กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองบ้านพรุ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหารสด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองบ้านพรุ

งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

เทศบาาลเมืองบ้่านพรุ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร

 

12.00

อาหารคือปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ แต่หากอาหารที่บริโภคนั้นมีสารที่เป็นอันตรายปนเปื้อนก็อาจก่อให้เกิดพิษภัยกับผู้ที่บริโภคได้การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัย ไข้เจ็บโดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน จากการตรวจสอบในพื้นที่พบว่าในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุมีตลาดและร้านค้าที่จำหน่ายอาหารสดอยู่มาก ซึ่งหากมีสารปนเปื้อนในอาหารก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนได้ การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรงไม่เกิดการเจ็บป่วยจากอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญ
การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ ประกอบกับจากการตรวจอาหารสดในตลาดเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุในปี ๒๕65 ปรากฎว่าพบสารปนเปื้อนบางชนิด จึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย เทศบาลเมืองบ้านพรุจึงได้จัดทำ “โครงการเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหารสด ประจำปี ๒๕66” ขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหารให้ปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อน 5 ชนิดได้แก่ สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลินสารกันราสารฟอกขาวและสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ และเพื่อเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสม อันจะส่งผลให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองด้านอาหาร ตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.๒๕๒๒ และการบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6  ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร ลดลงเหลือ

12.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าป้ายไวนิลบริโภคอาหารปลอดภัย ขนาด ๑.2 ม. X 2.4 ม. เป็นเงิน 4,800 บาm ค่าแผ่นพับเรื่อง เลือกซื้ออาหารอย่างไรให้ปลอดภัยจากสารปนเปื้อน เป็นเงิน 9,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได้รับความรู้เรื่องอาหารปลอดภัยจากสารปนเปื้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13800.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากรอบรมผู้ประกอบการ (จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรม คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ จำนวน 50 ชุด ๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าวัสดุในการอบรม เป็นเงิน 10,000 บาท
  1. กิจกรรมตรวจร้านจำหน่ายอาหาร
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 16 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดอบรมแแกนนำเฝ้าระวังสารปนเปื้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจร้านจำหน่ายอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจร้านจำหน่ายอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร
    ค่าชุดตรวจสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (SI-2) จำนวน2 ชุดเป็นเงิน 1,600 บาท ค่าชุดทดสอบบอแรกซ์จำนวน 1 กล่อง เป็นเงิน214 บาท ค่าชุดทดสอบสารกันรา จำนวน 3 กล่อง เป็นเงิน720 บาท ค่าชุดทดสอบสารฟอกขาวจำนวน 2 กล่อง เป็นเงิน370 บาท ค่าชดทดสอบฟอร์มาลินจำนวน 100 กล่อง เป็นเงิน 5,000 บาท ค่าชุดทดสอบสารโพลาร์ จำนวน 3 กล่องเป็นเงิน 2,700 บาท ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เป็นเงิน 7,596 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2566 ถึง 8 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาาชนในพื้นที่ได้รับการคุ้มครองดูแลสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18200.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 กันยายน 2566 ถึง 15 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รูปเล่มรายงานสรุปผลโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการคุ้มครองดูแลสุขภาพ บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อน ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม ปลอดภัย
2. เกิดการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารสดที่จำหน่ายในพื้นที่
3. ลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายและโรคภัยไข้เจ็บที่มีสาเหตุอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัยของประชาชน


>