กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการหยุดยั้งฟันผุ ด้วยวิธี SMART ร่วมกับซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตตำบลกำแพง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหยุดยั้งฟันผุ ด้วยวิธี SMART ร่วมกับซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตตำบลกำแพง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลละงู

1.นางสาวภณิดา สิงห์อินทร์ ผู้ประสานงานคนที่ 1
2.นางสาวนุรรัยมีย์ แยบคาย ผู้ประสานงานคนที่ 2
3.นางสาวขัยรีหย๊ะ ชะยานัย
4 นางสาวจุฑาทิพย์ รอเกตุ
5 นายสันติชัย เข่งเงิน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตตำบลกำแพง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กปฐมวัย (อายุ3-5 ปี) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตตำบลกำแพง ที่มีปัญหาฟันผุ

 

74.25

โรคฟันผุเป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังที่พบมากในเด็ก และยังคงเป็นปัญหาทางทันตสาธารณสุขที่สําคัญของประเทศไทย จากผลการสํารวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 พบว่าเด็กไทยอายุ 3 ปี มีความชุกในการเกิดฟันผุ ร้อยละ 52.9 ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด (dmft) 2.8 ซี่/คน ซึ่งไม่ได้รับการรักษาคิดเป็นร้อยละ 52.0 ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการเจ็บปวดและการสูญเสียฟันน้ำนม เด็กอายุ 3 ปี ร้อยละ 2.3 มีประสบการณ์การสูญเสียฟันในช่องปาก นอกจากนั้นพบว่าเด็กในเขตภาคใต้มีความจำเป็นต้องได้รับบริการรักษาทางทันตกรรมมากที่สุด จากการสำรวจเด็กทั้งหมดในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงในปี พ.ศ. 2560 - 2564 จำนวน 6 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนไสน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าแลหลา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปากปิง ศูนย์พํฒนาเด็กเล็กบ้านปิใหญ่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝาง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตูแตหรำ พบฟันผุร้อยละ 72.6, 69.2, 53.04, 68.45 และ 74.25 ตามลำดับ เด็กอายุ 3 ปี มีค่าเฉลี่ยฟันผุประมาณ 3.42 ซี่ต่อคน จากข้อมูลดังกล่าวพบว่ามีอุบัติการณ์โรคฟันผุสูง และพบว่าเด็กส่วนใหญ่ไม่ได้รับการรักษาด้วยการอุดฟันหรือหยุดยั้งฟันผุ ทำให้มีฟันผุลุกลามจนทะลุโพรงประสาทฟัน เกิดอาการปวดทรมาน ทำให้เด็กไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ รับประทานอาหารได้น้อยลง เกิดภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการ การเจริญเติบโตของร่างกายและคุณภาพชีวิตของเด็ก

