กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้เท่าทัน ป้องกันไว้ก่อน ในยุคสังคมก้มหน้า ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L6961-1-39
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสุไหงโกลก
วันที่อนุมัติ 27 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 31 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 20,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อิศราภรณ์ อนุกูลประชา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในยุคของอิทธิพลแห่งโซเซียลมีเดีย พบว่าสมาร์ทโฟนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน จนแทบจะเป็นปัจจัยที่5 ของคนในทุกวันนี้ จนทำให้มีผู้ที่มารับบริการทางกายภาพบำบัดมีอาการปวดคอ บ่าเป็นจำนวนมากจากสถิติเมื่อเทียบในปี 2563 มีผู้มารับบริการ 35 คนต่อเดือน ในปี 2564 มีผู้มารับบริการ 52 คนต่อเดือน และในปี 2565 มีผู้มารับบริการ 77 คนต่อเดือน ซึ่งเห็นได้ว่ามีการเพิ่มขึ้นทุกปีจากการซักประวัติและทำการตรวจประเมินพบว่า ผู้คนส่วนใหญ่มีการใช้งานโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆเป็นระยะเวลานานๆ และอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติของโครงสร้างร่างกายและกล้ามเนื้อ โดยภาวะที่พบมากที่สุดคือ upper cross syndrome ทำให้แนวแอ่นของกระดูกสันหลังช่วงคอเพิ่มขึ้น(cervical lordosis) คอ คางและศีรษะจะยื่นไปข้างหน้า(forward head posture) ไหล่ห่อ(rounded shoulder) แนวแอนของกระดูกสันหลังช่วงอกโค้งนูนมากผิดปกติ(thoracic kyphosis) และกล้ามเนื้อเกิดความไม่สมดุลในการทำงาน(muscle imbalance)(1) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มีอาการปวดคอและไหล่
การป้องกันก่อนเกิดเหตุจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยื่ง โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียนที่ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อกำลังพัฒนา ยิ่งจะต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ในการปฏิบัติตัวเพื่อไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บจากการใช้ท่าทางที่ไม่ถูกต้องในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก รู้จักวิธีการดูแลตนเอง ไม่ให้เกิดอาการเจ็บปวดจากการเล่นโทรศัพท์มือถือ

อัตราความรู้ความเข้าใจในวิธีการดูแลตนเอง หลังเข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า 80

60.00 80.00
2 เพื่อให้นักเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก ที่มีอาการผิดปกติของการทรงท่า มีลักษณะท่าทางการ ทรงท่าที่ดีขึ้น หลังได้รับการฝึก

อัตราการดีขึ้นของการทรงท่า หลังได้รับการฝึกไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

60.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,600.00 1 20,600.00
1 พ.ค. 66 - 31 ก.ค. 66 รู้เท่าทัน ป้องกันไว้ก่อน ในยุคสังคมก้มหน้า 0 20,600.00 20,600.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก รู้จักวิธีการดูแลตนเอง ไม่ให้เกิดอาการเจ็บปวดจากการเล่นโทรศัพท์มือถือ
  2. นักเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโกลก ที่มีอาการผิดปกติของการทรงท่า มีลักษณะท่าทางการ ทรงท่าที่ดีขึ้น หลังได้รับการฝึก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2565 00:00 น.