กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการตรวจคัดกรองตาต้อกระจกและความผิดปกติหรือความบกพร่องทางการมองเห็นของผู้สูงอายุตำบลบ้านนา

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองตาต้อกระจกและความผิดปกติหรือความบกพร่องทางการมองเห็นของผู้สูงอายุตำบลบ้านนา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

โรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)

1. นางสาววสี หวานแก้ว รักษาการในตำแหน่ง ผอ.รพ.ศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)
2. นางอรวรรณ์ ทวีโชติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
3. นางวาลินี คงสุข นักวิชาการสาธารณสุปปฏิบัติการ
4. นายจิรวัฒน์ รามจันทร์ พยาบาลวิชาชีพปฏบัติการ

อาคารเฉลิมพระเกียรติ 88 พรรษา หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง เช่น ตาต้อ กระจก เป็นต้น (คน)

 

100.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง

จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง ลดลง

100.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 100
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/09/2022

กำหนดเสร็จ 31/10/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองความผิดปกติด้านการมองเห็นแก่ผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้และตรวจคัดกรองความผิดปกติด้านการมองเห็นแก่ผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1,3,5,6,8,9 และ 11 จำนวน 100 คน
- ตรวจคัดกรองความผิดปกติด้านการมองเห็น (VA) ด้วย Snellen chart โดย อสม.
- ส่งต่อพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อเข้ารับการรักษา ในรายที่มีความผิดปกติของสายตา

งบประมาณ
1. ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้สูงอายุและผู้ดำเนินงาน จำนวน 100 คนๆ ละ 80 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 8,000 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้สูงอายุและผู้ดำเนินงาน จำนวน 100 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท
3. ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 1 x 3 เมตร เป็นเงิน 600 บาท
4. ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
5. ค่าตู้ไฟวัดสายตามองไกลระยะ 6 เมตร จำนวน 1 ตู้ๆ ละ 8,500 บาท เป็นเงิน 8,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 ตุลาคม 2565 ถึง 7 ตุลาคม 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1. ได้ประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่หมู่ที่ 1, 3, 5, 6, 8, 9 และ 11 จำนวน 100 คน ที่มีผลการคัดกรองสายตาโดย อสม.

ผลลัพธ์
1. ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรองความผิดปกติด้านการมองเห็น (VA) ด้วย Snellen chart
2. ผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรองแล้วพบความผิดปกติด้านการมองเห็นได้รับการส่งตัวเพื่อรักษาต่อตามระบบ
3. ผู้สูงอายุได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพตา การใช้สายตาอย่างถูกวิธี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีการใช้สายตาอย่างถูกวิธี หลีกเลี่ยงปัจจัยที่มีผลต่อการเสื่อมหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อสายตา
2. ผู้สูงอายุไม่มีอุปสรรคด้านการใช้ชีวิตประจำวัน จากข้อจำกัดจาการมองเห็น หรือปัญหาจากสายตา
3. ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองตาต้อกระจก
4. ผู้สูงอายุที่มีผลผิดปกติได้รับการส่งต่อและการรักษาทันท่วงที
5. อัตราตาบอดในโรคตาต้อกระจกของผู้สูงอายุลดลง
6. ผู้สูงอายุที่ได้รับการรักษาโรคตาต้อกระจกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
7. ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลโรคเกี่ยวกับตา


>