โรคฟันผุในเด็กเล็กสามารถป้องกันได้ด้วยการแปรงฟันให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอโดยผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก เพื่อลดการสะสมของคราบจุลินทรีย์ แต่เมื่อมีการผุจนสูญเสียแร่ธาตุและเนื้อฟันเป็นโพรงเกิดขึ้นแล้ว การรักษาจึงต้องเป็นการหยุดยั้งเพื่อไม่ให้ผุลุกลามไปสู่โพรงประสาทฟันจนมีอาการปวดได้ ซึ่งแนวทางการรักษาต้องเป็นการเก็บรักษาเนื้อฟันไว้ให้ได้มากที่สุด ควบคุมการสะสมของแผ่นคราบจุลินทรีย์ ก็จะช่วยให้เกิดการหยุดยั้งของรอยโรคโพรงฟันผุได้ เกิดเป็นรอยโรคฟันผุที่หยุดยั้ง (Arrested carious lesion) ซึ่งรอยผุมีลักษณะแข็งขึ้น การรักษาที่มีการเก็บรักษาเนื้อฟันให้ได้มากที่สุด (Non-invasive treatment or minimal invasive treatment) เช่น การใช้ฟลูออไรด์วาร์นิช ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ และบูรณะฟันด้วยวิธี Simplified and Modified Atraumatic Restoration Treatment (SMART) เป็นต้น
การอุดฟันโดยวิธี SMART เป็นเทคนิคการอุดฟันที่คิดค้นเพื่อใช้ในการบูรณะฟันในกรณีที่ไม่สามารถจัดบริการรักษาแบบปกติได้ บูรณะด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ มีคุณสมบัติปลดปล่อยฟลูออไรด์ ลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก เพิ่มการคืนกลับของแร่ธาตุ ควบคุมการลุกลามและการดำเนินของโรคฟันผุ ป้องกันการเกิดฟันผุซ้ำ ซึ่งประสิทธิผลในการบูรณะด้วยวิธีนี้มีประโยชน์ในการจัดการฟันน้ำนมผุลุกลามรุนแรงในเด็กเล็ก ใช้เครื่องมือพื้นฐานใช้มือ (Hand instrument) ในการอุดฟัน ให้อัตราความสำเร็จในการรักษาสูง การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ ของ De Amorim RG และคณะปี ค.ศ. 2012 พบอัตราการคงอยู่ของวัสดุประมาณร้อยละ 93 และ 62 ในการอุดฟันด้านเดียวและหลายด้าน ตามลำดับ และคงอยู่ร้อยละ 86 เมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี นอกจากนั้นเด็กที่ได้รับการรักษาวิธีนี้ไม่มีอาการปวดคิดเป็นร้อยละ 93 ประโยชน์ของการอุดฟันด้วยวิธี SMART คือ ค่าใช้จ่ายน้อย เจ็บปวดน้อย ลดความกังวลของเด็ก สามารถเก็บฟันไว้ได้โดยไม่ต้องถอน เป็นการให้บริการทันตกรรมเชิงรุก สามารถดำเนินการในชุมชนได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัย และแนะนำให้เลือกใช้ในกิจกรรมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ดี ซึ่งทางฝ่ายทันตสาธารณสุขได้ให้การรักษาวิธีการนี้แก่เด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงมาแล้วในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา พบว่าในปีที่ผ่านมา มีเด็กได้รับการรักษาด้วยวิธี SMART คิดเป็นร้อยละ 68.24 ของเด็กที่มีฟันผุ ภายหลังการรักษาเด็กไม่มีอาการปวดฟัน และมีอัตราการยึดติดของวัสดุร้อยละ 89.29 เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี ซึ่งให้ผลความสำเร็จค่อนข้างสูง

ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ (SDF) ความเข้นข้นร้อยละ 38 มีความสามารถในการหยุดยั้งฟันผุในชั้นเนื้อฟันได้ดี สารประกอบเงินมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และลดการย่อยสลายของคอลลาเจนในเนื้อฟันร่วมกับการคืนกลับแร่ธาตุโดยฟลูออไรด์ที่ผิวหน้าฟัน เกิดการแข็งตัวของเนื้อฟันในโพรงฟันผุ ลดอาการเสียวฟัน มีรายงานผลการศึกษาการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและ Meta-analysis ปี ค.ศ. 2019 พบว่าประสิทธิภาพการใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ ในการยับยั้งฟันผุในชั้นเนื้อฟันของฟันน้ำนมสูงถึงร้อยละ 81 และ 89 ข้อดีคือ ใช้งานง่าย สะดวก ไม่แพง ปลอดภัย ใช้เวลาในการรักษาไม่นาน ไม่ต้องกรอฟันให้เกิดเสียงที่ทำให้เด็กกลัว ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง และไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดขณะรักษาโดยเฉพาะในเด็ก จึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการป้องกันและหยุดยั้งฟันผุในเด็กเล็กที่มีข้อจำกัด หรือให้ความร่วมมือในการรักษาทางทันตกรรมน้อย แต่มีข้อคำนึงถึงประการหนึ่งคือ หลังการใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในการหยุดยั้งฟันผุลุกลามได้มีประสิทธิภาพนั้น จะมีการเปลี่ยนรอยผุบริเวณนั้นเป็นสีดำอย่างถาวร แต่อย่างไรก็ตาม สีดำที่เกิดขึ้นก็มีลักษณะคล้ายรอยผุหยุดยั้งตามธรรมชาติ การให้บริการทางทันตกรรมในระดับชุมชน จำเป็นต้องให้การรักษาเพื่อควบคุมการลุกลามของรอยโรคฟันผุ (Caries control) ในเวลา ค่าใช้จ่าย และทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่อย่างจำกัด ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์เป็นทางเลือกหนึ่งที่แนะนำในงานทันตสาธารณสุขชุมชน ในกลุ่มประชากรเด็กที่มีความเสี่ยงฟันผุสูง สำหรับในประเทศไทยมีแนวทางการใช้ฟลูออไรด์โดยทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2560 ได้มีการแนะนำให้ใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ที่รอยผุอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง จนกว่ารอยโรคจะหยุดผุ หรือเมื่อได้รับการบูรณะหรือฟันน้ำนมหลุดเองตามธรรมชาติ ซึ่งยังไม่มีการใช้มาก่อนในระดับชุมชนของพื้นที่อำเภอละงู
ดังนั้น กลุ่มงานทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลละงู จึงได้จัดทำโครงการหยุดยั้งฟันผุด้วยวิธี SMART ร่วมกับซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตตำบลกำแพง ซึ่งเป็นการต่อยอดโครงการฟันดี ยิ้มสวย เคี้ยวอร่อย ด้วยวิธี SMART ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เพื่อควบคุมการลุกลามของโรคฟันผุ ป้องกันการเกิดฟันผุซ้ำ และเป็นการดูแลรักษาอนามัยในช่องปากให้กับเด็กเล็กต่อไปได้อย่างต่อเนื่องและครอบคลุมมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อฟื้นฟูให้ความรู้และเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็กและครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กและครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็กเพิ่มขึ้น

80.00
2 เพื่อให้เด็กปฐมวัย เข้าถึงบริการทางทันตกรรมและได้รับการบูรณะฟันน้ำนมเพิ่มขึ้น

เด็กปฐมวัยในศพด. เขตตำบลกำแพง เข้าถึงบริการทางทันตกรรม ได้รับการตรวจฟัน การหยุดยั้งฟันน้ำนมผุและบูรณะฟันน้ำนมอย่างน้อยร้อยละ 90

90.00
3 เพื่อลดการผุลุกลามและหยุดยั้งฟันน้ำนมผุในเด็กปฐมวัย

ลดการสูญเสียฟันน้ำนม ลดอาการปวดฟันและลดการผุซ้ำในฟันกรามน้ำนมที่ได้รับการรักษาไปอย่างน้อยร้อยละ 60

60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 255
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/01/2023

กำหนดเสร็จ 31/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมด้านการส่งเสริมป้องกัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมด้านการส่งเสริมป้องกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย อบรมฟื้นฟูและให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็ก สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการบูรณะฟันด้วยวิธี SMART และการใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์หยุดยั้งฟันผุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หลักสูตร 1 วัน/ศพด.

เป้าหมาย ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 255 คน ประกอบด้วย
- ผู้ปกครอง ศพด.บ้านควนไสน จำนวน 50 คน
- ผู้ปกครอง ศพด.บ้านท่าแลหลา จำนวน 55 คน
- ผู้ปกครอง ศพด.บ้านป่าฝาง จำนวน 36 คน
- ผู้ปกครอง ศพด.บ้านปากปิง จำนวน 55 คน
- ผู้ปกครอง ศพด.บ้านตูแตหรำ จำนวน 29 คน
- ผู้ปกครอง ศพด.บ้านปิใหญ่ จำนวน 30 คน

