กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เยาวชนปะกาลือสง ภูมิคุ้มกันดี ห่างไกลยาเสพติด ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

สภาเยาวชนบ้านปะกาลือสง หมู่ 6

1. นายอดุลย์ ดอเลาะ
2. นายอับดุลเลาะ มูซอ
3. นางสาวมาเรียม หะยีลาเตะ
4. นางสาวซามีเราะ อาแวกือจิ
5. นางสาวอิคตีซัน หะยีลาเตะ

บ้านปะกาลือสง หมู่ที่ 6 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

 

124.00
2 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

66.00

สถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในประเทศไทย พบว่ามีเด็กและเยาวชนจำนวนไม่น้อยที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งเกิดจากความตั้งใจ และเกิดจากการหลงผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เด็กและเยาวชน มีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นอีก เช่น เด็กและเยาวชนเป็นที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ การสร้างการยอมรับ กล้าทำในสิ่งที่ท้าทาย การชักจูง และการหลอกลวง เป็นต้น ดังนั้น เด็กและเยาวชนจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติดอย่างเหมาะสม การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด และสิ่งสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน โดยผนึกกำลังทุกภาคส่วน ให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชออย่างบ และร่วมแรงร่วมใจเป็นพลังของแผ่นดิน ที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด
พื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านปะกาลือสง ตำบลตุยง(เป็นข้อมูลที่สมาชิกสภาเยาวชนได้สังเกตุแบบเงียบๆ) พบว่าเยาวชนเพศชายอายุประมาณ 15 -25 ปี มีประมาณ 124 คน มีความเสี่ยงต่อการติดยาเสพติดประมาณ 25 คน คิดเป็นร้อยละ 20 ในส่วนของข้อมูลผู้ที่ติดยาเสพติดในหมู่บ้านก็มี โดยมีทั้งเยาวชน และวัยที่ทำงาน มีครอบครัวแล้ว ไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้ แต่เป็นข้อมูลลับในพื้นที่ ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดส่วนใหญ่จะเป็นน้ำกระท่อมที่ผสมด้วยส่วนประกอบหลายอย่าง ปัญหาผลกระทบจากการระบาดของยาเสพติดส่งผลให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตการเป็นอยู่ ทรัพย์สินศูนย์หาย ลูกก้าวร้าวต่อพ่อแม่ ครอบครัวแตกแยก ครอบครัวยากจนสภาเยาวชนบ้านปะกาลือสง หมู่ 6 ได้ตระหนักในปัญหาดังกล่าว มีการจัดทำโครงการต่อเนื่องเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนที่จะให้เยาวชนและผู้ปกครองในพื้นที่ได้มีกิจกรรมร่วมกันเพื่อสานการดำเนินงานในการที่จะปกป้องให้ชุมชนปลอดยาเสพติด ให้เพื่อนๆ น้องๆ ได้ตระหนักในสุขภาพของตนเองและครอบครับ ส่งผลให้เกิดชุมชนน่าอยู่ โดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของหลายๆกลุ่มในพื้นที่ กิจกรรมที่จัดส่วนใหญ่จะเป็นการจัดเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รู้คุณค่าของตนเอง ทำประโยชน์ต่อชุมชน ปลุกฝังให้เกิดการรักบ้านเกิด สร้างองค์ความรู้ด้านจริยธรรมศาสนา เพื่อให้เกิดเกราะป้องกันตนเองโดยธรรมชาติ สภาเยาวชนบ้านปะกาลือสงจึงเห็นความสำคัญที่จะต้องมีการขับเคลื่อนเพื่อเป็นแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไม่ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนในพื้นที่ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้จัดทำโครงการเยาวชนปะกาลือสง ภูมิคุ้มกันดี ห่างไกลยาเสพติด ปี 2566

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาทักษะองค์ความรู้ห่างไกลยาเสพติดให้แก่เยาวชนในพื้นที่

