กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการใส่ใจสุขภาพด้วยวิถีชีวิต 3อ.2ส. ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ฝ่ายสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มปฐมภูมิ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

1.นางจิราวรรณ ศุลกะนุเคราะห์ โทร 081-5408321
2.น.ส มาตินี อีแต โทร089-2923122

ห้องประชุมราชพฤกษ์ อาคารอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนกลุ่มเสี่ยงที่ขาดความรู้และทักษะที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส. (ข้อมูลการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุก ปี 2565 มีผู้มารับบริการทั้งหมด 484 ราย)

 

85.00
2 จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่พบจากการตรวจสุขภาพประจำปี 2565 (ข้อมูลการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกมีผู้รับบริการทั้งหมด 484 ราย)

 

35.00
3 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่พบจากการตรวจสุขภาพประจำปี 2565 (ข้อมูลผู้มารับบริการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกทั้งหมด 484 ราย )

 

12.00

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและพัฒนาไปอย่างมากส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน เช่นการเร่งรีบกับการทำงานบริโภคอาหารโดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการเท่าใดนักและมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยขาดการออกกำลังกาย และบางครั้งเครียดกับการทำงานทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย ด้วยโรคต่างๆเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไขมัขมันในเลือดสูง โรคอ้วน สาเหตุจากการเร่งรีบ และมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสมตามหลักโภชนาการ และขาดออกกำลังกาย โรคดังกล่าวเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขและเป็นกลุ่มโรคที่เป็นสาเหตุการนำไปสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และมีการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่นการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
จากการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกในหน่วยงานราชการภายนอก บริษัท เอกชนและรัฐวิสาหกิจ ที่ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกทั้งหมด 484 รายในปีงบประมาณ 2565 เป็นกลุ่มเสี่ยง 211 รายกลุ่มป่วย 49 ราย กลุ่มปกติ 224 รายจากคลินิกคนไทยไร้พุง 15 รายกลุ่มเสี่ยง 10ราย กลุ่มเสี่ยง 5 รายยังมีเกี่ยวกับภาวะสุขภาพที่เป็นสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้้อรังจากพฤติกรรมการที่ไม่ถูกต้องในการดูแลและการจัดการสุขภาพตนเอง การตรวจสุขภาพประจำปีเชิงรุกของประชาชนที่มารับบริการซี่งเป็นการคัดกรองภาวะสุขภาพที่สามารถค้นหาของกลุ่มเสี่ยงรายใหม่ และกลุ่มป่วยไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย ได้เข้าร่วมโครงการ ปรีบเปลี่ยนพฤติกรรม3 อ.2 ส. เพื่อให้ความรู้และจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องในเรื่องการรับประทานอาหาร และการอออกำลังกาย การจัดการอารมณ์ การเลี่ยงการสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา ส่งเสริมการดูแลและทักษะในการจัดการสุขภาพตนเองได้ถูกต้องในกลุ่มปกติ ลดกลุ่มเสี่ยงรายใหม่ รวมถึงลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย นำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีและยั่งยืน
ฝ่ายสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพงานควบคุมโรค และงานคลินิกคนไทยไร้พุง โรงพยาบาลสุไหงโก-ลกได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการใส่ใจสุขภาพด้วย 3อ.2ส.ในผู้รับบริการตรวจสุขภาพประจำปีที่เป็น กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย เจ้าหน้าที่ภายใน /และประชาชนภายนอกและคลินิกคนไทยไร้พุงขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองตามหลัก 3อ.2ส.

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส.ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังร้อยละ 80

50.00 80.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะและจัดการตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมตามหลัก 3อ.2ส.

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยมีทักษะและการจัดการตนเองและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมตามหลัก 3อ.2ส. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

35.00 50.00
3 เพื่อให้ระดับความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเลือด รอบเอว ค่าดัชนีมวลกาย ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ระดับความดันโลหิตน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเลือด รอบเอว ค่า ดัชนีมวลกาย ในกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 50

35.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงาน 10

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เปิดโครงการใส่ใจสุขภาพด้วย 3.อ2.ส.

