กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองบ้านพรุ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคระบบหลอดเลือดหัวใจและสมอง ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองบ้านพรุ

กองสาธารณสุขเทสบาลเมืองบ้านพรุ

เทสบาลเมืองบ้านพรุ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

32.45
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

38.45
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

10.24

สภาพสังคมไทยในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและไม่ติดต่อที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งอัตราป่วยต่อแสนประชากร ดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 119.10 โรคความดันโลหิตสูง 708.74โรคหัวใจและหลอดเลือด 901.31 และสำหรับอัตราการตายต่อแสนประชากรมีดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด 85.04โรคความดันโลหิตสูง 3.64 โรคหัวใจและหลอดเลือด 52.29 (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2557) ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มันจัดเค็มจัด หวานจัด รวมทั้งผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ความเครียด การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา เป็นต้น และจากผลการสำรวจของกรมอนามัยใน ปี 2562 พบว่า คนไทยเพียง 5 ล้านคนเท่านั้นที่มีการออกกำลังกายเพียงพอที่จะช่วยป้องกันโรคได้คณะแพทย์ศาสตร์รามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดลจากการเก็บข้อมูลประชากรกลุ่มศึกษาอายุมากว่า 15 ปี จำนวน 39,290 คน พบว่า กลุ่มศึกษาพบว่าประชากรไทยส่วนใหญ่ขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้องจึงจำเป็นต้องดำเนินการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนโดยมีความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมของภาคีเครือข่ายทางด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องทุกระดับเพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป และกลุ่มอายุต่ำกว่า 35 ปี ที่มีความเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน และโรคหัวใจและหลอดเลือด และและประชากรกลุ่มเสี่ยงได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีการอออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ3-5 วัน ๆ ละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อย ครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง และลดอาหารประเภทไขมัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ร้อยละ 20-30 และโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดลดลงได้อย่างมาก

สำหรับในเขตรับผิดชอบของเทศบาลเมืองบ้านพรุมีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 536 คนคิดเป็นอัตราป่วย5,116.27ต่อแสนประชากรและป่วยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 458 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1,395.35ต่อแสนประชากรและจากการสำรวจและคัดกรองของเจ้าหน้าที่และการติดตามกลุ่มเสี่ยงของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุทั้ง 11 ชุมชน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ขาดการเอาใจใส่ในการดูแลสุขภาพของตนเองทั้งในด้านการออกกำลังกายการบริโภคอาหาร และการควบคุมสมดุลของร่างกาย ทางเทศบาลเมืองบ้านพรุได้เล็งเห็นแล้วว่าปัญหาของโรคมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น

ดังนั้นงานส่งเสริมสุขภาพฝ่ายบริการสาธารณสุขกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำ “โครงการเฝ้าระวังและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและโรคระบบหลอดเลือดหัวใจและสมองปีงบประมาณพ.ศ.2566” ประชาชนในกลุ่มอายุตั้งแต่35ปีขึ้นไปและกลุ่มอายุต่ำกว่า 35 ปีที่มีความเสี่ยงโดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณในกาดำเนินงานจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองบ้านพรุ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

32.45 30.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

38.45 35.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

10.24 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 700
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคระบบหลอดเลือดหัวใจและสมองโดยประเมินสุขภาพประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป และกลุ่มอายุต่ำกว่า 35 ปี ที่มีความเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคระบบหลอดเลือดหัวใจและสมองโดยประเมินสุขภาพประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป และกลุ่มอายุต่ำกว่า 35 ปี ที่มีความเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคระบบหลอดเลือดหัวใจและสมองโดยประเมินสุขภาพประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป และกลุ่มอายุต่ำกว่า 35 ปี ที่มีความเสี่ยง

- ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มการคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง/อัมพฤกษ์ อัมพาตโดยวิธีทางวาจา (Verbal screening) ในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปไป และกลุ่มอายุต่ำกว่า 35 ปี ที่มีความเสี่ยงจำนวน1,000 ชุดๆ ละ1.- บาทรวมเป็นเงิน1,000.- บาท(เงินหนึ่งพันบาทถ้วน)

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้ดำเนินการจำนวน 720 คนอัตราคนละ25.- บาท/คน/มื้อ จำนวน1มื้อรวมเป็นเงิน18,000.- บาท(เงินหนึ่งแปดพันห้าพันบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 30 พฤศจิกายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพโดยหลัก 3 อ  น้อยละ 80 ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้เข้าร่วมอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19000.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองในกลุ่มเป้าหมายโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองในกลุ่มเป้าหมายโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 700 คน จำนวน 11 ชุมชน

-ค่าแถบตรวจระดับน้ำตาลในเลือดขนาดบรรจุ50ชิ้น/กล่องจำนวน12กล่อง ๆละ500.- บาทรวมเป็นเงิน6,000.- บาท(เงินหกพันบาทถ้วน)

-ค่าเข็มเจาะเลือดขนาดบรรจุ200ชิ้น/กล่อง จำนวน 5 กล่อง ๆ ละ 950.- บาทรวมเป็นเงิน4,750.- บาท(เงินสี่พันเจ็ดร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

-ค่าแอลกอฮอล์ ขนาด450 mlจำนวน10 ขวด ๆ ละ60 บาท รวมเป็นเงิน600.- บาท(เงินหกร้อยบาทถ้วน)

-ค่าสำลีก้อน(แพ็ค100กรัม)จำนวน5ถุง ๆละ60.-บาท รวมเป็นเงิน300.- บาท(เงินสามร้อยบาทถ้วน)

-ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการฯขนาด1.50 x 2.50เมตร รวม 4.0ตารางเมตร ๆละ120.- บาทรวมเป็นเงิน480.- บาท(เงินสี่ร้อยแปดสิบบาทถ้วน)

-ค่าโมเดลอาหารพร้อมกระเป๋าชุดใหญ่ (52 ชิ้น) จำนวน 1 ชุด ๆ ละ 20,000.-บาท รวมเป็นเงิน 20,000.- บาท (เงินสองหมื่นบาทถ้วน )

  • ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติจำนวน2 เครื่องๆ ละ3,000.-บาทรวมเป็นเงิน 6,000.-บาท(เงินหกพันบาทถ้วน )

    -ค่าเครื่องเจาะระดับน้ำตาลในเลือดจำนวน 2 เครื่อง ๆละ3,500.-บาทรวมเป็นเงิน7,000.-บาท( เงินเจ็ดพันบาทถ้วน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 ตุลาคม 2565 ถึง 30 พฤศจิกายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง  โรคเบาหวาน วัดรอบเอว พร้อมประเมินสุขภาพ  จำนวน 700  คน

กลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการส่งต่อ  100%

กลุ่มเสี่ยงต่ำ หรือปานกลาง ได้รับการติดตามเฝ้าระวังโดย อสม.ในำื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
48130.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและ อสม.

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แกนนำ อสม.และกลุ่มเสี่ยงจำนวน 60คน จำนวน 2 วัน 1 คืน

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมการอบรมและผู้ดำเนินการจำนวน 2 วัน จำนวน70คนอัตราคนละ50 บาท /คน /มื้อจำนวน 4 มื้อรวมเป็นเงิน14,000.-บาท(เงินหนึ่งหมื่นสี่พันบาทถ้วน)

-ค่าอาหารสำหรับผู้เข้าร่วมการอบรมและผู้ดำเนินงานจำนวน 2 วันจำนวน 70 คน อัตราคนละ 300 บาท/คน/มื้อ จำนวน3 มื้อรวมเป็นเงิน 63,000.- บาท (เงินหกหมื่นสามพันพันบาทถ้วน)

-ค่าตอบแทนวิทยากรในเรื่องการให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและโรคระบบหลอดเลือดหัวใจและสมองจำนวน จำนวน1คนจำนวน2ชั่วโมง ๆละ๖๐๐บาทรวมเป็นเงิน1,20๐.- บาท(เงินหนึ่งพันสองร้อยบาทถ้วน)

