กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรอง ติดตาม เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรอง ติดตาม เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

โรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)

1. นางสาววสี หวานแก้ว รักษาการในตำแหน่ง ผอ.รพ.ศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)
2. นางอรวรรณ์ ทวีโชติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
3. นางวาลินี คงสุข นักวิชาการสาธารณสุปปฏิบัติการ
4. นายจิรวัฒน์ รามจันทร์ พยาบาลวิชาชีพปฏบัติการ

พื้นที่ 7 หมู่บ้าน หมู่ที่ 1, 3, 5, 6, 8, 9 และ 11 ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

25.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

40.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

40.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

25.00 30.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

40.00 42.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

40.00 42.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 2,500
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 113
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/09/2022

กำหนดเสร็จ 31/10/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรองกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองกลุ่มเสี่ยง โดยมีการประชุมทีมทำงาน ประสานงานผู้นำชุมชน และตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพโดยการสัมภาษณ์ การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว ในประชาชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป ในหมู่ที่ 1, 3, 5, 6, 8, 9 และ 11 ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง จำนวน 2,500 คน

งบประมาณ
1. ค่าเอกสารแบบการคัดกรอง 2,500 ชุด x 1 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
2. ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 50 กล่อง x 374.50 เป็นเงิน 18,725 บาท
3. ค่าเครื่องชั่งน้ำหนักมวลกาย จำนวน 1 เครื่อง x 2,500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 กันยายน 2565 ถึง 21 กันยายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. ได้ประชาชน อายุ 35 ปี ขึ้นไป ในเขตรับผิด 7 หมู่บ้าน มาเข้าร่วมคัดกรองภาวะสุขภาพ จำนวน 2,500 คน
2. ได้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จำนวน 113 คน 3. ได้ อสม. แกนนำเป็นทีมทำงานทุกหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

ผลลัพธ์
1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ที่เข้าถึงบริการและได้รับการคัดกรอง โดยใช้ HosXP ในการบันทึกข้อมูล 2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดซ้ำ และได้รับการติดตามระดับความดันโลหิตที่บ้าน โดยใช้ระบบ HosXP ในการบันทึกข้อมูล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23725.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตาม เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตาม เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตาม เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง
- ติตดามระยะ 1 เดือน (ติดตามกลุ่มเสี่ยงสงสัยป่วย) พบแพทย์ที่โรงพยาบาล
- ติดตามระยะ 3 เดือน (ติดตามกลุ่มเสี่ยงสูง) กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ติดตามโดยเจ้าหน้าที่/อสม. โดยวัดความดันที่บ้าน 7 วัน กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด
- ติตดามระยะ 6 เดือน (ติดตามกลุ่มเสี่ยง) โดย อสม. อย่างต่อเนื่อง

งบประมาณ
1. ค่าปากกา จำนวน 10 ด้าม x 5 x 7 หมู่บ้านเป็นเงิน 350 บาท
2. ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 4 เครื่อง x 3,500 บาท เป็นเงิน 14,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 กันยายน 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. ได้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จำนวน 113 คน 3. ได้ อสม. แกนนำเป็นทีมทำงานทุกหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ

ผลลัพธ์
1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดซ้ำ และได้รับการติดตามระดับความดันโลหิตที่บ้าน โดยใช้ระบบ HosXP ในการบันทึกข้อมูล ได้รับการติดตาม 3 ระยะ คือ
- ติตดามระยะ 1 เดือน (ติดตามกลุ่มเสี่ยงสงสัยป่วย) พบแพทย์ที่โรงพยาบาล
- ติดตามระยะ 3 เดือน (ติดตามกลุ่มเสี่ยงสูง) กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง ติดตามโดยเจ้าหน้าที่/อสม. โดยวัดความดันที่บ้าน 7 วัน กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด
- ติตดามระยะ 6 เดือน (ติดตามกลุ่มเสี่ยง) โดย อสม. อย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,075.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ความครอบคุลมการเข้าถึงบริการของกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงเบาวหาน และความดันโลหิตสูง
2. ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน/เสียชีวิตในกลุ่มเสี่ยงฯ


>