กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันปัญหาการทำร้ายตนเอง
รหัสโครงการ 2566-L5164-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกระแสสินธุ์
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 14,752.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแพทย์ภควรรษ สังค์ทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฆ่าตัวตายและการพยายามฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยจากรายงานของกรมสุขภาพจิตพบว่าในปี 2563 และ ปี 2564 อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จคิดเป็นอัตรา 6.64 และ 7.44 ต่อแสนประชากรจากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ มาจากการทะเลาะเบาะแว้งกับคนใกล้ชิด น้อยใจ ถูกดุด่า ถูกตำหนิ ปัญหาความรัก ความหึงหวง การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และโรคทางจิตเวช เช่น โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว รวมทั้งกลุ่มผู้ใช้สุราและสารเสพติดที่มีอาการทางจิตประสาทร่วมด้วย ตำบลเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ ยังไม่พบอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ แต่พบผู้ที่พยายามทำร้ายตนเองปี 2563 – 2565 จำนวน 1 ราย, 1 ราย และ 3 ราย ตามลำดับ จากสถานการณ์ข้างต้นพบว่ามีแนวโน้มการพยายามทำร้ายตนเองเพิ่มขึ้น และพบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการทำร้ายตนเองเกิดจากหลายสาเหตุ เช่นความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ทะเลาะกับคนใกล้ชิด น้อยใจคนในครอบครัว เป็นต้นที่ผ่านมางานสุขภาพจิตและยาเสพติดโรงพยาบาลกระแสสินธุ์ ได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำร้ายตนเองและการฆ่าตัวตายสำเร็จมาอย่างต่อเนื่อง มีการดำเนินการค้นหา คัดกรอง ส่งต่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย การให้ความรู้เรื่องโรคซึมเศร้า โรคทางจิตเวช การสังเกตเฝ้าระวังผู้ที่เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง แก่ประชาชนทั่วไป อสม. กลุ่มญาติ กลุ่มผู้ดูแลหลัก และกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพจิตและจิตเวช แต่ปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จในพื้นที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้น ในปี 2566 งานสุขภาพจิตและยาเสพติด โรงพยาบาลกระแสสินธุ์จึงได้จัดทำโครงการป้องกันปัญหาการทำร้ายตนเองขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาการทำร้ายตนเองในพื้นที่ตำบลเชิงแส และเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคทางจิตเวชและการเข้าถึงกระบวนการรักษา จึงทั้งยังให้คนในชุมชนได้ช่วยกันดูแล ป้องกัน เฝ้าระวัง ผู้ที่เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองของประชาชนในตำบลเชิงแส

ร้อยละ 100 ของประชาชนในตำบลเชิงแสไม่พบพฤติกรรมเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนในตำบลเชิงแสได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ 10 สัญญาณเตือนฆ่าตัวตาย และการดูแลช่วยเหลือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง

ร้อยละ 80 ของประชาชนในตำบลเชิงแสมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ 10 สัญญาณเตือนฆ่าตัวตาย และการดูแลช่วยเหลือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ 10 สัญญาณเตือนฆ่าตัวตาย และการดูแลช่วยเหลือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง 0 5,000.00 -
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ 10 สัญญาณเตือนฆ่าตัวตาย 0 9,752.00 -
รวม 0 14,752.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ 10 สัญญาณเตือนฆ่าตัวตาย และการดูแลช่วยเหลือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง
  2. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถดูแล ช่วยเหลือ ติดตาม ป้องกัน เฝ้าระวัง ผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายได้ 3.ผู้เข้าร่วมอบรมไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2565 16:10 น.