กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองบ้านพรุ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริโภคปลอดภัย ใส่ใจสัญลักษณ์ Clean Food Good Taste

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองบ้านพรุ

งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

เทศบาลเมืองบ้านพรุ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

8.00

อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ความปลอดภัยของอาหารที่บริโภคจึงมีความสำคัญเนื่องจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้บริโภคโดยตรงและพบว่าประชาชนไม่น้อย ที่ป่วยด้วยโรคที่มีอาหารเป็นสื่อ ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพประชาชน รวมถึงเศรษฐกิจ และภาพลักษณ์ของพื้นที่เองนอกจากนี้เพื่อให้ประชาชนและผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย ทั้งอาหารสดและอาหารปรุงจำหน่ายจากสถานประกอบการจำหน่ายอาหารที่ได้มาตรฐานฉะนั้นการพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหาร โดยเฉพาะในส่วนของอาหารปลอดภัยตามเกณฑ์มาตรฐาน อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) จึงเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จส่วนหนึ่งของนโยบายที่ตั้งไว้
จากการดำเนินงานที่ผ่านมา มีเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 57 ร้าน ผ่านการประเมิน 5๗ ร้าน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีร้านที่ผ่านด้านกายภาพ จำนวน 51 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 89.47 ไม่ผ่านด้านกายภาพ 6 ร้านคิดเป็นร้อยละ 14.67ด้วยเหตุผลดังกล่าวเทศบาลเมืองบ้านพรุจึงเล็งเห็นความสำคัญที่จะตอบสนองความต้องการของประชาชนในการได้รับความคุ้มครองด้านการบริโภคอาหาร และเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เป็นพื้นฐานในการที่จะพัฒนาร้านจำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) เทศบาลเมืองบ้านพรุจึง จัดทำ “โครงการบริโภคปลอดภัย ใส่ใจสัญลักษณ์ Clean Food Good Taste” ประจำปี ๒๕66 ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาร้านจำหน่ายอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคจากการบริโภคอาหารและน้ำดื่มของประชาชนในพื้นที่และส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัย (Food safety) ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร

ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย ลดลงเหลือ

8.00 6.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลบริโภคอาหารปลอดภัย ขนาด ๑.2 ม. X 2.4 ม. เป็นเงิน 4,800 บาท
  • ค่าแผ่นพับเรื่อง อาหารปลอดภัย เป็นเงิน 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รับข่าวสารและความรู้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9800.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากรอบรมผู้ประกอบการ (จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท) เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรม คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ จำนวน 70 ชุด ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม คณะทำงานและเจ้าหน้าที่จำนวน 140 ชุด ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าวัสดุในการอบรม เป็นเงิน 10,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มีนาคม 2566 ถึง 17 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รับความรู้และสามารถดำเนินงานตามมาตฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมตรวจร้านจำหน่ายอาหาร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจร้านจำหน่ายอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าชุดตรวจสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (SI-2) จำนวน4 ชุด เป็นเงิน 2,400 บาท
  • ค่าวัสดุในการตรวจ เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าป้ายรับรอง Clean Food Good Taste เป็นเงิน10,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในโครงการ เป็นเงิน5,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 สิงหาคม 2566 ถึง 25 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้านอาหารผ่านการรับรองมาตรฐาน อาหารสะอาด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20200.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กันยายน 2565 ถึง 23 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รูปเล่มสรุปผลโครกงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการคุ้มครองดูแลสุขภาพ บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม ปลอดภัย
2. ร้านอาหารได้มาตรฐานตามโครงการ อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)


>