เป้าหมาย ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 22 คน ประกอบด้วย
- ครูผู้ดูแลเด็ก ศพด.บ้านควนไสน จำนวน 4 คน
- ครูผู้ดูแลเด็ก ศพด.บ้านท่าแลหลา จำนวน 4 คน
- ครูผู้ดูแลเด็ก ศพด.บ้านป่าฝาง จำนวน 4 คน
- ครูผู้ดูแลเด็ก ศพด.บ้านปากปิง จำนวน 4 คน
- ครูผู้ดูแลเด็ก ศพด.บ้านตูแตหรำ จำนวน 3 คน
- ครูผู้ดูแลเด็ก ศพด.บ้านปิใหญ่ จำนวน 3 คน

รายละเอียดกิจกรรม
1.1.1 อบรมฟื้นฟูและให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็กและครูผู้ดูแลเด็กในศพด.
1.1.2 ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการบูรณะฟันด้วยวิธี SMART และการใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์หยุดยั้งฟันผุ
1.1.3 ฝึกปฏิบัติทักษะการแปรงฟัน แบบ Hand on ให้แก่ผู้ปกครองเด็กและครูผู้ดูแลเด็กในศพด.
1.1.4 สร้างกลุ่มไลน์สำหรับผู้ปกครองเพื่อติดตามผลการนำทักษะการแปรงฟันเด็กเล็กไปปฏิบัติจริง และเป็นช่องทางให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง

งบประมาณ
- ค่าวิทยากร (ไม่ขอเบิก)
- ค่าแบบทดสอบความรู้ในการเข้าอบรม จำนวน 255 x 1 ชุด x 2 บาท เป็นเงิน 510 บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ผืน ขนาด 1.5 x 3 เมตร เป็นเงิน 675 บาท
- ค่าวัสดุสาธิตการแปรงฟัน 30 x 255 คน เป็นเงิน 7,650 บาท
รวมเป็นเงิน 8,835 บาท

ศพด.บ้านควนไสน
- ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ 65 บาท x 54 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,510 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ 25 บาท x 54 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,700 บาท
รวมเป็นเงิน 6,210 บาท

ศพด.บ้านท่าแลหลา
- ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ 65 บาท x 59 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,835 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ 25 บาท x 59 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,950 บาท
รวมเป็นเงิน 6,785 บาท

ศพด.บ้านป่าฝาง
- ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ 65 บาท x 40 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,600 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ 25 บาท x 40 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท
รวมเป็นเงิน 4,600 บาท

ศพด.บ้านปากปิง
- ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ 65 บาท x 59 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,835 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ 25 บาท x 59 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,950 บาท
รวมเป็นเงิน 6,785 บาท

ศพด.บ้านตูแตหรำ
- ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ 65 บาท x 32 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,080 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ 25 บาท x 32 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,600 บาท
รวมเป็นเงิน 3,680 บาท

ศพด.บ้านปิใหญ่
- ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ 65 บาท x 33 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,145 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ 25 บาท x 33 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,650 บาท
รวมเป็นเงิน 3,795 บาท

รวมเป็นเงินทั้งหมด 40,690 บาท

ตารางจัดอบรมให้ความรู้ทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็กแก่ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก
วันที่ …………… เดือน ………………………. พ.ศ……………..
ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก………………………………………..

เวลา เรื่องวิทยากร/ผู้รับผิดชอบ/หน่วยงาน

๐๘.๐๐-๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมอบรม ทำแบบทดสอบก่อนการอบรม เจ้าหน้าที่ฝ่ายทันตสาธารณสุข รพ.ละงู

๐๙.๐๐-๐๙.๓๐ น. ชี้แจงรายละเอียดโครงการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายทันตสาธารณสุข รพ.ละงู

๐๙.๓๐-๑๐.๓๐ น. บรรยายเกี่ยวกับ - สถานการณ์โรคฟันผุในเด็กตำบลกำแพง- ฟันน้ำนมสำคัญอย่างไร? - อาหารที่ดีต่อสุขภาพช่องปาก วิทยากรจาก รพ.ละงู

๑๐.๓๐-๑๐.๔๕ น. รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มเจ้าหน้าที่ฝ่ายทันตสาธารณสุข รพ.ละงู

