กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาต้นแบบเด็กไทยเท่ หุ่นดี แข็งแรง ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

1. นางสาวนูรฮูดา อาซัน โทร. 0829944309
2. นางสาวไซนะ กาซอ โทร. 0808678149

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันความชุกของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-19 ปีเพิ่มขึ้นอย่างมากจากเพียงร้อยละ 4 ในปี 2518 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 18 ในปี 2559 การเพิ่มขึ้นนี้เกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันทั้งในเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง เด็กและวัยรุ่นมากกว่า 124 ล้านคน ร้อยละ 6 ของเด็กผู้หญิง และร้อยละ 8 ของเด็กผู้ชาย เป็นโรคอ้วน ในปี 2559 น้ำหนักเกินและโรคอ้วนเชื่อมโยงกับการเสียชีวิตทั่วโลกมากกว่าน้ำหนักน้อย ทั่วโลกมีคนที่เป็นโรคอ้วนมากกว่าน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งเกิดขึ้นในทุกภูมิภาค จากสถานการณ์ในประเทศไทย ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนในเด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปี มีแนวโน้มสูงมากขึี้น ในปี 2563–2565 พบภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 14.34, 11.09 และ 13.84 ตามลำดับเด็กเหล่านี้จะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายระบบ โดยเฉพาะเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งพบว่าสูงขึ้นมากในช่วง 20 ปี เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็ยังคงอ้วนทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน รวมทั้งความดันโลหิตสูง
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความไม่สมดุลของพลังงานที่ร่างกายได้รับกับพลังงานที่ถูกใช้ออกไป การรับประทานอาหารที่ให้พลังงานมากกว่าการใช้พลังงาน แบบแผนด้านการรับประทานอาหารและด้านการออกกาลังกายเปลี่ยนแปลง คือ รูปแบบการบริโภคอาหารเปลี่ยนจากการรับประทานอาหารที่ประกอบอาหารในบ้านเป็นการซื้ออาหารนอกบ้าน มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสม เช่น มีความนิยมในการรับประทานสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารจานด่วน อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง ขนมหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีรสหวานการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน วัฒนธรรม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สื่อ การจำหน่ายอาหารหน้าโรงเรียน และอิทธิพลจากเพื่อน ประกอบกับออกกาลังกายน้อยลง
ปี 2563 – 2565 อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส พบนักเรียนอายุ 6 – 14 ปี สูงดีสมส่วนร้อยละ 62.71, 63.28 และ 58.20 ตามลำดับ และพบเด็กมีภาวะอ้วนและเริ่มอ้วนร้อยละ 8.93, 11.06 และ 9.55 ตามลำดับ ผลกระทบของภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนมีหลายประการ ได้แก่ ผลกระทบทางร่างกาย รูปร่าง การเคลื่อนไหว และการเกิดโรคเรื้อรัง ดังนั้นจึงจัดทำโครงการพัฒนาต้นแบบเด็กไทยเท่ หุ่นดี เพื่อให้นักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีพฤติกรรมที่เหมาะสมเกิดทักษะชีวิต ที่จะนำไปสู่การดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับนักเรียน

นักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ร้อยละ 60

40.00 60.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

นักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ร้อยละ 50

48.00 50.00
3 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเป็นต้นแบบด้านสุขภาพ “เด็กไทยเท่ หุ่นดี แข็งแรง”

นักเรียนเป็นต้นแบบด้านสุขภาพ “เด็กไทยเท่ หุ่นดี แข็งแรง” ร้อยละ 50

40.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมประสานแผนการดำเนินงานโรงเรียนเป้าหมายในการจัดกิจกรรมพัฒนาต้นแบบเด็กไทยเท่ หุ่นดี แข็งแรง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมประสานแผนการดำเนินงานโรงเรียนเป้าหมายในการจัดกิจกรรมพัฒนาต้นแบบเด็กไทยเท่ หุ่นดี แข็งแรง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุข และครูผู้รับผิดชอบ จำนวน 14 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- ประชุมประสานแผนการดำเนินงานโรงเรียนเป้าหมายในการจัดกิจกรรมพัฒนาต้นแบบเด็กไทยเท่ หุ่นดี แข็งแรง
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 14 คน x 30 บาท x1 มื้อ = 420 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุมร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
420.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย แกนนำนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ในโรงเรียน 7 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านสุไหงโก-ลก โรงเรียนบุญยลาภนฤมิตร โรงเรียนรังผึ้ง โรงเรียนเทศบาล 1-4 โรงเรียนละ 10 คน รวม 70 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. เปิดโครงการ
2. อบรมบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ และโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพโดยคุณลุตฟี สามะแอ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ จากศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
3. อบรมบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของเด็กวัยเรียน โดยคุณลุตฟี สามะแอ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ จากศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
4. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายโดยคุณลุตฟี สามะแอ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ จากศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง นักเรียน ครูผู้รับผิดชอบ และเจ้าหน้าที่
5. ปิดโครงการ
กำหนดการ
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.01 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ และโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพโดยคุณลุตฟี สามะแอ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ จากศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
12.01 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.01 - 16.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของเด็กวัยเรียน และการออกกำลังกายโดยคุณลุตฟี สามะแอ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ จากศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
16.01 - 16.30 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง นักเรียน ครูผู้รับผิดชอบ และเจ้าหน้าที่
งบประมาณ ดังนี้
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คน x 30 บาท x 2 มื้อ = 4,200 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 70 คน x 60 บาท x 1 มื้อ = 4,200 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 6 ชม. = 3,600 บาท
4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม ได้แก่ สมุด ปากกา กระดาษ แฟ้ม ฯลฯ= 2,000 บาท
5. ค่าวัสดุจัดทำป้ายไวนิลโครงการ = 1,000 บาท
6. ค่าสื่อประชาสัมพันธ์= 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ร้อยละ 60
  2. นักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ร้อยละ 50
  3. นักเรียนเป็นต้นแบบด้านสุขภาพ “เด็กไทยเท่ หุ่นดี แข็งแรง” ร้อยละ 50
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมเยี่ยมเสริมพลังการดำเนินงานโครงการพัฒนาต้นแบบเด็กไทยเท่ หุ่นดี แข็งแรง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเยี่ยมเสริมพลังการดำเนินงานโครงการพัฒนาต้นแบบเด็กไทยเท่ หุ่นดี แข็งแรง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
- ติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนาต้นแบบเด็กไทยเท่ หุ่นดี แข็งแรง แต่ละโรงเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 7 โรง โดยเจ้าหน้าที่บุคลากรสาธารณสุข จำนวน 5 คน วันละ 1 โรง จำนวน 7 วัน กำหนดการ
เวลา 08.30 - 12.00 น. ติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนาต้นแบบเด็กไทยเท่ หุ่นดี แข็งแรง
งบประมาณ ดังนี้
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 5 คน X 30 บาท x 1 มื้อ x 7 วัน = 1,050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุมร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,970.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความรอบรู้ด้านสุขภาพมากขึ้น
2. นักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
3. มีแกนนำนักเรียนเป็นต้นแบบด้านสุขภาพ “เด็กไทยเท่ หุ่นดี แข็งแรง”


>