กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรู้เท่าทัน ป้องกันไว้ก่อน ในยุคสังคมก้มหน้า ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสุไหงโกลก

อิศราภรณ์ อนุกูลประชา โทร.089-8412872
อาราฟัต ยูนุ
ชุติมา ขรรค์ชัยศักดิ์์
ซุไรดา ยูโซะ
รอบีอะห์ การี

โรงพยาบาลสุไหงโกลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในยุคของอิทธิพลแห่งโซเซียลมีเดีย พบว่าสมาร์ทโฟนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน จนแทบจะเป็นปัจจัยที่5 ของคนในทุกวันนี้ จนทำให้มีผู้ที่มารับบริการทางกายภาพบำบัดมีอาการปวดคอ บ่าเป็นจำนวนมากจากสถิติเมื่อเทียบในปี 2563 มีผู้มารับบริการ 35 คนต่อเดือน ในปี 2564 มีผู้มารับบริการ 52 คนต่อเดือน และในปี 2565 มีผู้มารับบริการ 77 คนต่อเดือน ซึ่งเห็นได้ว่ามีการเพิ่มขึ้นทุกปีจากการซักประวัติและทำการตรวจประเมินพบว่า ผู้คนส่วนใหญ่มีการใช้งานโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆเป็นระยะเวลานานๆ และอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติของโครงสร้างร่างกายและกล้ามเนื้อ โดยภาวะที่พบมากที่สุดคือ upper cross syndrome ทำให้แนวแอ่นของกระดูกสันหลังช่วงคอเพิ่มขึ้น(cervical lordosis) คอ คางและศีรษะจะยื่นไปข้างหน้า(forward head posture) ไหล่ห่อ(rounded shoulder) แนวแอนของกระดูกสันหลังช่วงอกโค้งนูนมากผิดปกติ(thoracic kyphosis) และกล้ามเนื้อเกิดความไม่สมดุลในการทำงาน(muscle imbalance)(1) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มีอาการปวดคอและไหล่
การป้องกันก่อนเกิดเหตุจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยื่ง โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียนที่ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อกำลังพัฒนา ยิ่งจะต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ในการปฏิบัติตัวเพื่อไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บจากการใช้ท่าทางที่ไม่ถูกต้องในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก รู้จักวิธีการดูแลตนเอง ไม่ให้เกิดอาการเจ็บปวดจากการเล่นโทรศัพท์มือถือ

อัตราความรู้ความเข้าใจในวิธีการดูแลตนเอง หลังเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า 80

60.00 80.00
2 เพื่อให้นักเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก ที่มีอาการผิดปกติของการทรงท่า มีลักษณะท่าทางการ ทรงท่าที่ดีขึ้น หลังได้รับการฝึก

อัตราการดีขึ้นของการทรงท่า หลังได้รับการฝึกไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

60.00 80.00

นักเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก มีอัตราความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับดี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
นักเรียนชั้นมัธยมต้น ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก 100

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รู้เท่าทัน ป้องกันไว้ก่อน ในยุคสังคมก้มหน้า

ชื่อกิจกรรม
รู้เท่าทัน ป้องกันไว้ก่อน ในยุคสังคมก้มหน้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จำนวน 100 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตน
2. การตรวจร่างกายเบื้องต้น
3. กิจกรรมฝึกปฏิบัติ
กำหนดการ
วันที่ 4 กรกฏาคม ๒๕๖๖
สถานที่จัด ห้องประชุมราชพฤกษ์ อาคารอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.01 – 10.00 น. office symdrome คืออะไร วิทยากร โดย คุณ รอบีอ๊ะ การี
10.01 – 12.00 น. ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังส่วนบน วิทยากร โดย คุณ ชุติมา ขรรค์ชัยศักดิ์
12.01 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
13.01 – 14.00 น. การป้องกันการเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและกระดูกสันหลังส่วนบน วิทยากร โดย คุณ วทันยา พงศธรกุล
14.01 – 15.00 น. การทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการทรงท่าที่ถูกต้อง วิทยากร โดย คุณ อาราฟัต ยูนุ
15.01 – 16.00 น. การออกกำลังกายเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการใช้ท่าทางและการทรงท่าที่ผิด วิทยากร โดย คุณ ซูไรดา ยูโซะ
16.01 น. ปิดการอบรม
หมายเหตุพักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา ๑๐.๓๐–๑๐.๔๕ น. และ เวลา ๑๔.๓๐–๑๔.๔๕ น.
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 100 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 100 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 6 ช.ม. เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าวัสดุ เช่น เอกสารการสอน ถุงผ้า ปากกา ถ้วยและแก้วกระดาษ ช้อนพลาสติก เสื่อโยคะออกกำลังกาย เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลกเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ / นักเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก มีความรู้ ความเข้าใจ ในการปฏิบัติตนเพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บปวดจากการเล่นโทณศัพท์มือถือเป็นเวลานาน / นักเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับดีระดับดี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,600.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก รู้จักวิธีการดูแลตนเอง ไม่ให้เกิดอาการเจ็บปวดจากการเล่นโทรศัพท์มือถือ
2. นักเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก ที่มีอาการผิดปกติของการทรงท่า มีลักษณะท่าทางการ ทรงท่าที่ดีขึ้น หลังได้รับการฝึก


>