กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ผักสีเขียวเพื่อสุขถาพ ปะกาลือสง ปี 66

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมตาดีกา หมู่ที่ 6 บ้านปะกาลือสง

1. นายสือไขรี มามะ 085-6739306
2. นางสาวมาสนา สาแม
3. นางสาวแวฮัสนะห์ มามะ
4. นางสาวกอลีเยาะ มามะ
5. นางสาวรอสือด๊ะ อุมา

ตาดีกาสุเหร่า ปะกาลือสง ม.6 ต. ตุยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก 6-12 ปีมีภาวะผอมขาดวิตามิน

 

30.00

จากการสังเกตพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเด็กวัยเรียน อายุตั้งแต่ 6 - 12 ขวบ ในพื้นที่พบว่าส่วนมากเด็กบริโภคอาหารสำเร็จรูปจำพวกแป้ง น้ำหวาน เป็นจำนวนมาก ทำให้เด็กทานอาหารที่ไม่ครบ 5 หมู่ ส่งผลต่อพัฒนาการ การเจริญเติบโตของเด็ก ผลการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นพบว่าเด็กหลายคนมีภาวะซีด มีน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ มีปัญหาสุขภาพช่องปาก เช่น ฟันผุ เหงือกบวม แดง เป็นส่วนใหญ่ นักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการปฏิบัติตัวที่ผิดๆชอบกินน้ำหวาน ขนมสำเร็จรูป ไม่ชอบกินผักเนื่องจากทางบ้านไม่ได้กำชับเรื่องอาหารการกินที่พึงประสงค์
ปัญหาการบริโภคของเด็กดังกล่าวเกิดจากวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของสังคมที่เปลี่ยนไปจากเดิม ในอดีตอาหารการกินต่างๆมาจากพ่อแม่หาให้ตามแหล่งน้ำ ลำคลอง หรือปลูกตามไร่นา การประกอบการหรือผลิตอาหารสำเร็จรูปหายาก แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีการผลิตอาหารที่สามารถเก็บไว้ในบรรจุห่อเก็บไว้ได้นาน หาซื้อง่ายมีขายในร้านทั่วไปในหมู่บ้าน ความหลากหลายในการค้าขายจำพวกอาหาร เครื่องดื่มต่างๆเพิ่มจำนวนมากอย่างเห็นได้ชัด ค่านิยมด้านการบริโภคจึงเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคไม่ใช่เฉพาะเด็กอย่างเดียวแต่รวมถึงในทุกกลุ่มวัย ทางชมรมตาดีกา หมู่ 6 ปะกาลือสง เห็นว่าการเฝ้าระวังหรือการส่งเสริมพฤติกรรมให้เด็กนักเรียนได้มีการบริโภคอาหารที่ถุกต้อง เหมาะสมตามวัย เป็นสิ่งจำเป็นและเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการอย่างยิ่ง เช่น การส่งเสริมให้นักเรียนทานอาหารพวกผัก ผลไม้ ทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้มีการพัฒนาการตามวัยและมีสุขภาพที่แข็งแรง โดยเฉพาะการส่งเสริมให้นักเรียนและครัวเรือนได้รับประทานอาหารจำพวกผักที่ปลอดสารพิษเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการ และทำควบคู่กับการส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหว การขยับกาย
ชมรมตาดีกา หมู่ 6 ปะกาลือสง มองเห็นว่าถ้าได้มีการส่งเสริมจัดกิจกรรมให้เด็กๆได้มารวมกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมการปลูกผักที่ปลอดสารพิษน่าจะเป็นสิ่งที่ดีเพื่อให้นักเรียนมีองค์ความรู้ มีทัศนคติที่ดี และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ จึงได้จัดทำโครงการของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยงเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมแก่เด็กเยาวชนในพื้นที่ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กวัยเรียน (6–12 ปี) ในพื้นที่ได้มีความรู้เรื่องการโภชนาการตามวัยและผักสีเขียวสร้างสุขภาพ

ร้อยละ 90 ของเด็กวัยเรียนในพื้นที่ได้มีความรู้ด้านโภชนาการตามวัยและผักสีเขียวสร้างสุขภาพ

80.00 72.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กในพื้นที่(6–12 ปี) มีสุขภาพที่แข็งแรง มีพัฒนาการตามวัย

ร้อยละ 95 ของเด็กวัยเรียนในพื้นที่ มีสุขภาพแข็งแรงปลอดโรคและพัฒนาการสมวัย

80.00 76.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วม

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการมีส่วนร่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเครือข่ายสร้างสุขภาพในพื้นที่ ในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆตามแผนงาน กิจกรรม - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  25 บาท x 40 คน   เป็นเงิน   1,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 1 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่มีความเข้าใจในการดำเนินงาน กิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาศักยภาพองค์ความรู้

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพองค์ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจสุขภาพเบื้องต้นพร้อมพัฒนาทักษะองค์ความรู้แก่เด็กวัยเรียน โดยการจัดอบรมหัวข้อเรื่อง “ผักสีเขียวสร้างสุขภาพ” ประกอบด้วยเนื้อหาตัวอย่างดังนี้ สถานการณ์ของโรคในวัยรียน ประโยชน์ของผักที่มีต่อร่างกาย หากเราไม่ทานผักจะเกิดอะไรขึ้น การบริโภคผักปลอดสารพิษ การปลูกผักกินเอง      - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ  จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 720 บาท      - ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 50 คน   เป็นเงิน 3,000 บาท      - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  35 x 2 มื้อ  x 50 คน  เป็นเงิน 3,500 บาท      - ค่าวัสดุเครื่องเขียน ชุดละ 15 บาท จำนวน 50 ชุด  เป็นเงิน  750 บาท      - ค่าวิทยากร  500 บาท x  3 ชม.   เป็นเงิน  1,500 บาท        รวมเป็นเงิน  9,470 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้รับการคัดกรองตรวจสุขภาพเบื้องต้น และได้รับความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9470.00

กิจกรรมที่ 3 ผักสีเขียวสร้างสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ผักสีเขียวสร้างสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมกลุ่มการปลูกผักสีเขียวสร้างสุขภาพ
- ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในกิจกรรม เช่น เมล็ด พันธุ์พืช ถุงมือ จอบ คราด อื่นๆเป็นเงิน5,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 20 บาท x 120 คน เป็นเงิน 2400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีกิจกรรมกลุ่มในการปลูกผัก
  2. มีผักสีเขียว ปลอดสารพิษรับประทาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,870.00 บาท

หมายเหตุ :
1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ
2. ประชุมเครือข่ายสร้างสุขภาพในพื้นที่
3. ตรวจสุขภาพเบื้องต้นพร้อมพัฒนาทักษะองค์ความรู้แก่เด็กวัยเรียน
4. จัดกิจกรรมผักสีเขียวสร้างสุขภาพ
- การส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เรียนรู้คุณค่าทางโภชนาการของผัก การเรียนรู้กิจกรรมกลุ่มการแบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อจัดกิจกรรมปลูกผักสีเขียวสร้างสุขภาพไว้บริโภคในครัวเรือน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในพื้นที่ให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพของบุตรหลานเพิ่มมากขึ้น
2. เด็กและเยาวชนในพื้นที่ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เรียนรู้เกี่ยวกับผักปลอดสารพิษ ส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
3. เด็กและเยาวชนมีความรู้และมีความสนใจในการบริโภคผักเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้น
4. เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ร่างกายแข็งแรง มีพัฒนาการทางร่างกายและการเรียนรู้ที่ดี
5. ประชาชนบริโภคผักปลอดสารพิษ


>