาพจิตใจ
-นักเรียนกลุ่มเป้าหมายสามารถประเมินสภาพจิตของตนเอง และปรับสภาพจิตของตนเองตามหลักความรู้ที่เข้ารับการอบรม
-นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย สามารถกลับมามีสุขภาพจิตสดใส อยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างปกติสุข

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7836.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามประเมินผลและส่งต่อ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามประเมินผลและส่งต่อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1. ติดตามนักเรียนกลุ่มเสี่ยง โดยครูที่ปรึกษา
2. ให้ทำแบบประเมินผลในระยะเวลา 5 เดือน
3. ผู้ภาวะความเสี่ยงโรคซึมเศร้าในระดับรุนแรง และคิดฆ่าตัวตาย ได้รับการส่งต่อไปยังกลุ่มงานสุขภาพจิตโรงพยาบาลกระแสสินธุ์

เป้าหมาย
- นักเรียนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 60 คน

งบประมาณ
- ค่าแบบประเมินภาวะซึมเศร้า จํานวน 60 ชุด ๆ ละ 4 บาทเป็นเงิน 240 บาท

เป็นเงิน 240 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้ง 60 คน มีสภาวะทางจิตที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
240.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมรายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำรายงานผลโครงการฉบับสมบูรณ์ จำนวน 2 เล่ม
งบประมาณ
- ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการ จำนวน 2 เล่ม ๆ ละ 200 บาทเป็นเงิน400 บาท

เป็นเงิน 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดทำรายงานผลโครงการฉบับสมบูรณ์ จำนวน 2 เล่ม งบประมาณ
- ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการ จำนวน 2 เล่ม ๆ ละ 200 บาทเป็นเงิน400 บาท

เป็นเงิน 400 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,532.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิต ป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยเป็นโรคภาวะซึมเศร้าในตนเอง
2. นักเรียนกลุุ่มเสี่ยงมีตระหนักถึงคุณค่าในตนเองและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
3. นักเรียนที่มีภาวะความเสี่ยงโรคซึมเศร้าในระดับกลางจนถึงระดับรุนแรง และคิดฆ่าตัวตายได้รับการได้รับการบริการด้านสุขภาพจิต นำไปปรับใช้ดูแลตนเอง และ ครอบครัว ให้มีความสุขต่อไป


>