-ค่าตอบแทนวิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องการให้ความรู้กิจกรรม3 อ. 2 ส.จำนวน4คน ๆ ละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งหมด จำนวน8ชั่วโมง ๆ ละ600บาทรวมเป็นเงิน4,800.- บาทบรรยายจำนวน 1 คน จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท(เงินหกพันบาทถ้วน)

-ค่าถุงผ้าจำนวน60ใบ ๆ ละ100บาทรวมเป็นเงิน6,000.-บาท(เงินหกพันบาทถ้วน)

-ค่าปากกาจำนวน60ด้าม ๆละ๕บาทรวมเป็นเงิน300.- บาท(เงินสามร้อยบาทถ้วน)

-ค่าสมุดสำหรับจดบันทึกจำนวน60เล่ม ๆ ละ10 บาท รวมเป็นเงิน600.-บาท(เงินหกร้อยบาทถ้วน)

  • ค่า ROLL up ไวนิลเรื่องธงโภชนาการ ( ขนาด 85 ซม.x 200 ซม. ) จำนวน1 ชุดๆ ละ 3,000.- บาทรวมเป็นเงิน 3,000.- บาท (เงินสามพันบาทถ้วน )

  • ค่า ROLL up ไวนิลเรื่องโซนสีอาหาร ( ขนาด 85 ซม.x 200 ซม. ) จำนวน1 ชุด ๆละ 3,000.- บาทรวมเป็นเงิน 3,000.- บาท (เงินสามพันบาทถ้วน )

  • ค่า ROLL up ไวนิลเรื่องโรคเบาหวาน ( ขนาด 85ซม.x 200 ซม. ) จำนวน1 ชุดๆ ละ3,000.- บาทรวมเป็นเงิน 3,000.- บาท (เงินสามพันบาทถ้วน

  • ค่า ROLL up ไวนิลเรื่องโรคความดันโลหิตสูง (ขนาด 85ซม.x 200 ซม.) จำนวน 1 ชุดๆ ละ3,000.- บาทรวมเป็นเงิน 3,000.- บาท (เงินสามพันบาทถ้วน

  • วงล้อปิงปอง 7 สี ขนาดกลาง (36 ซม. ) จำนวน1ชุดๆ ละ2,000 บาท รวมเป็นเงิน 2,000.- บาท ( เงินสองพันบาทถ้วน )

  • วงล้อประเมินดัชนีมวลกาย ขนาดเส้นผ่าศูนย์ 55 ซม. จำนวน 1 ชุดๆ ละ2,200.- บาทรวมเป็นเงิน 2,200.- บาท (เงินสองพันสองร้อยบาทถ้วน )

  • ตลับวัดรอบเอวและดัชนีมวลกายจำนวน4 ชุดๆ ละ200 บาท รวมเป็นเงิน 800.-บาท(เงินแปดร้อยบาทถ้วน )

  • ค่าที่พักในการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้คนละ500 บาท จำนวน 70 คน จำนวน 1 คืน เป็นเงิน 35,000 บาท(เงินสามหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

    • ค่าจ้างเหมารถบัสปรับอากาศจำนวน 2 วันๆละ 12,500 บาท เป็นเงิน 25,000บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง และแกนนำ อสม.ด้านควบคุมดรคไม่ติดต่อเรื้อรังเข้าร่วมอบรม จำนวน 60คน

2.ผู้เข้ารับการอบมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติและดูแลคนในครอบครัวและชุมชนได้ ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
168100.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปและคืนข้อมูลให้ชุมชนในการติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
สรุปและคืนข้อมูลให้ชุมชนในการติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปบรูบเล่ม รายงานผลการดำเนินกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 กันยายน 2566 ถึง 23 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รูบเล่มรายงานผลกิจกรรมดำเนินดครงการ  จำนวน 2 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 235,230.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปและกลุ่มอายุต่ำกว่า 35 ปี ที่มีความเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและมีความตระหนักในการควบคุมและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานโรคระบบหลอดเลือดหัวใจและสมอง

2.ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับรู้ข้อมูลสุขภาพของตนเองสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป


>