กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ"วิถีโรงเรียนคุณภาพตามหลักสุขบัญญัติ" ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L6961-1-30
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มปฐมภูมิ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 24,080.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจิราวรรณ ศุลกะนุเคราะห์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนนักเรียน (กลุ่มอายุ 7-14 ปี) ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วง(ข้อมูลปี 2565)
52.00
2 จำนวนนักเรียน (กลุ่มอายุ 7-14 ปี) ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกป่วยด้วยโรคตาแดง(ข้อมูลปี 2565)
12.00
3 จำนวนนักเรียน (กลุ่มอายุ 7-14 ปี) ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก (ข้อมูลปี 2565)้
18.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่ง ที่จะส่งผลให้ประเทศเจริญก้าวหน้าการดำเนินการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ซึ่งพฤติกรรมสุขภาพ จะต้องเหมาะสมทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ซึ่งข้อปฏิบัติประการหนึ่งเกี่ยวกับพฤติกรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานเริ่มต้นก็คือ "สุขบัญญัติแห่งชาติ" ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องได้จัดทำเป็นข้อกำหนดที่เป็นแนวทางปฏิบัติที่จำเป็นพื้นฐานในการดูแลสุขภาพกล่าว คือ สุขบัญญัติ เป็นข้อกำหนดที่เด็กและเยาวชนตลอดจนประชาชนทั่วไป พึงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจน เป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพดีทั่้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ตลอดจนเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการป้องกันโรค การละเลยในการปฏิบัติสุขบัญญัติข้อใดข้อหนึ่ง หมายถึง เรามีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหรืออันตรายต่อสขุภาพ ซึ่งอาจจะเล็กน้อยหรือรุนแรงหรือเริ่มต้นด้วยการเจ็บป่วยเล็กน้อย แต่อาจนำหรือเป็นบ่อเกิดของโรคไม่ติดต่อเรื่้อรัง (ความดัน เบาหวาน อัมพฤต อัมพาต โรคหัวใจ) หรือโรคแทรกซ้อนที่มีอันตรายร้ายแรงตามมาภายหลัง ดังนั้นเพื่่อลดความเสี่ยงต่ออันตรายและโรคภัยไข้เจ็บ และเพื่อสุขภาพที่ดี จึงต้องปฏิบัติตามนสุขบัญญัติ ทั้ง 10 ประการ อย่างต่อเนื่องจนเป็นสุขนิสัย เพื่อการมีสุขภาพที่ดีการปลูกฝังและสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติในวัยเด็กและเยาวชนนับว่ามีความสำคัญยิ่ง เพราะเด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรงมีพัมนาการที่สมวัย ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีเจตคติที่ดีและมีการปฏิบัติตามสุขบัญญัติแห่งชาติในสถานศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถจัดประสบการณ์ในการสร้างเสริมทักษะที่จะเป็นและจัดปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติหรือการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องได้อย่างสม่ำเสมอจนเป็นสุขนิสัยและมีความยั่งยืนในที่สุด ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลนักเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก มีอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อปี 2565 (กลุ่มอายุ 7 - 14 ปี) โรคตาแดง 12 ราย,โรคอุจาระร่วง 52 ราย ,โรคไข้เลือด 18 ราย ฝ่ายสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นความสำคัญและเป็นปัจจัยในการส่งเสริมสุขภาพที่ดี จึงได้จัดโครงการ "วิถีโรงเรียนคุณภาพวิถีหลักสุขบัญญัติ" ประจำปี 2566

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเรื่่องสุขบัญญัติ

ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทำแบบสอบถามความรู้หลังอบรมได้ไม่น้อยกว่า 85

50.00 85.00
2 เพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามสุขญัติที่ถูกต้อง

ร้อยละของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองสุขบัญญัติที่ถูกต้องไม่น้อยกว่า 80

50.00 80.00
3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ(โรคตาแดง,โรคอุจจาระร่วง, ไข้เลือดออก)

ร้อยละของอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ(โรคตาแดง,โรคอุจจาระร่วง, ไข้เลือดออก) ในโรงเรียนลดลง

20.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,080.00 2 24,080.00
1 พ.ค. 66 - 29 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้เรื่องนักสุขบัญญัติในโรงเรียน 0 22,040.00 22,040.00
3 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ประเมินผลโรงเรียนสุขบัญญัติ 0 2,040.00 2,040.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องสุขบัญญัติ ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ และดำเนินงานสุขบัญญัติในโรงเรียน
  2. นักเรียนปฏิบัติตามสุขบัญญัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัยและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
  3. ลดอัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ(โรคตาแดง,โรคอุจจาระร่วง, ไข้เลือดออก)ในโรงเรียนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2565 00:00 น.