กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันปัญหาการทำร้ายตนเอง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเชิงแส

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลกระแสสินธุ์

1.นางสาวนราภัทร ทิพย์รักษ์
2.นางรัตติยายกย่องสกุล
3.นางสาวธิตติยา เพชรรัตน์
4.นางสาวเพ็ญภานีกำเหนิดดี
5.นางสาวรัฏฐกาญจน์ฝอยทอง

ต.เชิงแส อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การฆ่าตัวตายและการพยายามฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยจากรายงานของกรมสุขภาพจิตพบว่าในปี 2563 และ ปี 2564 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จคิดเป็นอัตรา 6.64 และ 7.44 ต่อแสนประชากรจากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ มาจากการทะเลาะเบาะแว้งกับคนใกล้ชิด น้อยใจ ถูกดุด่า ถูกตำหนิ ปัญหาความรัก ความหึงหวง การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และโรคทางจิตเวช เช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว รวมทั้งกลุ่มผู้ใช้สุราและสารเสพติดที่มีอาการทางจิตประสาทร่วมด้วย
ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ ยังไม่พบอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ แต่พบผู้ที่พยายามทำร้ายตนเองปี 2563 – 2565 จำนวน 1 ราย, 1 ราย และ 3 ราย ตามลำดับ จากสถานการณ์ข้างต้นพบว่ามีแนวโน้มการพยายามทำร้ายตนเองเพิ่มขึ้น และพบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการทำร้ายตนเองเกิดจากหลายสาเหตุ เช่นความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ทะเลาะกับคนใกล้ชิด น้อยใจคนในครอบครัว เป็นต้นที่ผ่านมางานสุขภาพจิตและยาเสพติดโรงพยาบาลกระแสสินธุ์ ได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำร้ายตนเองและการฆ่าตัวตายสำเร็จมาอย่างต่อเนื่อง มีการดำเนินการค้นหา คัดกรอง ส่งต่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย การให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า โรคทางจิตเวช การสังเกตเฝ้าระวังผู้ที่เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง แก่ประชาชนทั่วไป อสม. กลุ่มญาติ กลุ่มผู้ดูแลหลัก และกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพจิตและจิตเวช แต่ปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จในพื้นที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ดังนั้น ในปี 2566 งานสุขภาพจิตและยาเสพติด โรงพยาบาลกระแสสินธุ์จึงได้จัดทำโครงการป้องกันปัญหาการทำร้ายตนเองขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาการทำร้ายตนเองในพื้นที่ตำบลเชิงแส และเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคทางจิตเวชและการเข้าถึงกระบวนการรักษา จึงทั้งยังให้คนในชุมชนได้ช่วยกันดูแล ป้องกัน เฝ้าระวัง ผู้ที่เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองของประชาชนในตำบลเชิงแส

ร้อยละ 100 ของประชาชนในตำบลเชิงแสไม่พบพฤติกรรมเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนในตำบลเชิงแสได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ 10 สัญญาณเตือนฆ่าตัวตาย และการดูแลช่วยเหลือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง

ร้อยละ 80 ของประชาชนในตำบลเชิงแสมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ 10 สัญญาณเตือนฆ่าตัวตาย และการดูแลช่วยเหลือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ 10 สัญญาณเตือนฆ่าตัวตาย และการดูแลช่วยเหลือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ 10 สัญญาณเตือนฆ่าตัวตาย และการดูแลช่วยเหลือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1. ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมาย
2. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ 10 สัญญาณเตือนฆ่าตัวตาย และการดูแลช่วยเหลือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง
3. ทำแบบทดสอบก่อน - หลังการอบรม
กลุ่มเป้าหมาย
- ประชาชนในเขตพื้นที่ ตำบลเชิงแส จำนวน 200 คน (หมู่บ้านละ 50 คน * 4 หมู่บ้าน)
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 200 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน5,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ความเข้าใจที่ได้จากการอบรมไปปรับใช้ในการดูแลตนเองและคนรอบข้างได้
2.ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถช่วยกันดูแลช่วยเหลือติดตาม ป้องกันเฝ้าระวัง ผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายได้
3.ผู้เข้าร่วมอบรมไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ 10 สัญญาณเตือนฆ่าตัวตาย

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ประชาสัมพันธ์ 10 สัญญาณเตือนฆ่าตัวตาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
- จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์ประชาสัมพันธ์ 10 สัญญาณเตือนฆ่าตัวตาย
- กลุ่มเป้าหมายที่เข้าอบรมได้นำไปประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันการทำร้ายตนเองต่อในชุมชน
งบประมาณ
- ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์เรื่อง 10 สัญญาณเตือนฆ่าตัวตาย ขนาด 1.2 เมตร * 2.4 เมตร จำนวน 11 แผ่น ราคาแผ่นละ 432 บาท เป็นเงิน 4,752 บาท
- ค่าแผ่นพับความรู้ป้องกันการทำร้ายตนเอง ขนาด A4พิมพ์ หน้า หลัง 1,000 ใบ ใบละ 5 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ความเข้าใจที่ได้จากการอบรมไปปรับใช้ในการดูแลตนเองและคนรอบข้างได้
2.ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถช่วยกันดูแลช่วยเหลือติดตาม ป้องกันเฝ้าระวัง ผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายได้
3.ผู้เข้าร่วมอบรมไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9752.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,752.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ 10 สัญญาณเตือนฆ่าตัวตาย และการดูแลช่วยเหลือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง
2. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถดูแล ช่วยเหลือ ติดตาม ป้องกัน เฝ้าระวัง ผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายได้
3.ผู้เข้าร่วมอบรมไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง


>