กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการบูรณาการความรู้สู่ชุมชนในส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไตเรื้อรัง และการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ประจำปี 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบูรณาการความรู้สู่ชุมชนในส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไตเรื้อรัง และการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

หน่วยงานแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

1. นางสาว กิรณา อรุณแสงสด โทร. 094-4281544

10 ชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถิติผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังรายใหม่ในเขตเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก ตั้งแต่ ปี 2563 - ปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น คือ 1,995 , 1,893, 1,797 และ 1,278 รายสาเหตจากการควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิตไม่ได้ มีผลทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ระยะฟอกไตเพิ่มขึ้น และมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การฟอกไตจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 2-3 แสนบาทต่อคนต่อปี ทำให้ประเทศสูญเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น การดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพื่อชะลอไตเสื่อม ชุมขน ผู้ดูแล ผู้ป่วย และทีมสุขภาพต้องมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยถึงจะสามารถชะลอการเสื่อมของไตได้ ดังนั้น ทีมดูแลผู้ป่วยจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพื่อชะลอไตเสื่อม จึงมีการจัดทำโครงการบูรณาการความรู้สู่ชุมชนในส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไตเรื้อรัง และการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ประจำปี 2566 นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ถึงสาเหตุการเกิดโรค ป้องกันโรคไตเรื้อรัง และการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
  • ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการ มีคะแนนทดสอบความรู้หลังการอบรม มากขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
40.00 70.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้
  • ร้อยละของผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีอัตราการชะลอไตเสื่อม eGFR ลดลงน้อบกว่า 5 ml/min/1.73 m2/yr ร้อยละ 60
40.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และ อสม. 60

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเสี่ยง ผู้ดูแลและผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 60 คน และคณะทำงาน 5 คน รวม 65 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ เรื่อง โครงการบูรณาการความรู้สู่ชุมชนในส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไตเรื้อรัง และการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ประจำปี 2566 วิทยากรโดยแพทย์ ถิรพล สินปรีชานนท์ อายุรแพทย์เฉพาะทางไต
- จัดโครงการเป็นระยะเวลา 1 วัน
กำหนดการ
08.30 น. – 09.00 น. ลงทะเบียนประชุม
09.00 น. – 09.30 น. พิธีเปิดโครงการ โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
09.30 น. – 10.00 น. ชี้แจงการจัดโครงการ โดยผู้รับผิดชอบโครงการ
10.00 น. – 11.00 น. บรรยาย “ความรู้เรื่องโรคไตเรื้อรัง” โดยอายุรแพทย์โรคไตโรงพยาบาลสุไหงโก- ลก
11.00 น. – 12.00 น. บรรยาย “Nutrition support for CKD patients” โดย นักกำหนดอาหาร
12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 น. – 14.00 น. ยา การบริหารยา และสมุนไพร โดยเภสัชกร โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
14.00 น. – 15.00 น. การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โดยนักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
15.00 น. – 16.00 น. การดูแลผู้ป่วย On HD และ CAPD และการดูแลผู้ป่วยติดเตียงโดยพยาบาลวิชาชีพ เฉพาะทางโรคไตเรื้อรัง
16.00 น. – 16.30 น. ประเมินและสรุปโครงการ
หมายเหตุ พักรับประทานอาหารว่าง เวลา 10.30-10.45 น. และเวลา 14.30-14.45 น.
งบประมาณ
- ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย 600 บาท x 5 ชม.= 3,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 65 คน = 3,900 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 65 คน x 2 มื้อ = 3,900 บาท
- ค่าวัสดุ ได้แก่ ค่าถ่ายเอกสาร วัสดุแลปอาหาร ถาดรองอาหาร เป็นต้น = 3,000 บาท
- ค่าโมเดลอาหารสาธิตสำหรับผู้ป่วยโรคไต = 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 เมษายน 2566 ถึง 17 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18300.00

กิจกรรมที่ 2 CKD สัญจร เพื่อให้กำลังใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
CKD สัญจร เพื่อให้กำลังใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย คณะทำงาน 7 คน และ อสม. 20 คน รวม 27 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- กิจกรรมสัญจร เยี่ยมสถานบริการศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 และ 2 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วางแผนการเยี่ยมในชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่และอสม.
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 27 คน x 30 บาท x 2 ครั้ง = 1,620 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 เมษายน 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ดูแลผู้ป่วยในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1620.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย อสม. 6 ชุมชน ชุมชนละ 2 คน รวม 12 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- กิจกรรมเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านในชุมชน โดยประสาน อสม. ในพื้นที่ และลงเยี่ยมผู้ป่วยในชุมชน 3 ครั้ง (1วันเยี่ยม 2 ชุมชน)
งบประมาณ
- ค่าตอบแทน อสม. 50 บาท x 2 คน x 3 ครั้ง = 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังสามารถชะลอการเสื่อมของไตไได้
  2. ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีระดับความดันโลหิตน้อยกว่า 140/90 มม.ปรอท
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
300.00

กิจกรรมที่ 4 รังสรรค์อาหารพื้นบ้านสู่เมนูรักษ์ไต

ชื่อกิจกรรม
รังสรรค์อาหารพื้นบ้านสู่เมนูรักษ์ไต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ชุมชนบ้านตันหยงมะลิและชุมชนสวนมะพร้าว (กลุ่มเสี่ยงโรคไต) จำนวน 40 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- ประกวดเมนูอาหารรักษ์ไต
- เดินวนเรียนรู้เรื่องอาหารฐานอาหารหวาน มัน เค็ม ผักและผลไม้
- เล่นเกมจับคู่ฐานอาหารที่เหมาะกับโรค
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.01 - 12.00 น. กิจกรรมเรียนรู้เรื่องอาหาร 4 ฐาน (ฐานอาหารหวาน มัน เค็ม ผักและผลไม้)
ประกวดเมนูอาหารรักษ์ไต และกิจกรรมเล่นเกมจับคู่ฐานอาหารที่เหมาะกับโรค
งบประมาณ
- ค่าวิทยากรกลุ่ม กลุ่มละ 1 คน x 300 บาท x 4 กลุ่ม x 3 ชม. = 3,600 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 40 คน x 2 ครั้ง = 2,400 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ ค่ากระดาษชาร์ตแข็งในการทำเกมจับคู่ ป้ายฐานเรียนรู้เรื่องอาหาร ค่าถาดใส่อาหาร ช้อน และแก้วน้ำใช้แล้วทิ้ง เป็นต้น = 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ชุมชนสามาถผลิตอาหารที่มีคุณภาพป้องกันการเกิดโรคไต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,220.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ถึงสาเหตุการเกิดโรค การป้องกันโรคไตเรื้อรัง และการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมากขึ้น
2. ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในชุมชนสามารถดูแลตนเองและชะลอไตเสื่อมได้


>