ร้อยละ 90 ของเยาวชนอายุ 15 - 25 ปี มีความรู้เรื่องการใช้ชีวิตให้ห่างไกลยาเสพติด

124.00 112.00
2 เพื่อให้เยาวชนในพื้นที่ได้มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมในการที่จะดูแลสุขภาพของตนเองและคนรอบข้าง

ร้อยละ 90 ของเยาวชนในพื้นที่ได้มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อหมู่บ้าน

124.00 112.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 124
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเครือข่ายสร้างสุขภาพ กลุ่มวัยรุ่นในพื้นที่ (15–25 ปี) เพื่อขับเคลื่อนโครงการ การดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ เช่น การดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน กิจกรรมพี่ดูแลน้องกันยาเสพติด จิตอาสาในกิจกรรมต่างๆ และอื่นๆ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 200 คน x 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการประชุมทุกครั้งก่อนทำกิจกรรมต่างๆ
  2. ทำกิจกรรมตามแผนที่กำหนดร่วม
  3. เกิดเป้าหมายร่วม และเข้าใจในรูปแบบกิจกรรมต่างๆ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 แกนนำต้านยาสร้างชุมชนเข้มแข็ง

ชื่อกิจกรรม
แกนนำต้านยาสร้างชุมชนเข้มแข็ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมหัวข้อเรื่อง “เยาวชนกับชุมชนห่างไกลยาเสพติด” - ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 50 คนเป็นเงิน 3,000บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม35 บาท x 2 มื้อ x 50 คนเป็นเงิน3,500 บาท - ค่าวิทยากร ุ600 บาท x 4 ชม.เป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน720บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แกนนำมีทัศนคติในการพัฒนาชุมชนให้ชุมชนห่างไกลยาเสพติดที่ดีขึ้น
  2. แกนนสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดแก่สมาชิกชมรมหรือคนรอบข้างต่อไป
  3. เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยเยาวชนร่วมกับชุมชน ในลำดับขั้นต่อไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9620.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสร้างสิ่งแวดล้อม สร้างสุขภาพ ห่างไกลยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างสิ่งแวดล้อม สร้างสุขภาพ ห่างไกลยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ เช่น การรณรงค์คัดแยกขยะ จิตอาสาทำถังขยะเปียก เก็บขยะ 2 ข้างทาง การปลูกต้นไม้ในบริเวณต่างๆในหมู่บ้าน กิจกรรมพัฒนาพื้นที่สถานที่สาธารณประโยชน์ต่างๆ เป็นต้น
  2. จัดกิจกรรมให้มีการเคลื่อนไหว การขยับกายอย่างต่อเนื่อง เช่น การร่วมแข่งกีฬา การซ้อมกีฬา การฝึกทักษะกีฬาประเภทต่างๆอย่างต่อเนื่อง งบประมาณที่ต้องใช้ประกอบด้วย
    • ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในกิจกรรม เช่น วัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร ถังขยะ ถุง ดำ ถุงแดง ฯลฯ หรืออื่นๆที่ใช้ในกิจกรรมการเคลื่อนไหวขยับกาย เป็นเงิน5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
  2. เยาวชนได้รวมตัวทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน
  3. สร้างชมรมให้เข้มแข็ง
  4. เยาวชนมีทัศนติที่ดีในเรื่องจิตอาสา เกิดการรักตนเอง และคนรอบข้าง ตลอดถึงชุมชนของตัวเอง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,620.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ
2. ประชุมเครือข่ายสร้างสุขภาพในพื้นที่
3. จัดอบรมหัวข้อเรื่อง “เยาวชนกับชุมชนห่างไกลยาเสพติด”
4. จัดกิจกรรมสร้างสิ่งแวดล้อม สร้างสุขภาพ ห่างไกลยาเสพติด
5. สรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเ้ป้าหมายห่างไกลยาเสพติด มีภูมิคุ้มกะนในตัวเอง
2. กลุ่มเป้าหมายมีจิตอาสา รักชุมชน
3. กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพแข็งแรง ออกกำลังกายเป็นประจำ


>