กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริโภคปลอดภัย ใส่ใจสัญลักษณ์ Clean Food Good Taste
รหัสโครงการ 66-L5278-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 28 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 ม.ค. 2566 50,000.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 50,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย
8.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ความปลอดภัยของอาหารที่บริโภคจึงมีความสำคัญเนื่องจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้บริโภคโดยตรงและพบว่าประชาชนไม่น้อย ที่ป่วยด้วยโรคที่มีอาหารเป็นสื่อ ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพประชาชน รวมถึงเศรษฐกิจ และภาพลักษณ์ของพื้นที่เองนอกจากนี้เพื่อให้ประชาชนและผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัย ทั้งอาหารสดและอาหารปรุงจำหน่ายจากสถานประกอบการจำหน่ายอาหารที่ได้มาตรฐานฉะนั้นการพัฒนาเพื่อยกระดับมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหาร โดยเฉพาะในส่วนของอาหารปลอดภัยตามเกณฑ์มาตรฐาน อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) จึงเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จส่วนหนึ่งของนโยบายที่ตั้งไว้ จากการดำเนินงานที่ผ่านมา มีเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 57 ร้าน ผ่านการประเมิน 5๗ ร้าน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีร้านที่ผ่านด้านกายภาพ จำนวน 51 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 89.47 ไม่ผ่านด้านกายภาพ 6 ร้านคิดเป็นร้อยละ 14.67ด้วยเหตุผลดังกล่าวเทศบาลเมืองบ้านพรุจึงเล็งเห็นความสำคัญที่จะตอบสนองความต้องการของประชาชนในการได้รับความคุ้มครองด้านการบริโภคอาหาร และเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เป็นพื้นฐานในการที่จะพัฒนาร้านจำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) เทศบาลเมืองบ้านพรุจึง จัดทำ “โครงการบริโภคปลอดภัย ใส่ใจสัญลักษณ์ Clean Food Good Taste” ประจำปี ๒๕66 ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาร้านจำหน่ายอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคจากการบริโภคอาหารและน้ำดื่มของประชาชนในพื้นที่และส่งผลให้เกิดความสำเร็จในการดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัย (Food safety) ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร

ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย ลดลงเหลือ

8.00 6.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : ลดสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

5 - 30 ม.ค. 66 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 0.00 9,800.00 -
10 มี.ค. 66 กิจกรรมอบรม 0.00 20,000.00 -
4 - 25 ส.ค. 66 กิจกรรมตรวจร้านจำหน่ายอาหาร 20,200.00 -
29 ก.ย. 66 สรุปผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 0.00 0.00 -
5 - 30 ม.ค. 66 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ 50.00 9,800.00 -
2 พ.ค. 66 - 2 ก.พ. 66 กิจกรรมอบรม 50.00 20,000.00 -
5 - 30 ส.ค. 66 กิจกรรมตรวจร้านจำหน่ายอาหาร 50.00 20,200.00 -
29 ก.ย. 66 สรุปผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ 0.00 0.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการคุ้มครองดูแลสุขภาพ บริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม ปลอดภัย
  2. ร้านอาหารได้มาตรฐานตามโครงการ อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2565 22:24 น.