กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองป้องกันโรคภาวะซึมเศร้าในวัยเรียนนักเรียนโรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา
รหัสโครงการ 2566-L5164-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา
วันที่อนุมัติ 9 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 9,532.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรัชพล หิ้นนรานุกูล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 พ.ย. 2565 30 ก.ย. 2566 9,532.00
รวมงบประมาณ 9,532.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์ป่วยโรคซึมเศร้านำสู่การฆ่าตัวตาย กำลังเป็นปัญหาคุกคามสังคมไทย มีคนไทยอย่างน้อย 1.5 ล้านคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ปี 2564 มีผู้พยายามฆ่าตัวตาย 6 คนต่อชั่วโมง ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า และ 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในประเทศไทยมีผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว โดยที่ผู้ป่วยจำนวนมากเข้าไม่ถึงการรักษา ซึ่งผู้ที่ป่วยรุนแรงจะนำไปสู่ความพยายามฆ่าตัวตาย อ้างอิงข้อมูลจากศูนย์โรคซึมเศร้าไทย กรมสุขภาพจิต ระบุว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน โดยเฉลี่ยผู้ป่วยจำนวน 100 คน เข้าถึงการรักษาเพียง 28 คนเท่านั้น นอกจากนี้ ยังพบว่าเพศหญิงมีอัตราการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าเพศชาย แต่เพศชายมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่า โดยในปี 2564 คนไทยพยายามฆ่าตัวตายชั่วโมงละ 6 คน หรือทั้งปีมากกว่า 53,000 คน และเสียชีวิตราว 4,000 คน ซึ่งการฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในไทย โดยข้อมูลจากศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ กรมสุขภาพจิต ระบุว่าจำนวนผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ สาเหตุจากภาวะซึมเศร้า 10% ขณะที่สาเหตุการฆ่าตัวตายส่วนใหญ่มาจากปัญหาอื่นๆ เช่น ด้านความสัมพันธ์ ฯลฯ และนอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ภาวะซึมเศร้าเป็นภัยเงียบของสุขภาพเป็นได้ทุกวัย หากไม่ได้รับการแก้ไขจะมีผลกระทบรุนแรง ทำงานหรือเรียนหนังสือไม่ได้ อนาคตในอีก 18 ปี ข้างหน้าจะส่งผลกระทบกลายเป็นภาระการดูแลรักษาอันดับ 1 ของทั่วโลก

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตส่งผลต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก และพบค่อนข้างมากในกลุ่มวัยรุ่นในวัยเรียนโดยเฉพาะโรคซึมเศร้า นับเป็นโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ป่วย เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้หมดกำลังใจ ท้อแท้ในชีวิต ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงานลดลงอย่างชัดเจน ส่งผลกระทบต่อตัววัยรุ่น ครอบครัวและสังคม ประกอบกับปัจจุบันนักเรียนโรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยามีปัญหาด้านสุขภาพจิต ความเครียดซึ่งกลุ่มงานแนะแนวได้ให้นักเรียนทำการประเมินแบบภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น (อายุ 11-20 ปี) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ผลปรากฏว่า นักเรียน จำนวน 264 คน มีภาวะซึมเศร้าระดับปานกลางไปจนถึงภาวะรุนแรงจำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 13.64 และ มีความคิดในการจะทำร้ายตัวเองโดยการฆ่าตัวตายที่ทำการประเมิน จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 10.98 ซึ่งปัญหาสุขภาพจิตดังกล่าวนี้ ส่งผลต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก โรงเรียนกระแสสินธุ์วิทยาได้เล็งเห็นถึงถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการวัยรุ่น วัยใส สุขภาพกายใจ เบิกบาน ประจำปีงบประมาณ 2566 ขึ้น เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยงโรคภาวะซึมเศร้า มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิต ป้องกันตนเองไม่ให้เกิดภาวะซึมเศร้าในตนเองได้

นักเรียน ร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิต ป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยเป็นโรคภาวะซึมเศร้าในตนเอง

0.00 5.00
2 เพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนในกลุ่มเสี่ยงในภาวะซึมเศร้า เพิ่มความรู้สึกของคุณค่าในตนเองและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

นักเรียน ร้อยละ 95 มีความตระหนักถึงคุณค่าในตนเองและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะความเสี่ยงโรคซึมเศร้าในระดับกลางจนถึงระดับรุนแรง และคิดฆ่าตัวตายได้รับการบริการด้านสุขภาพจิต นำไปปรับใช้ดูแลตนเอง และ ครอบครัว ให้มีความสุขต่อไป

นักเรียน ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการบริการด้านสุขภาพจิต นำไปปรับใช้ดูแลตนเอง และ ครอบครัว ให้มีความสุขต่อไป

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 18 พ.ย. 65 ประเมินสุขภาวะทางจิต 0 1,056.00 -
1 - 31 ธ.ค. 65 จัดอบรมให้ความรู้ และปรับเปลี่ยนทัศนะคติ ความคิด 0 7,836.00 -
1 ม.ค. 66 - 31 พ.ค. 66 กิจกรรมติดตามประเมินผลและส่งต่อ 0 240.00 -
1 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมรายงานผลโครงการ 0 400.00 -
รวม 0 9,532.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิต ป้องกันตนเองไม่ให้ป่วยเป็นโรคภาวะซึมเศร้าในตนเอง
  2. นักเรียนกลุุ่มเสี่ยงมีตระหนักถึงคุณค่าในตนเองและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
  3. นักเรียนที่มีภาวะความเสี่ยงโรคซึมเศร้าในระดับกลางจนถึงระดับรุนแรง และคิดฆ่าตัวตายได้รับการได้รับการบริการด้านสุขภาพจิต นำไปปรับใช้ดูแลตนเอง และ ครอบครัว ให้มีความสุขต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2565 15:51 น.