กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

"กำแพง ร่วมใจ หยุดยั้งวัณโรค"

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลกำแพง

1. น.ส.ฮานีซ๊ะ สอละซอ ผู้ประสานงานคนที่1
2. น.ส.รสนาหนูวงค์ ผู้ประสานงานคนที่2
3.นางมีนา อุศมา
4.นางจิรัฐติกาล เจ๊ะสา
5. น.ส.บุญศรี มาลินี

ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลกำแพง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สัมผัสร่วมบ้านได้รับการคัดกรองตวรจเอซเรย์ปอด

 

0.00
2 ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ7ได้รับการคัดกรองตวรจเอซเรย์ปอด

 

0.00

ปัจจุบันวัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงต้องเร่งดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาวัณโรคอย่างจริงจังและเร่งด่วน ดังนั้นยังมีผู้ป่วยวัณโรคอีกจำนวนไม่น้อยในประเทศไทยที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยและเข้าสู่ระบบการรักษา ซึ่งสามารถแพร่กระจายเชื้อสู่ชุมชนและสังคมได้ตลอดเวลา การค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากจะทำให้เราได้ค้นพบผู้ป่วยวัณโรคที่ไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อวัณโรคอยู่แล้วและพร้อมที่จะแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ตลอดเวลา ซึ่งจากการศึกษาพบว่าผู้ที่ป่วยเป็นวัณโรคที่ยังไม่ได้รับการรักษาจะแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้ประมาณ 15-20 คนต่อปี ซึ่งหมายถึงหากชุมชนใดมีผู้ป่วยวัณโรคอาศัยอยู่ร่วมชุมชนหลายคนโดยที่ยังไม่ได้รับการรักษาก็จะทำให้ชุมชนมีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรควัณโรคมากขึ้น จะเห็นได้ว่าในปีงบประมาณ 2565เขตตำบลกำแพงมีผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนรักษา จำนวน 12 ราย เป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวก 10 ราย เป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะลบ - ราย วัณโรคนอกปอด 1 ราย และผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อที่กลับเป็นซ้ำ 1 ราย สำหรับพื้นที่ตำบลกำแพง หมู่ 1 จำนวน1ราย หมู่2จำนวน1ราย หมู่ 6 จำนวน 1 ราย หมู่ 7 จำนวน 1 ราย หมู่ 9 จำนวน 4 ราย หมู่ 10 จำนวน 1 ราย หมู่ 11 จำนวน 1 ราย หมู่ 12 จำนวน 2 ราย รักษาหาย(Cured) 6 ราย ยังกินยาอยู่ 5 ราย dead 1 ราย หมู่ 9 ซึ่งเป็นเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลกำแพง
ดังนั้นศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลกำแพงได้เห็นความสำคัญที่จะให้ชุมชนเข้าใจปัญหาโรควัณโรค โดยการเพิ่มการค้นหาผู้ป่วยวัณโรค เพื่อเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษา ลดอัตราป่วยและอัตราตายลงจึงได้จัดทำโครงการ "กำแพง ร่วมใจ หยุดยั้งวัณโรค" ขึ้นโดยเน้นการจัดตั้งเครือข่ายคณะทำงานในชุมชน การเฝ้าระวังผู้สัมผัสร่วมบ้านและกลุ่มเสี่ยงที่มีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ 7

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างเครือข่ายคณะทำงานในชุมชน ให้มีความรู้ความเข้าใจใน การค้นหาและคัดกรองผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ 7 และการให้คำปรึกษาเบื้องต้น

กลุ่มเครือข่ายคณะทำงานในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันการแก้ไขปัญหาวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงเพิ่มขึ้น และสามารถส่งต่อได้ ร้อยละ 80

0.00 80.00
2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ให้เข้าสู่ระบบการรักษาที่ถูกต้องและต่อเนื่อง
  1. ร้อยละ 100 กลุ่มเสี่ยงในผู้สัมผัสร่วมบ้านได้รับการตรวจคัดกรอง 2.ร้อยละ 100 ผู้ป่วยเบาหวาน ที่มีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ 7 ได้รับการคัดกรองตวรจเอ็กซเรย์ปอด
100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 31/12/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมจัดตั้งทีมเครือข่ายคณะทำงานในชุมชนเขตตำบลกำแพงให้เข้มแข็ง

ชื่อกิจกรรม
อบรมจัดตั้งทีมเครือข่ายคณะทำงานในชุมชนเขตตำบลกำแพงให้เข้มแข็ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม

  1. ประชุมชี้แจ้งรายละเอียดโครงการและร่วมกันวางแผนดำเนินงาน การจัดกิจกรรมกับแกนนำชุมชน ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อสม. จำนวน 1 ครั้ง
  2. คัดเลือกตัวแทนแกนนำชุมชน ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อสม. โดยชุมชน จำนวน 1 ครั้ง
  3. จัดตั้งทีมเครือข่ายในชุมชนเป็นคณะทำงาน จากกลุ่มเป้าหมายเพื่อค้นหาผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรค และกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ 7
  4. จัดอบรมให้ความรู้ หลักสูตร 1 วัน

กลุ่มเป้าหมาย ทั้งหมด 77 คน ดังนี้

  • แกนนำหมู่บ้าน/อสม.หมู่ละ 2 คน
  • ผู้นำชุมชนหมู่ละ 2 คน
  • ผู้นำศาสนาหมู่ละ 2 คน
  • เจ้าหน้าที่ 5 คน

ตารางการอบรมให้ความรู้
8.30 - 9.00 ลงทะเบียน

9.00 - 9.30 ชี้แจ้งรายละเอียดการดำเนินงานโครงการและแผนงานที่วางไว้

9.30 - 10.00 จัดตั้งคณะกรรมการการดำเนินงาน

10.00 - 10.30 สถานการณ์วัณโรค ต.กำแพง

10.30 - 12.00 ให้ความรู้เรื่องวัณโรคและบทบาทในการติดตามผู้ป่วยวัณโรค

12.00 - 13.00พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00 - 14.30 แนวทางการคัดกรองและสังเกตุอาการในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ 7

14.30 - 16.15 ฝึกปฏิบัติการคัดกรองในกลุ่มสงสัยวัณโรค

16.15 - 16.30 ทำแบบทดสอบ

#หมายเหตุ 10.30 - 10.45 และ 14.30 - 14.45 พักรับประทานอาหารว่าง

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 77 คนๆละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 3,850 บาท

  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 77 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 5,005 บาท

  • ค่าวัสดุ เครื่องเขียน และอุปกรณ์ในการอบรม จำนวน 72 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

  • ค่ายานพาหนะสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 72 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท

5.เก็บรวบรวมรายชื่อผู้ที่เป็นผู้สัมผัสร่วมบ้านที่สัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรค และกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ 7 โดยทีมเครือข่ายคณะทำงานในชุมชน

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2565
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19655.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องวัณโรคแก่ผู้สัมผัสร่วมบ้าน และกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ7

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องวัณโรคแก่ผู้สัมผัสร่วมบ้าน และกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ7
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 2.1 จัดอบรมให้ความรู้ผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ 7 หลักสูตร 1 วัน
- อบรมให้ความรู้เรื่องวัณโรคและแนวทางการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ เพื่อได้รับการรักษาและวินิจฉัยได้เร็ว

- อบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับการคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงผู้สัมผัสร่วมบ้านและ ผู้ป่วยเบาหวาน

เป้าหมาย

  • ผู้สัมผัสร่วมบ้านจำนวน 20 คน
  • ผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่า7 จำนวน 60 คน
  • ผู้สังเกตุการณ์ 5 คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมและผู้สังเกตุการณ์ จำนวน 85 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65เป็นเงิน 5,525 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมและผู้สังเกตุการณ์ จำนวน 85 คนๆละ 2 มื้อ ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,250 บาท

  • ค่าวิทยากร ไม่ขอเบิก

  • ค่าวัสดุ เครื่องเขียน และอุปกรณ์ในการอบรม จำนวน 80 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท

  • ค่ายานพาหนะสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 80 คนๆละ100 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท

  • ค่าไวนิลโครงการ กิจกรรมอบรมขนาด 1.5X3 ม. จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 675 บาท

ตารางการจัดอบรมให้ความรู้ เวลา เรื่องวิทยากร/ผู้รับผิดชอบ/หน่วยงาน

8.00 - 10.30น. ลงทะเบียนผู้เข้าอบรม

9.00 - 9.30น. ชี้แจงรายละเอียดโครงการ /แบบทดสอบก่อนอบรม

9.30 - 10.30น. สถานการณ์วัณโรค ต.กำแพง

10.30 - 10.40น. รับประทานอาหารว่าง

10.40 - 12.00น. การปฎิบัติตัวในการอยูร่วมกันกับผู้ป่วยวัณโรค

12.00 - 13.00น. พักรับประทาน

13.00 - 14.30น. แนวทางการคัดกรองและการสังเกตุอาการในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้ป่วยเบาหาวนทีทมีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ7

