กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ"วิถีโรงเรียนคุณภาพตามหลักสุขบัญญัติ" ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ฝ่ายสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มปฐมภูมิ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

นางจิราวรรณ ศุลกะนุเคราะห์ เบอร์โทร 081-5408321
น.ส นูรฮูดา อาซัน เบอร์โทร080-4350884

ห้องประชุมราชพฤกษ์ ตึกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนนักเรียน (กลุ่มอายุ 7-14 ปี) ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง(ข้อมูลปี 2565)

 

52.00
2 จำนวนนักเรียน (กลุ่มอายุ 7-14 ปี) ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกป่วยด้วยโรคตาแดง(ข้อมูลปี 2565)

 

12.00
3 จำนวนนักเรียน (กลุ่มอายุ 7-14 ปี) ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก (ข้อมูลปี 2565)้

 

18.00

การพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่ง ที่จะส่งผลให้ประเทศเจริญก้าวหน้าการดำเนินการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ซึ่งพฤติกรรมสุขภาพ จะต้องเหมาะสมทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ซึ่งข้อปฏิบัติประการหนึ่งเกี่ยวกับพฤติกรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานเริ่มต้นก็คือ "สุขบัญญัติแห่งชาติ" ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องได้จัดทำเป็นข้อกำหนดที่เป็นแนวทางปฏิบัติที่จำเป็นพื้นฐานในการดูแลสุขภาพกล่าว คือ สุขบัญญัติ เป็นข้อกำหนดที่เด็กและเยาวชนตลอดจนประชาชนทั่วไป พึงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจน เป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพดีทั่้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ตลอดจนเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการป้องกันโรค การละเลยในการปฏิบัติสุขบัญญัติข้อใดข้อหนึ่ง หมายถึง เรามีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหรืออันตรายต่อสขุภาพ ซึ่งอาจจะเล็กน้อยหรือรุนแรงหรือเริ่มต้นด้วยการเจ็บป่วยเล็กน้อย แต่อาจนำหรือเป็นบ่อเกิดของโรคไม่ติดต่อเรื่้อรัง (ความดัน เบาหวาน อัมพฤต อัมพาต โรคหัวใจ) หรือโรคแทรกซ้อนที่มีอันตรายร้ายแรงตามมาภายหลัง ดังนั้นเพื่่อลดความเสี่ยงต่ออันตรายและโรคภัยไข้เจ็บ และเพื่อสุขภาพที่ดี จึงต้องปฏิบัติตามนสุขบัญญัติ ทั้ง 10 ประการ อย่างต่อเนื่องจนเป็นสุขนิสัย เพื่อการมีสุขภาพที่ดีการปลูกฝังและสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติในวัยเด็กและเยาวชนนับว่ามีความสำคัญยิ่ง เพราะเด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรงมีพัมนาการที่สมวัย ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีเจตคติที่ดีและมีการปฏิบัติตามสุขบัญญัติแห่งชาติในสถานศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถจัดประสบการณ์ในการสร้างเสริมทักษะที่จะเป็นและจัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติหรือการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องได้อย่างสม่ำเสมอจนเป็นสุขนิสัยและมีความยั่งยืนในที่สุด ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลนักเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อปี 2565 (กลุ่มอายุ 7 - 14 ปี) โรคตาแดง 12 ราย,โรคอุจาระร่วง 52 ราย ,โรคไข้เลือด 18 ราย ฝ่ายสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นความสำคัญและเป็นปัจจัยในการส่งเสริมสุขภาพที่ดี จึงได้จัดโครงการ "วิถีโรงเรียนคุณภาพวิถีหลักสุขบัญญัติ" ประจำปี 2566

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเรื่่องสุขบัญญัติ

ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทำแบบสอบถามความรู้หลังอบรมได้ไม่น้อยกว่า 85

50.00 85.00
2 เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามสุขญัติที่ถูกต้อง

ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองสุขบัญญัติที่ถูกต้องไม่น้อยกว่า 80

50.00 80.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ(โรคตาแดง,โรคอุจจาระร่วง, ไข้เลือดออก)

ร้อยละของอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ(โรคตาแดง,โรคอุจจาระร่วง, ไข้เลือดออก) ในโรงเรียนลดลง

20.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องนักสุขบัญญัติในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องนักสุขบัญญัติในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย เด็กนักเรียนประถมศึกษา 6 โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก (โรงเรียนเทศบาล 1-4 , โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก , โรงเรียนบุญลาภนฤมิตร) โรงละ 20 คน ครูโรงเรียนละ 2 คน รวม 132 คน และคณะทำงาน 10 คน รวมเป็น 142 คน
รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้
- อบรมให้ความรู้เรื่องนักสุขบัญญัติในโรงเรียน พร้อมชี้แจงการดำเนินงานตามเกณฑ์โรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติ ณ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
กำหนดการ ดังนี้
เวลา 08.30 - 08.45 น. ลงทะเบียน
เวลา 08.46 - 09.00 น. พิธีเปิดโครงการ โดย นายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก กล่าวรายงานโดย รองผู้อำนวยการกลุ่มปฐมภูมิ
เวลา 09.01 - 12.00 น. กิจกรรมให้ความรู้เรื่อง “นักสุขบัญญัติในโรงเรียน” (วิทยากร แพทย์อายุรกรรม)
เวลา 12.01 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.01 - 16.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่อง บทบาท ยุว อสม.ในโรงเรียน(วิทยากร นักวิชาการสาธารณสุข)
เวลา 16.01 น. พิธีปิด
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวัน 142 คน X 60 บาท X 1 มื้อเป็นเงิน 8,520 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 142 คน X 30 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 8,520 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ทำกิจกรรมอบรม(กระดาษเขียนแบบ/ปากกา/สื่อสุขบัญญัติ) เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้เรื่องสุขบัญญัติในโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22040.00

กิจกรรมที่ 2 ประเมินผลโรงเรียนสุขบัญญัติ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลโรงเรียนสุขบัญญัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ครูโรงละ 2 คน 6 โรง รวม 12 คน และคณะกรรมการประเมิน 5 คน รวมเป็นจำนวน 17 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- ให้แต่ละโรงเรียนนำเสนอกิจกรรมของโรงเรียนสุขบัญญัติและประเมินผลโรงเรียนสุขบัญญัติ
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.01 - 12.00 น. กิจกรรมนำเสนอผลงานประเมินโรงเรียนสุขบัญญัติ
12.01 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.01 - 16.00 น. กิจกรรมนำเสนอผลงานประเมินโรงเรียนสุขบัญญัติ(ต่อ) และสรุปผล
งบประมาณ ดังนี้
- ค่าอาหารกลางวัน 17 คน X 60 บาท เป็นเงิน 1,020 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 17 คน X 30 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 1,020 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้รับการประเมินตามเกณฑ์โรงเรียนสุขบัญญัติ ลดโรคตาแดง อุจจาระร่วง และโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2040.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,080.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องสุขบัญญัติ ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ และดำเนินงานสุขบัญญัติในโรงเรียน
2. นักเรียนปฏิบัติตามสุขบัญญัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัยและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
3. ลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ(โรคตาแดง,โรคอุจจาระร่วง, ไข้เลือดออก)ในโรงเรียนได้


>