กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนปลอดสารเคมีบริโภคอาหารปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงเรียนบ้านกาเนะ

1. นางอรุนา ตาเดอิน ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านกาเนะ
2. นางยุวนิตย์ช่างสาน ตำแหน่ง ครูโรงเรียนบ้านกาเนะ
3. นางผ่องศรี เดชานนท์ ตำแหน่ง ครูโรงเรียนบ้านกาเนะ
4. นางนารีส๊ะ โสสนุ้ยตำแหน่ง ครูโรงเรียนบ้านกาเนะ
5. นางชุมาพร หาโส๊ะตำแหน่ง ครูโรงเรียนบ้านกาเนะ

โรงเรียนบ้านกาเนะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ ของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน ท่ีมีภาวะเสี่ยงต่อการบริโภคผักที่มีสารเคมีตกค้าง

ของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน ท่ีมีภาวะเสี่ยงต่อการบริโภคผักที่มีสารเคมีตกค้าง

141.00
2 ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาขยะ

การจัดการกับขยะ เป็นนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนโดยเฉพาะขยะเปียกควรรู้จักวิธีกำจัดซึ่งเป็นขยะที่สามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยของพืชได้

100.00

การมีสุขภาพดีเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์และเป็นสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองให้มีสุขภาพดี อันหมายถึงการมีสภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกาย จิตใจและปราศจากโรคภัยต่าง ๆ ตลอดจนการมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างดี และการมีทักษะในการดูแลสุขภาพสามารถดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีคุณค่าใฝ่เรียนรู้อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล ปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ปัจจุบันผักและผลไม้ที่วางขายตามท้องตลาดส่วนมากมีสารปนเปื้อน มีสารตกค้างเนื่องจากผู้ปลูกนำวัตถุที่เป็นสารเคมีมาใช้เพื่อเร่งผลผลิต กำจัดศัตรูพืชเมื่อซื้อมาใช้ปรุงอาหารกลางวันให้กับนักเรียนก่อให้เกิด
อันตรายต่อสุขภาพของนักเรียน และทางโรงเรียนมีเศษวัสดุที่เหลือจากการทำอาหารกลางวันให้กับนักเรียนสามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการทำปุ๋ยหมัก ดังนั้นโรงเรียนจึงมีโครงการโรงเรียนปลอดสารเคมีบริโภคอาหารปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ในเรื่องการบริโภคอาหารปลอดสารเคมี

นักเรียนมีความรู้ในเรื่องการบริโภคอาหารสารเคมี

141.00 1.00
2 เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน มีทักษะในการทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ

นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน มีทักษะในการทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ

0.00
3 นักเรียนบริโภคผักในอาหารกลางวันปลอดสารเคมี

นักเรียนบริโภคผักในอาหารกลางวันปลอดสารเคมี

0.00
4 เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุข

นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุข

0.00
5 เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการกำจัดและใช้ประโยชน์ขยะเปียกได้ถูกต้อง

นักเรียนมีความรู้และทักษะในการกำจัดขยะเปียกในครัวเรือนได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 128
กลุ่มวัยทำงาน 15
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/03/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติในเรื่องการปลูกพืชโดยไม่ใช้สารเคมีการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพฝึกและการกำจัดขยะเปียกในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
การให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติในเรื่องการปลูกพืชโดยไม่ใช้สารเคมีการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพฝึกและการกำจัดขยะเปียกในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดกิจกรรมการให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติในเรื่องการปลูกพืชโดยไม่ใช้สารเคมีการทำปุ๋ยหมักน้ำหมักชีวภาพและการกำจัดขยะเปียก
1.1 ค่าอาหารว่าง จำนวน 122 คน คนละ 50 บาท เป็นเงิน 6,100 บาท
1.2 ค่าวิทยาการให้ความรู้ 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
1.3 ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1 x 1.5 เมตร เป็นเงิน 300 บาท
1.4 ค่าถังใส่ปุ๋ยหมัก ขนาด100 ลิตร จำนวน 3 ใบๆละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท
1.5 ค่าน้ำตาลแดง จำนวน 12 กิโลกรัมๆละ 30 บาทเป็นเงิน 360 บาท
1.6 ค่าปุ๋ยคอก จำวนวน 20 กระสอบๆละ100 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
1.7 ค่าหัวเชื้อจุรินทรีย์ จำนวน 10 ขวด ขวดละ 50 บาท เป็นเงิน 500 บาท
1.8 ค่าเอกสารประกอบการอบรม 122 ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
1.9 ค่าถังกำจัดขยะเปียก ขนาด 10 ลิตร จำนวน 100 ใบ ใบละ 100 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
2.การนำปุ๋ยหมักไปปลูกผักและนำหมักชีวภาพไปรดผัก

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มีนาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียน ชั้นป.1 - ป.6 มีความรู้ในเรื่องการบริโภคอาหารปลอดสารเคมี
  2. นักเรียนชั้นป.1 - ป.6 และบุคลากรในโรงเรียน มีทักษะในการทำและใช้ปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ
  3. โรงเรียนมีปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ ใช้ในการปลูกผักและบำรุงผัก
  4. นักเรียนชั้นอนุบาล 2 - ป.6 และบุคลากรในโรงเรียน บริโภคผักในอาหารกลางวันปลอดสารเคมี
  5. นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุข
  6. นักเรียนมีความรูัและมีทักษะในการกำจัดขยะเปียกในครัวเรือน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26760.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,760.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการถั่วเฉลี่ยจ่าย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้ในเรื่องการบริโภคอาหารปลอดสารเคมี ร้อยละ 100
2. นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน มีทักษะในการทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ ร้อยละ80.00
3. นักเรียนบริโภคผักในอาหารกลางวันปลอดสารเคมี ร้อยละ100
4. นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงมีความสุข ร้อยละ 80.00
5. นักเรียนมีความรู้และทักษะในการกำจัดขยะเปียกในครัวเรือนร้อยละ 100


>