ชื่อกิจกรรม
เปิดโครงการใส่ใจสุขภาพด้วย 3.อ2.ส.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย 50 คน เจ้าหน้าที่ 10 คน รวม 60 คน
รายละเอียดกิจกรรมดังนี้
1. ขั้นเตรียมการ
- วิเคราะห์ปัญหากลุ่มเป้าหมาย
- ประสานหน่วยงานที่เกี่ยงข้อง (งานควบคุมโรค /ประชุมวางแผนกิจกรรม)
- จัดทำโครงการ/ขออนุมัติโครงการ
2. ขั้นดำเนินการ
- กิจกรรมดำเนินการ
- สำรวจข้อมูล คัดกรองกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย
- จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
- ประชุมชี้แจงและประสานงานเพื่อมอบหมายงานกับหน่วยงานต่างๆ
- ประสานวิทยากร
- เขียนโครงการ/เสอโครงการ/อนุมัติโครงการ
- ส่งหนังสือไปยังหน่วยงานราชการต่างๆที่กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย และหนังสือเวียนในโรงพยาบาลที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป่วยเข้าร่วมโครงการ
- ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
กิจกรรรมที่ 1 (เปิดโครงการ) อบรมรมให้ความรู้เรืีองการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องด้วยหลัก 3อ.2ส.
กำหนดการ ดังนี้
วันที่............ มิ.ย 2566 เวลา 08.00 น. - 16.00 น. ณ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
เวลา 08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียนคัดกรอง/Pretest
เวลา 08.31 - 09.00 น. เปิดโครงการโดย นางสุชาดา พันธ์นรา นายกเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกเป็นประธาน นายแพทย์เกษมสันต์ วนวนากร นายแพทย์ชำนาญการพิเศษกล่าวรายงาน
เวลา 09.01 - 10.00 น. บรรยายพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมที่มีผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างไร (วิทยากรโดยแพทย์อายุรกรรม)
เวลา 10.01 - 11.00 น. บรรยายอาหารตามหลักโภชนาการที่ถูกต้องเหมาะสม ลดหวาน มัน เค็ม (วิทยากรบรรยายโดยนักโภชนากร)
เวลา 11.01 - 12.00 น. แบ่งกลุ่ม Work Shop ฐานอาหารหวาน มัน เค็ม และอ่านฉลากอาหาร รวม 4 ฐาน วิทยากร 4 คน(วิทยากรกลุ่มโดยนักโภชนากร)
เวลา 12.01 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.01 - 16.00 น. บรรยายการจัดการสุขภาพตนเองที่เหมาะสมรวมถึงการอออกกำลังกายที่เหมาะสมที่ทำให้ห่างไกลโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง(วิทยากรฝ่ายสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ)
เวลา 16.01 น. ปิดโครงการ
หมายเหตุ เวลา 10.30 น. และเวลา 14.30 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
งบประมาณ ดังนี้
- ค่าอาหารกลางวัน60 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าอาหารว่าและเครื่องดื่ม 60 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร(บรรยาย) 600 บาท x 2 ชม. เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร(กลุ่ม) 300 บาท x1 ชม. x 4 คน เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในกิจกรรมการอบรมเมนูอาหารสุขภาพ เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มิถุนายน 2566 ถึง 14 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการทราบถึงภาวะสุขภาพของตนเองและปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตนเองได้
  2. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องสุขภาพด้วย3อ2.ส มีทักษะและหาแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมได้
  3. ลดกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย และลดกลุ่มป่วยรายใหม่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประชุมติดตามประเมินผลตามเกณฑ์ ใส่ใจสุขภาพด้วยวิถีชีวิต 3อ.2ส.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมติดตามประเมินผลตามเกณฑ์ ใส่ใจสุขภาพด้วยวิถีชีวิต 3อ.2ส.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย 50 คน เจ้าหน้าที่ 10 คน รวม 60 คน
รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้
- ติดตามผลการตรวจสุขภาพ 3 เดือนหลังตรวจสุขภาพครั้งแรก
กำหนดการ
วันที่........ ก.ย 2566 เวลา 08.00 - 16.00 น. ณ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
เวลา 08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน/คัดกรอง/ Post test
เวลา 09.01 - 10.00 น. บรรยายความเสี่ยงต่างๆกับโรค NCD และแจ้งผลค่าน้ำตาลในเลือด จากการตรวจสุขภาพ
เวลา 10.01 - 12.00 น. บรรยายและสอนการคำนวนพลังงานอาหาร หวาน มัน เค็ม
เวลา 12.01 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.01 - 16.00 น. บรรยายและสาธิตการจัดการสุขภาพตนเอง การจัดการความเครียด และการออกกำลังกาย ที่เหมาะสมห่างไกลโรค NCD
วลา 16.01 น. ปิดโครงการ
หมายเหตุ เวลา 10.30 น. และเวลา 14.30 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
งบประมาณ มีดังนี้
- ค่าอาหารกลางวัน 60 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ 3อ.2ส.ร้อลละ 80
2.ลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีการจัดการตนเองมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องร้อยละ 50
3.ระดับความดันโลหิตน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเลือด รอบเอว ค่า ดัชนีมวลกาย ในกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,800.00 บาท

หมายเหตุ :
จำนวนกลุ่มเป้าหมายและค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายทราบถึงภาวะสุขภาพของตนเองและปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของตนเองได้
2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่อง3อ.2ส. และมีทักษะและการจัดการสุขภาพของตนเองได้
3. กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในทางที่ถูกต้องเหมาะสม กลุ่มป่วยลดไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ลดกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยรายใหม่


>