กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาต้นแบบเด็กไทยเท่ หุ่นดี แข็งแรง ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L6961-1-32
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 16,970.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวไซนะ กอซอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันความชุกของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-19 ปีเพิ่มขึ้นอย่างมากจากเพียงร้อยละ 4 ในปี 2518 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 18 ในปี 2559 การเพิ่มขึ้นนี้เกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันทั้งในเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง เด็กและวัยรุ่นมากกว่า 124 ล้านคน ร้อยละ 6 ของเด็กผู้หญิง และร้อยละ 8 ของเด็กผู้ชาย เป็นโรคอ้วน ในปี 2559 น้ำหนักเกินและโรคอ้วนเชื่อมโยงกับการเสียชีวิตทั่วโลกมากกว่าน้ำหนักน้อย ทั่วโลกมีคนที่เป็นโรคอ้วนมากกว่าน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งเกิดขึ้นในทุกภูมิภาค จากสถานการณ์ในประเทศไทย ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนในเด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปี มีแนวโน้มสูงมากขึี้น ในปี 2563–2565 พบภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 14.34, 11.09 และ 13.84 ตามลำดับเด็กเหล่านี้จะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายระบบ โดยเฉพาะเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งพบว่าสูงขึ้นมากในช่วง 20 ปี เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็ยังคงอ้วนทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน รวมทั้งความดันโลหิตสูง
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความไม่สมดุลของพลังงานที่ร่างกายได้รับกับพลังงานที่ถูกใช้ออกไป การรับประทานอาหารที่ให้พลังงานมากกว่าการใช้พลังงาน แบบแผนด้านการรับประทานอาหารและด้านการออกกาลังกายเปลี่ยนแปลง คือ รูปแบบการบริโภคอาหารเปลี่ยนจากการรับประทานอาหารที่ประกอบอาหารในบ้านเป็นการซื้ออาหารนอกบ้าน มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสม เช่น มีความนิยมในการรับประทานสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารจานด่วน อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง ขนมหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีรสหวานการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน วัฒนธรรม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สื่อ การจำหน่ายอาหารหน้าโรงเรียน และอิทธิพลจากเพื่อน ประกอบกับออกกาลังกายน้อยลง
ปี 2563 – 2565 อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส พบนักเรียนอายุ 6 – 14 ปี สูงดีสมส่วนร้อยละ 62.71, 63.28 และ 58.20 ตามลำดับ และพบเด็กมีภาวะอ้วนและเริ่มอ้วนร้อยละ 8.93, 11.06 และ 9.55 ตามลำดับ ผลกระทบของภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนมีหลายประการ ได้แก่ ผลกระทบทางร่างกาย รูปร่าง การเคลื่อนไหว และการเกิดโรคเรื้อรัง ดังนั้นจึงจัดทำโครงการพัฒนาต้นแบบเด็กไทยเท่ หุ่นดี เพื่อให้นักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีพฤติกรรมที่เหมาะสมเกิดทักษะชีวิต ที่จะนำไปสู่การดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับนักเรียน

นักเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ ร้อยละ 60

40.00 60.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

นักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ร้อยละ 50

48.00 50.00
3 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเป็นต้นแบบด้านสุขภาพ “เด็กไทยเท่ หุ่นดี แข็งแรง”

นักเรียนเป็นต้นแบบด้านสุขภาพ “เด็กไทยเท่ หุ่นดี แข็งแรง” ร้อยละ 50

40.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,970.00 0 0.00
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมเยี่ยมเสริมพลังการดำเนินงานโครงการพัