กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหารสด
รหัสโครงการ 66-L5278-0-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 28 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เทศบาลเมืองบ้านพรุ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 ม.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 50,000.00
รวมงบประมาณ 50,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร
12.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารคือปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ แต่หากอาหารที่บริโภคนั้นมีสารที่เป็นอันตรายปนเปื้อนก็อาจก่อให้เกิดพิษภัยกับผู้ที่บริโภคได้การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัย ไข้เจ็บโดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน จากการตรวจสอบในพื้นที่พบว่าในเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุมีตลาดและร้านค้าที่จำหน่ายอาหารสดอยู่มาก ซึ่งหากมีสารปนเปื้อนในอาหารก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนได้ การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรงไม่เกิดการเจ็บป่วยจากอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญ การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ ประกอบกับจากการตรวจอาหารสดในตลาดเขตเทศบาลเมืองบ้านพรุในปี ๒๕65 ปรากฎว่าพบสารปนเปื้อนบางชนิด จึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย เทศบาลเมืองบ้านพรุจึงได้จัดทำ “โครงการเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในอาหารสด ประจำปี ๒๕66” ขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและประกันคุณภาพของอาหารให้ปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อน 5 ชนิดได้แก่ สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลินสารกันราสารฟอกขาวและสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ และเพื่อเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสม อันจะส่งผลให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองด้านอาหาร ตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.๒๕๒๒ และการบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6  ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร ลดลงเหลือ

12.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 กิจกรรมประชาสัมพันธ์(1 ม.ค. 2566-30 ม.ค. 2566) 13,800.00                  
2 กิจกรรมอบรม(2 ก.พ. 2566-2 ก.พ. 2566) 18,000.00                  
3 กิจกรรมตรวจร้านจำหน่ายอาหาร(3 มี.ค. 2566-30 เม.ย. 2566) 18,200.00                  
4 สรุปผลโครงการ(29 ก.ย. 2566-29 ก.ย. 2566) 0.00                  
รวม 50,000.00
1 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 13,800.00 1 8,458.00
1 - 30 ม.ค. 66 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 0 13,800.00 8,458.00
2 กิจกรรมอบรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 18,000.00 0 0.00
16 ก.พ. 66 - 16 ก.พ. 65 กิจกรรมอบรม 0 18,000.00 -
3 กิจกรรมตรวจร้านจำหน่ายอาหาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 18,200.00 1 10,404.00
3 มี.ค. 66 - 4 เม.ย. 66 กิจกรรมตรวจร้านจำหน่ายอาหาร 0 18,200.00 10,404.00
4 สรุปผลโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 0 0.00
29 ก.ย. 66 สรุปผลการดำเนินโครงการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการคุ้มครองดูแลสุขภาพ บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อน ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม ปลอดภัย
  2. เกิดการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารสดที่จำหน่ายในพื้นที่
  3. ลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายและโรคภัยไข้เจ็บที่มีสาเหตุอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัยของประชาชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2565 21:36 น.