กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ผักสีเขียวเพื่อสุขถาพ ปะกาลือสง ปี 66
รหัสโครงการ 66-L3065-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมตาดีกา หมู่ที่ 6 บ้านปะกาลือสง
วันที่อนุมัติ 12 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 17,870.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสือไขรี มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ แวอูเซ็ง แวสาและ
พื้นที่ดำเนินการ ม.6 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.831713,101.189275place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก 6-12 ปีมีภาวะผอมขาดวิตามิน
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสังเกตพฤติกรรมการบริโภคอาหารในกลุ่มเด็กวัยเรียน อายุตั้งแต่ 6 - 12 ขวบ ในพื้นที่พบว่าส่วนมากเด็กบริโภคอาหารสำเร็จรูปจำพวกแป้ง น้ำหวาน เป็นจำนวนมาก ทำให้เด็กทานอาหารที่ไม่ครบ 5 หมู่ ส่งผลต่อพัฒนาการ การเจริญเติบโตของเด็ก ผลการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นพบว่าเด็กหลายคนมีภาวะซีด มีน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ มีปัญหาสุขภาพช่องปาก เช่น ฟันผุ เหงือกบวม แดง เป็นส่วนใหญ่ นักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการปฏิบัติตัวที่ผิดๆชอบกินน้ำหวาน ขนมสำเร็จรูป ไม่ชอบกินผักเนื่องจากทางบ้านไม่ได้กำชับเรื่องอาหารการกินที่พึงประสงค์ ปัญหาการบริโภคของเด็กดังกล่าวเกิดจากวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของสังคมที่เปลี่ยนไปจากเดิม ในอดีตอาหารการกินต่างๆมาจากพ่อแม่หาให้ตามแหล่งน้ำ ลำคลอง หรือปลูกตามไร่นา การประกอบการหรือผลิตอาหารสำเร็จรูปหายาก แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีการผลิตอาหารที่สามารถเก็บไว้ในบรรจุห่อเก็บไว้ได้นาน หาซื้อง่ายมีขายในร้านทั่วไปในหมู่บ้าน ความหลากหลายในการค้าขายจำพวกอาหาร เครื่องดื่มต่างๆเพิ่มจำนวนมากอย่างเห็นได้ชัด ค่านิยมด้านการบริโภคจึงเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคไม่ใช่เฉพาะเด็กอย่างเดียวแต่รวมถึงในทุกกลุ่มวัย ทางชมรมตาดีกา หมู่ 6 ปะกาลือสง เห็นว่าการเฝ้าระวังหรือการส่งเสริมพฤติกรรมให้เด็กนักเรียนได้มีการบริโภคอาหารที่ถุกต้อง เหมาะสมตามวัย เป็นสิ่งจำเป็นและเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการอย่างยิ่ง เช่น การส่งเสริมให้นักเรียนทานอาหารพวกผัก ผลไม้ ทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้มีการพัฒนาการตามวัยและมีสุขภาพที่แข็งแรง โดยเฉพาะการส่งเสริมให้นักเรียนและครัวเรือนได้รับประทานอาหารจำพวกผักที่ปลอดสารพิษเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการ และทำควบคู่กับการส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหว การขยับกาย ชมรมตาดีกา หมู่ 6 ปะกาลือสง มองเห็นว่าถ้าได้มีการส่งเสริมจัดกิจกรรมให้เด็กๆได้มารวมกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมการปลูกผักที่ปลอดสารพิษน่าจะเป็นสิ่งที่ดีเพื่อให้นักเรียนมีองค์ความรู้ มีทัศนคติที่ดี และนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ จึงได้จัดทำโครงการของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยงเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมแก่เด็กเยาวชนในพื้นที่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กวัยเรียน (6–12 ปี) ในพื้นที่ได้มีความรู้เรื่องการโภชนาการตามวัยและผักสีเขียวสร้างสุขภาพ

ร้อยละ 90 ของเด็กวัยเรียนในพื้นที่ได้มีความรู้ด้านโภชนาการตามวัยและผักสีเขียวสร้างสุขภาพ

80.00 72.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กในพื้นที่(6–12 ปี) มีสุขภาพที่แข็งแรง มีพัฒนาการตามวัย

ร้อยละ 95 ของเด็กวัยเรียนในพื้นที่ มีสุขภาพแข็งแรงปลอดโรคและพัฒนาการสมวัย

80.00 76.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 พ.ค. 66 ส่งเสริมการมีส่วนร่วม 0 1,000.00 -
1 พ.ค. 66 - 30 มิ.ย. 66 พัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ 0 9,470.00 -
1 พ.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 ผักสีเขียวสร้างสุขภาพ 0 7,400.00 -
รวม 0 17,870.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่ให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพของบุตรหลานเพิ่มมากขึ้น
  2. เด็กและเยาวชนในพื้นที่ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เรียนรู้เกี่ยวกับผักปลอดสารพิษ ส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
  3. เด็กและเยาวชนมีความรู้และมีความสนใจในการบริโภคผักเพื่อสุขภาพเพิ่มขึ้น
  4. เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ร่างกายแข็งแรง มีพัฒนาการทางร่างกายและการเรียนรู้ที่ดี
  5. ประชาชนบริโภคผักปลอดสารพิษ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2565 23:46 น.