14.30 - 14.45น. รับประทานอาหารว่าง

14.45 - 16.15น. ให้ความเรื่องวัณโรคและบทบาทในการเป็นพี่เลี้ยงในการกำกับการกินยา

16.15 - 16.30น. ทำแแบทดสอบหลังการอบรม/ตอบข้อชักถาม

2.2 ประเมินความรู้ผู้เข้าร่วมอบรมก่อนและหลัง

2.3 ติดตามพฤติกรรมของผ่านการอบรมในการปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อวัณโรค ทุก 3 เดือนโดยทีมเครือข่ายคณะทำงานในชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22450.00

กิจกรรมที่ 3 เฝ้าระวังกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านและกลุ่มเสี่ยงผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ7

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านและกลุ่มเสี่ยงผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ7
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม

3.1 การสำรวจข้อมูลเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยง โดยทีมเครือข่ายคณะทำงานในชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบ

กลุ่มเป้าหมาย

  • กลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านจำนวน 20 ราย

  • กลุ่มเสียงผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ7 จำนวน 60 ราย

ไม่ใช่งบประมาณ

3.2 ส่งตรวจเอกซเรย์ปอดในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้าน และผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ7 โดยทีมเครือข่ายคณะทำงานในชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบ กลุ่มเป้าหมาย

3.2.1 ส่งตรวจเอกซเรย์ปอดในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านจำนวน 20 ราย และผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ7 จำนวน 60 ราย

3.2.2 กรณีพบผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ7ที่ได้รับตรวจเอกซเรย์แล้วพบเชื้อ พร้อมขึ้นทะเบียนรักษาเป็นผู้ป่วยรายใหม่

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กลุ่มเสี่ยงผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ7ที่ตรวจแล้วพบเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษาและวินิจฉัยวัณโรคอย่างรวดเร็ว

ชื่อกิจกรรม
กลุ่มเสี่ยงผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลสะสมมากกว่าหรือเท่ากับ7ที่ตรวจแล้วพบเชื้อเข้าสู่ระบบการรักษาและวินิจฉัยวัณโรคอย่างรวดเร็ว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม

4.1 ส่งต่อผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่าน้ำตาลมากกว่าหรือเท่ากับ 7 พบแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยวัณโรคและนำสู่กระบวนรักษาอย่างรวดเร็ว

4.2 ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยรายใหม่ทุกรายจากการค้นหาผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้ป่วยเบาหวานที่ตรวจพบเชื้อทุกราย

4.3 ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยกำกับการกินยาจนครบตามเกณฑ์อย่างน้อย 6 เดือน พร้อมทีมเครือข่ายคณะทำงานในชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบ

4.4 ลงบันทึกข้อมูลการกินยาในสมุดทุกครั้งที่ลงเยี่ยม โดยทีมเครือข่ายคณะทำงานในชุมชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้รับผิดชอบ

4.5 ประเมินผลการรักษาผู้ป่วยทุกรายตามระบบการรักษาของสถานบริการสาธารณสุข

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่าน้ำตาลมากกว่าหรือเท่ากับ 7 ที่ตรวจพบเชื้อทุกราย

งบประมาณ
ไม่ขอใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคที่ตวรจแล้วพบเชื้อและขึ้นทะเบียนรักษา กินยาครบ รักษาหายและติดตามเอกซเรย์หลังจากรักษาหาย จำนวน1ครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

5.1 รายงานผลการดำเนินโครงการ 2 เดือนครั้ง ต่อคณะกรรมกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

5.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

งบประมาณ

ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,105.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเครือข่ายคณะทำงานในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคเบื้องต้น สามารถป้องกันการแก้ไขปัญหาวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงเพิ่มขึ้น และส่งต่อผู้ป่วยวัณโรคเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็วและเข่าสู่ระบบการรักษาที่ถูกต้อง
2. กลุ่มเสี่ยงผู้สัมผัสร่วมบ้านและผู้ป่วยเบาหวานได้รับการคัดกรองวัณโรค (โดยแบบคัดกรองวัณโรค) และพบเชื้อวัณโรคได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างรวดเร็วนำเข้าสู่ระบบการรักษาที่ถูกต้องและต่อเนื่อง


>