กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L5174-102-014
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลขุนตัดหวาย
วันที่อนุมัติ 9 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2566
งบประมาณ 14,875.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวัชรี ไพตรีจิตต์
พี่เลี้ยงโครงการ นายธนพนธ์ จรสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลขุนตัดหวาย อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.795876,100.703473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3037 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
3,037.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขของไทยในปัจจุบัน ซึ่งจากสถิติพบว่ามีการแพร่ระบาดทั่วทุกหมู่บ้านในเขตเมืองและเขตชนบท เป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประเทศในปี2565อำเภอจะนะจังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน36รายคิดเป็นอัตราป่วย36.81ต่อแสนประชากรไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตโดยกลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือ อายุ 10-14 ปี อาชีพที่พบสูงสุดคือ เด็กในปกครองและนักเรียนการพิจารณาตามหลักระบาดวิทยา จะมีการระบาดใหญ่เป็นปีเว้นปีหรือปีเว้นสองปี ซึ่งคาดการณ์ได้ว่าในปี 2566 อาจเป็นปีที่มีการระบาดใหญ่ของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่อีกครั้ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขุนตัดหวายอำเภอจะนะจังหวัดสงขลามีหมู่บ้านที่รับผิดชอบทั้งหมด 9 หมู่บ้านจำนวน 754 หลังคาเรือนโรงเรียน 4 แห่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 แห่ง ปอเนาะ2แห่งวัด 1 แห่งมัสยิด7แห่งจากข้อมูลรายงาน 506 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 – 30 กันยายน 2565 ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกถึงแม้ไม่มีผู้ป่วยแต่ดัชนี้ลูกน้ำยุงลาย ทั้ง HI และ CI เกินค่ามาตรฐาน ทุกปีชุมชนได้ดำเนินการกิจกรรม ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในชุมชนร่วมดำเนินการในรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและควบคุมโรคกรณีมีผู้ป่วย จากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่า ดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนยังเกินค่ามาตรฐาน (CI ≤10) ภาชนะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายส่วนใหญ่ เป็นภาชนะเหลือใช้บริเวณรอบบ้าน เช่น ยางรถยนต์ แก้วน้ำพลาสติก ขวดน้ำ เป็นต้น และยังพบว่าประชาชนในบางครัวเรือนยังขาดความตระหนักการจัดสภาพแวดล้อมทั้งในบ้านและรอบบ้านให้เรียบร้อย และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำที่บ้านของตนเองอย่างสม่ำเสมอจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ได้ตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนจากโรคไข้เลือดออก จึงจัดโครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ปี 2566 ขึ้น เพื่อดำเนินงานป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ โดยเน้นให้ชุมชนประชาชนโรงเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ช่วยลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านส่งผลให้อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในตำบลขุนตัดหวายลดลง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประชุมทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วหารือแนวทางการปฏิบัติงานมาตรการควบคุมโรคที่ถูกต้อง

มีจำนวนแนวทางและมาตรการป้องกันควบคุมโรคของทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วในชุมชน

0.00
2 เพื่อลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชน (CI) ไม่เกินร้อยละ 10

ลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชนไม่เกินร้อยละ 10

18.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,875.00 2 14,884.30
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 รณรงค์และควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน 0 13,700.00 13,709.30
1 - 30 พ.ย. 65 ประชุมทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วตำบล 0 1,175.00 1,175.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทุกหลังคาเรือนทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย 2.ลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายในชุมชนไม่เกินร้อยละ 10ในโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เท่ากับ ศูนย์ 3.ทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วทุกคนมีทราบแนวทางการปฏิบัติงานตามมาตรการควบคุมโรคที่ถูกต้อง 4.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตเทศบาลลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2565 11:20 น.