กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ขุนตัดหวาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ขุนตัดหวาย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลขุนตัดหวาย

นางวัชรีไพตรีจิตต์
นางอัญชลีนิลรัตน์
น.ส.รัชนีแก้วทอง
นางรีเย๊าะวิชัยดิษฐ
น.ส.รอหน๊ะบูดี

ตำบลขุนตัดหวายอำเภอจะนะจังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

3,037.00

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยในปัจจุบัน ซึ่งจากสถิติพบว่ามีการแพร่ระบาดทั่วทุกหมู่บ้านในเขตเมืองและเขตชนบท เป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประเทศในปี2565อำเภอจะนะจังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน36รายคิดเป็นอัตราป่วย36.81ต่อแสนประชากรไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตโดยกลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ อายุ 10-14 ปี อาชีพที่พบสูงสุดคือ เด็กในปกครองและนักเรียนการพิจารณาตามหลักระบาดวิทยา จะมีการระบาดใหญ่เป็นปีเว้นปีหรือปีเว้นสองปี ซึ่งคาดการณ์ได้ว่าในปี 2566 อาจเป็นปีที่มีการระบาดใหญ่ของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อีกครั้ง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขุนตัดหวายอำเภอจะนะจังหวัดสงขลามีหมู่บ้านที่รับผิดชอบทั้งหมด 9 หมู่บ้านจำนวน 754 หลังคาเรือนโรงเรียน 4 แห่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง ปอเนาะ2แห่งวัด 1 แห่งมัสยิด7แห่งจากข้อมูลรายงาน 506 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 – 30 กันยายน 2565 ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกถึงแม้ไม่มีผู้ป่วยแต่ดัชนี้ลูกน้ำยุงลาย ทั้ง HI และ CI เกินค่ามาตรฐาน ทุกปีชุมชนได้ดำเนินการกิจกรรม ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในชุมชนร่วมดำเนินการในรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและควบคุมโรคกรณีมีผู้ป่วย จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนยังเกินค่ามาตรฐาน (CI ≤10) ภาชนะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายส่วนใหญ่ เป็นภาชนะเหลือใช้บริเวณรอบบ้าน เช่น ยางรถยนต์ แก้วน้ำพลาสติก ขวดน้ำ เป็นต้น และยังพบว่าประชาชนในบางครัวเรือนยังขาดความตระหนักการจัดสภาพแวดล้อมทั้งในบ้านและรอบบ้านให้เรียบร้อย และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำที่บ้านของตนเองอย่างสม่ำเสมอจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ได้ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากโรคไข้เลือดออก จึงจัดโครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2566 ขึ้น เพื่อดำเนินงานป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ โดยเน้นให้ชุมชนประชาชนโรงเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ช่วยลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านส่งผลให้อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในตำบลขุนตัดหวายลดลง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประชุมทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วหารือแนวทางการปฏิบัติงานมาตรการควบคุมโรคที่ถูกต้อง

มีจำนวนแนวทางและมาตรการป้องกันควบคุมโรคของทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วในชุมชน

0.00
2 เพื่อลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชน (CI) ไม่เกินร้อยละ 10

ลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชนไม่เกินร้อยละ 10

18.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,037
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2022

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วตำบล

ชื่อกิจกรรม
ประชุมทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วตำบล(SRRT ตำบล) -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน47คนๆ ละ1มื้อๆ ละ25บาทเป็นเงิน 1,175บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2565 ถึง 30 พฤศจิกายน 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแนวทางและมาตรการป้องกันควบคุมโรคของทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1175.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์และควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์และควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ร่วมกับ อสม. ดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคในชุมชน ได้แก่ การให้ความรู้สุขศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงกำจัดลูกน้ำยุงลาย อสม.รณรงค์สำรวจลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในครัวเรือนและชุมชน โดยวิธีทางกายภาพ และทางเคมี โดยใช้สารเคมีกำจัดลูกน้ำในภาชนะที่ไม่สามารถปิดได้หรือใส่ปลากินลูกน้ำได้ ปีละ 12 ครั้ง
  • กรณีมีผู้ป่วยในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ดำเนินการฉีดพ่นหมอกควัน/ละอองฝอยกำจัดยุงตัวแก่ ดำเนินการใส่สารเคมีกำจัดลูกน้ำ ใช้โลชั่นกันยุงทาตัวผู้ป่วย ใช้สเปรย์กระป๋องฉีดพ่นกำจัดยุงภายในบ้าน เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
  • เจ้าหน้าที่ดำเนินการพ่นหมอกควัน/ละอองฝอยในโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ก่อนเปิดเทอมปีละ 2 ครั้ง
  • ค่าจ้างพ่นหมอกควันเป็นเงิน6,000บาท
  • ค่าถ่ายเอกสารแบบสำรวจลูกน้ำยุงลายจำนวน600แผ่นๆ ละ0.50 บาท เป็นเงิน300 บาท
  • ค่าน้ำมัน 2Tเป็นเงิน200บาท
  • ค่าน้ำมันดีเซล เป็นเงิน 4,000บาท
  • ค่าน้ำมันเบนซิน เป็นเงิน2,000บาท
  • ค่าสเปรย์ฉีดยุง เป็นเงิน1,200บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชนไม่เกินร้อยละ 10  ,ค่า CI  ในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เท่ากับ 0

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,875.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ทุกหลังคาเรือนทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย
2.ลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชนไม่เกินร้อยละ 10ในโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เท่ากับ ศูนย์
3.ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วทุกคนมีทราบแนวทางการปฏิบัติงานตามมาตรการควบคุมโรคที่ถูกต้อง
4.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตเทศบาลลดลง


>