กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

อบรมเชิงปฏิบัติการ อาสาสมัคร และผู้ดูแล ผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุ(care giver )เพื่อพัฒนาการดูแลผู้ป่วย/ผู้พิการในชุมชน เทพา ประจำปีงบประมาณ 2566

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเทพา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

อบรมเชิงปฏิบัติการ อาสาสมัคร และผู้ดูแล ผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุ(care giver )เพื่อพัฒนาการดูแลผู้ป่วย/ผู้พิการในชุมชน เทพา ประจำปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเทพา

คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนศูนย์ 1 โรงพยาบาลเทพา

หมู่1 เทศบาลตำบลเทพา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ตำบลเทพา หมู่ที่1 มีผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุ จำนวน 880 คน ติดบ้าน จำนวน 20 และติดเตียง จำนวน 5 คนซึ่งปัญหาผู้สูงอายุ กลุ่มติดบ้าน ติดเตียง หรือผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง คือการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพด้วยความยากลำบาก การดำเนินชีวิตประจำวันต้องพึ่งพาผู้ดูแล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ตำบลเทพา หมู่ที่1 มีผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุ จำนวน 880 คน ติดบ้าน จำนวน 20 และติดเตียง จำนวน 5 คนซึ่งปัญหาผู้สูงอายุ กลุ่มติดบ้าน ติดเตียง หรือผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง คือการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพด้วยความยากลำบาก การดำเนินชีวิตประจำวันต้องพึ่งพาผู้ดูแล ซึ่งบางคนขาดคนดูแลและพักอาศัยอยู่โดยลำพัง ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นเพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการดูแลของชุมชนในการออกเยี่ยมบ้านดูแลสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะที่ต้องได้รับการดูแล จึงต้องมีการพัฒนาความรู้ ทักษะของจิตอาสา กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู คลินิกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนศูนย์ 1 โรงพยาบาลเทพา ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ จิตอาสาในชุมชน และเครือข่าย เพื่อพัฒนาการดูแลผู้ป่วย/ผู้พิการตำบลเทพา อ.เทพาปีงบประมาณ 2566

100.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ติดบ้าน/ติดเตียง มีความรู้ ความเข้าใจมีทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ที่เอื้อต่อการทำงานด้านการดูแลสุขภาพระยะยาวผู้สูงอายุ และผู้พิการในชุมชน อย่างมีประสิทธิภาพ
  1. ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง เพิ่มขึ้น  ร้อยละ 30
30.00
2 เพื่อให้ผู้ดูแล ( care giver ) สามารถดูแล ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความสามารถดูแลมีสูงอายุได้อย่างถูกต้อง  ร้อยละ 80

80.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุ ติดบ้าน/ติดเตียง ได้รับการดูแลและเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ผู้สูงอายุ ติดบ้าน/ติดเตียง ได้รับการดูแลและเข้าถึงบริการสุขภาพ ร้อยละ100

100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ 25
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ให้ความรู้ การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการติดเตียง วันที่1-2

ชื่อกิจกรรม
1.ให้ความรู้ การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการติดเตียง วันที่1-2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้ การดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการติดเตียง เรื่องการฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง การดูแลแผลผู้ป้วยติดเตียง และการให้อาหารสำหรับผู้ป่วยติดเตียง หรือการรับประทานอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดบ้าน งบประมาณ 1.ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน x 4 ชั่วโมง x 600 บาท x 2 วัน เป็นเงิน 4,800บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม เจ้าหน้าที่ และวิทยากรจำนวน 50 คน คนละ50 บาท x 2 วัน เป็นเงิน5,000 บาท 3.อาหารว่าง 2 มื้อสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม เจ้าหน้าที่ และวิทยากร จำนวน 50 คน คนละ 30 บาท x 2 วัน เป็นเงิน6,000 บาท 4.ค่าป้ายโครงการขนาด 1.5 x 3 เมตร เป็นเงิน700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุติดบ้าน/ติดเตียง เพิ่มขึ้น  ร้อยละ 30 2. ผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความสามารถดูแลมีสูงอายุได้อย่างถูกต้อง  ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16500.00

กิจกรรมที่ 2 2.ฝึกปฎิบัติการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการติดเตียง วันที่3-4 (ครึ่งวันบ่าย)

ชื่อกิจกรรม
2.ฝึกปฎิบัติการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการติดเตียง วันที่3-4 (ครึ่งวันบ่าย)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้ดูแลและอสม ฝึกปฎิบัติการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้พิการติดเตียง งบประมาณ 1.ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน x 3 ชั่วโมง x 600 บาท x 2 วัน เป็นเงิน 3,600บาท 2.อาหารว่าง 2 มื้อสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม เจ้าหน้าที่ และวิทยากร จำนวน 50 คน คนละ 30 บาท x 2 วัน เป็นเงิน6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความสามารถดูแลมีสูงอายุได้อย่างถูกต้องร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

กิจกรรมที่ 3 ลงพื้นที่ ออกเยี่ยมบ้าน ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง ครั้งที่1-10

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่ ออกเยี่ยมบ้าน ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง ครั้งที่1-10
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลงพื้นที่ ออกเยี่ยมบ้าน ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุ ติดบ้าน/ติดเตียง ได้รับการดูแลและเข้าถึงบริการสุขภาพ ร้อยละ100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ดูแลผู้สูงอายุ สามารถดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยติดเตียง
2.ผู้ดูแล และผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3.มีจิตอาสาในชุมชน ที่เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงานด้านการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง


>