กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

สำนักเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.บานา

องค์การบริหารส่วนตำบลบานา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การบริหารจัดการและการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนมากที่สุดมีการบริหารจัดการกองทุนฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ร่วมกำหนดแนวทางการดำเนินงานโดยกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ซึ่งสามารถจัดการปัญหาด้านสุขภาพในระดับท้องถิ่นที่ได้นั้นคณะกรรมการกองทุนและแกนนำชุมชนสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจ สามารถนำมาเสนอจัดทำโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพ และรู้บทบาทของคณะบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อให้สามารถศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาและร่วมกันวางแผนในการแก้ไขปัญหาของกลุ่มได้อย่างเป็นระบบ
ดังนั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานาจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา ขึ้นเพื่อให้การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเกิดประสิทธิผลกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบานาเพื่อดูการดำเนินงานด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นวิทยาศาสตร์เชิงเกษตรและจัดการสุขภาพที่ได้รับการสนับสนุนดำเนินงานจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หาประสบการณ์จากกองทุนต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน

มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)

25.00
2 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน

1.กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า  90 %
2.กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลสามารถออกเงินสนับสนุนโครงการแก่ผู้รับทุน  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

25.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 25

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/09/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุน ปี2566

ชื่อกิจกรรม
คัดเลือกและแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุน ปี2566
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมคัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน2คนและ คัดเลือกผู้แทนของศูนย์ประสานหลักประกันสุขภาพประชาชน

2.ประชุมคัดเลือกผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชนจำนวน5คน

3.ประชุมคัดเลือกเห็นชอบผู้ทรงคุณวุติในท้องถิ่นจำนวน2คน

-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน30คน X35 บาท X3ครั้ง เป็นเงิน 3,150.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ตุลาคม 2565 ถึง 21 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3150.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ค่าตอบแทนในการประชุมคณะกรรมบริหารกองทุนฯและที่ปรึกษา จำนวน 20 คน X 400 X 11 ครั้ง เป็นเงิน 88,000.-บาท

2.2 ค่าตอบแทนในการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ จำนวน 5 คน X 300 X 2 ครั้ง เป็นเงิน3,000.-บาท

2.3 ค่าตอบแทนในการประชุมคณะอนุกรรมการกองทุน LTC จำนวน 10 คนX 300 X 3 ครั้ง เป็นเงิน 9,000.- บาท

2.4 ค่าวัสดุสำนักงานต่างๆ เช่น วัสดุสำนักงาน ,ถ่ายเอกสาร ( ตามไตรมาส 3 และ 4)เป็นเงิน10,675.-บาท

2.5 ค่าครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 23,000.-บาท

2.6 ค่าครุภัณฑ์เครื่องเสียงห้องประชุมเป็นเงิน64,500.-บาท

2.7 ค่าจัดซื้อโต๊ะประชุมเป็นเงิน32,800.-บาท

2.8 ค่าจัดเตรียมเอกสารสรุปผลการประชุม หรือบันทึกข้อมูล การเงิน โครงการกิจกรรมลงในโปรแกรมของคณะทำงาน จำนวน2 คน X 400 X 10 ครั้ง เป็นเงิน 8,000.-บาท

2.9 ค่าปฏิบัตินอกเวลาของเจ้าหน้าที่ในสำนักเลขานุการกองทุนฯ เป็นเงิน 9,600.-บาท

2.10 ค่าจัดทำแผนสุขภาพชุมชนตำบลบานา กองทุนฯ ปี2566เป็นเงิน 30,000.-บาท

2.11 ค่าตอบแทนคณะกรรมการติดตามโครงการฯเป็นเงิน 6,600.-บาท

2.10 ร่วมประชุมอบรมโดยสปสช.หรือหน่วยงานอื่นที่จัดอบรมเป็นเงิน14,170.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
309345.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้คณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และที่ปรึกษา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้คณะกรรมการกองทุนฯ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และที่ปรึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท X 20 คน เป็นเงิน 1,000.- บาท

3.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท X 20 คน X 2 มื้อเป็นเงิน 1,400.- บาท

3.3 ค่าตอบแทนวิทยากร 5 ชม. X 600 บาท เป็นเงิน 3,000.- บาท

3.4.ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ 1 X 3 เมตรจำนวน1ผืน เป็นเงิน 750.- บาท

3.5 ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม เป็นเงิน 4,000.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 322,645.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นวิทยาศาสตร์เชิงเกษตรและการบริหารจัดการมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดทำโครงการ

2. กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบานาสามารถพัฒนาเป็นกองทุนฯต้นแบบของจังหวัดปัตตานี


>