กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนเทศบาลตำบลตะโหมด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลตะโหมด

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลตะโหมด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่นับเป็นนวัตกรรมที่สำคัญในระบบสุขภาพของประเทศไทยในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของประชาชน โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญในการประสานงานองค์กรและภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อค้นหาปัญหาด้านสุขภาพและความต้องการของประชาชน ร่วมกันวางแผนและส่งเสริมให้เกิดการร่วมดำเนินกิจการด้านสุขภาพ และส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความตระหนักต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและสามารถดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง ซึ่งในการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพ จะมีคณะกรรมการจากหลายภาคส่วน เช่น ตัวแทนจากชุมชน ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุข ตัวแทนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ มาร่วมเป็นคณะกรรมการเพื่อบริหารจัดการกองทุนให้บรรลุวัตถุประสงค์และตอบสนองความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลตะโหมดได้ดำเนินการจัดกิจกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกตามนโยบายของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 และตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 นั้น เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ไม่เกินร้อยละ 20 ของเงินรายรับของกองทุนฯในแต่ละปีงบประมาณ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการบริหารจัดการกองทุน
2. เพื่อดำเนินการบริหารจัดการกองทุนฯให้มีประสิทธิภาพ
3. เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนฯ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯและอนุกรรมการกองทุนฯ ไตรมาสละ 1 ครั้ง รวม 4 ครั้ง,กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) จำนวน 2 ครั้ง,กิจกรรมที่ 3 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริการกองทุนฯและประชุมจัดทำแผนฯ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯและอนุกรรมการกองทุนฯ ไตรมาสละ 1 ครั้ง รวม 4 ครั้ง,กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) จำนวน 2 ครั้ง,กิจกรรมที่ 3 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริการกองทุนฯและประชุมจัดทำแผนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯและอนุกรรมการกองทุนฯ ไตรมาสละ 1 ครั้ง รวม 4 ครั้ง - ค่าตอบแทนการประชุมคณะกรรมการฯ จำนวน 21 คนๆละ 400บาท จำนวน 4 ครั้งเป็นเงิน33,600 บาท
- ค่าตอบแทนการประชุมคณะอนุกรรมการฯ จำนวน 5 คนๆละ 300 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน6,000บาท - ค่าอาหารว่าง เป็นเงิน2,600บาท รวมเป็นเงิน 42,200บาท กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) จำนวน 2 ครั้ง - ค่าตอบแทนการประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(LTC) จำนวน 10 คนๆละ 300 บาท จำนวน 2 ครั้งเป็นเงิน6,000บาท - ค่าอาหารว่างเป็นเงิน 500บาท
รวมเป็นเงิน 6,500บาท กิจกรรมที่ 3 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริการกองทุนฯและประชุมจัดทำแผนฯ - ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยายให้ความรู้ จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน3,600บาท - ค่าอาหารว่าง 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 40 คน เป็นเงิน2,000บาท - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 70 บาท จำนวน 40 คน เป็นเงิน2,800บาท - ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง(ค่าป้ายกองทุนฯ/ป้าย LTC) ฯลฯ เป็นเงิน 1,987บาท รวมเป็นเงิน 10,387บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 59,087บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
59087.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 59,087.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. การบริหารจัดการกองทุน เป็นไปอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ
2. คณะกรรมการ และคณะทำงานกองทุนมีศักยภาพในการปฏิบัติงาน


>