๑๐.๔๕-๑๒.๐๐ น. บรรยายเกี่ยวกับ - แนวทางในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก - เทคนิคการแปรงฟันในเด็กเล็ก วิทยากรจาก รพ.ละงู

๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น.พักรับประทานอาหารกลางวัน เจ้าหน้าที่ฝ่ายทันตสาธารณสุข รพ.ละงู

๑๓.๐๐-๑๔.๐๐ น. บรรยายเกี่ยวกับ - การบูรณะฟันด้วยวิธี SMART ในเด็กเล็ก และหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ วิทยากรจาก รพ.ละงู

๑๔.๐๐-๑๕.๐๐ น. ฝึกการตรวจฟัน/ฝึกแปรงฟันแบบ Hand onวิทยากรจาก รพ.ละงู

๑๕.๐๐-๑๕.๑๕ น. พักรับประทานอาหารว่าง เจ้าหน้าที่ฝ่ายทันตสาธารณสุข รพ.ละงู

๑๕.๑๕-๑๖.๐๐ น.ซักถามปัญหา ข้อสงสัยวิทยากรจาก รพ.ละงู

๑๖.๐๐-๑๖.๓๐ น.แบบทดสอบหลังการอบรม/นัดหมายเจ้าหน้าที่ฝ่ายทันตสาธารณสุข รพ.ละงู

หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มีนาคม 2566 ถึง 10 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็กได้รับความรู้และฟื้นฟูเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่เด็กเล็ก
  2. ผู้ปกครองเด็กได้รู้จักและเข้าใจการบูรณะฟันด้วยวิธี SMART และการใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์หยุดยั้งฟันผุในเด็กเล็ก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40690.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมด้านการรักษา/ฟื้นฟู

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมด้านการรักษา/ฟื้นฟู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1) กิจกรรมย่อย ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กเล็กทุกคน

เป้าหมาย

  • เด็กใน ศพด. จำนวน 255 คน

รายละเอียดกิจกรรม
2.1.1 นักเรียนใน ศพด. ทั้ง 6 แห่ง ได้รับการตรวจฟันจากทันตบุคลากร
2.1.2 วิเคราะห์ข้อมูลแยกกลุ่มเด็กที่ต้องได้รับการบูรณะฟันด้วยเทคนิค SMART และซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ร่วมด้วย
2.1.3 ทันตบุคลากรแจ้งผลการตรวจสุขภาพช่องปากของเด็กเล็กแก่ผู้ปกครอง และให้ใบแจ้งผลกรณีต้องรับการรักษาอื่นๆ เร่งด่วน/ต่อเนื่องที่รพ.สต. หรือรพ.

2.2) กิจกรรมย่อย ให้การบูรณะฟันด้วยวิธี SMART และหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในเด็กที่มีฟันน้ำนมผุและผู้ปกครองให้ความยินยอม

เป้าหมาย
- เด็กในศพด. จำนวน 255 คน

2.3) กิจกรรมย่อย ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพในช่องปาก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

2.4) กิจกรรมย่อย ส่งต่อไปรับการรักษาต่อกับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในกรณีเกินศักยภาพของผู้ปฏิบัติ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

รายละเอียดกิจกรรม

2.2.1 ทาง รพ. ประสานงานครูเพื่อดำเนินการอุดฟันให้นักเรียน
2.2.2 ผู้ปกครองของเด็กที่มีฟันผุต้องได้รับการหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ให้ความยินยอม
2.2.3 เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ ออกหน่วยให้การรักษา 2.2.4 ครูผู้ดูแลเด็กนัดผู้ปกครองเด็กเพื่อนำเด็กตามรายชื่อมารับการรักษาในวันและเวลาที่นัดหมาย
2.2.5 ให้บริการอุดฟันกรามน้ำนม ด้วยวิธี SMART และหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์แก่เด็กเล็กใน ศพด. ที่มีฟันน้ำนมผุ และทาฟลูออไรด์วาร์นิชแก่เด็กเล็กที่ไม่มีโพรงฟันผุแต่มีความเสี่ยงการเกิดฟันผุสูง

งบประมาณ
- วัสดุทางทันตกรรม ได้แก่
1.วัสดุอุด GI Fuji IX capsule x 5 กล่อง x 2,400 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท

2.Dentin conditioner 25 กรัม สำหรับวัสดุอุด GI 1 ขวด เป็นเงิน 950 บาท

3.ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ 5 มล. 1 ขวด เป็นเงิน 2,250 บาท

4.ถุงมือ จำนวน 10 กล่อง x 100 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

5.ค่าวัสดุอุดทันตกรรมอื่นๆ เป็นเงิน 2,000 บาท

6.ค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ จำนวน 10 วัน x 4 คน x 420 บาท เป็นเงิน 16,800 บาท
7.ค่าแบบยินยอมให้การรักษา จำนวน 255 x 1 ชุด x 1 บาท เป็นเงิน 255 บาท

รวมเป็นเงินทั้งหมด 35,255 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กปฐมวัย ในศพด. เขตตำบลกำแพง เข้าถึงบริการทางทันตกรรม ได้รับการตรวจฟัน การหยุดยั้งฟันน้ำนมผุและบูรณะฟันน้ำนมเพิ่มขึ้น
  2. สามารถลดฟันผุลุกลามและหยุดยั้งฟันน้ำนมผุในเด็กปฐมวัย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35255.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1) กิจกรรมย่อย สำรวจความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการบูรณะฟันด้วยวิธี SMART และหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในเด็กเล็ก พร้อมประมวลผล

เป้าหมาย
- ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 255 คน

รายละเอียดกิจกรรม
3.1.1 ผู้ปกครองของเด็กที่ได้รับการบูรณะฟันน้ำนมด้วยวิธี SMART และหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ทำแบบสำรวจความพึงพอใจ

3.2) กิจกรรมย่อย ติดตามผล 3 เดือนภายหลังการบูรณะฟันด้วยเทคนิค SMART และการหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์

เป้าหมาย
- เด็กในศพด. จำนวน 255 คน

รายละเอียดกิจกรรม
3.2.1 ทันตบุคลากรจะเข้าไปติดตามอาการ ภายหลังการบูรณะฟันด้วยวิธี SMART และหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในเด็กเล็ก ตรวจติดตามการยึดติดของวัสดุ การสูญเสียฟัน การปวดฟัน การผุซ้ำของฟันกรามน้ำนมที่ได้รับการรักษาไป เพื่อประเมินความสำเร็จของการรักษา โดยตรวจร้อยละ 100 ของเด็กที่ได้รับการรักษา

งบประมาณ

  • ค่าแบบสำรวจความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการรักษา จำนวน 255 x 1 ชุด x 2 บาท เป็นเงิน 510 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ปกครองพึงพอใจต่อการบูรณะฟันด้วยวิธี SMART และหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในเด็กเล็ก
  2. ลดการสูญเสียฟันน้ำนม ลดอาการปวดฟันและลดการผุซ้ำในฟันกรามน้ำนมที่ได้รับการรักษาไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
510.00

กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.1 กิจกรรมย่อย รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

รายละเอียดกิจกรรม

3.1.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

3.1.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

งบประมาณ

  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผลงานโครงการที่เสร็จสมบูรณ์ เพื่อนำผลการดำเนินงานเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมโครงการในปีต่อๆไป
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 77,455.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1) ผู้ปกครองเด็กและครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็กเพิ่มขึ้น
2) เด็กปฐมวัย ในศพด. เขตตำบลกำแพง เข้าถึงบริการทางทันตกรรม ได้รับการตรวจฟัน การหยุดยั้งฟันน้ำนมผุและบูรณะฟันน้ำนมเพิ่มขึ้น
3) ลดการสูญเสียฟันน้ำนม ลดอาการปวดฟันและลดการผุซ้ำในฟันกรามน้ำนมที่ได้รับการรักษาไป
4) ผู้ปกครองพึงพอใจต่อการบูรณะฟันด้วยวิธี SMART และหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในเด็กเล็ก


>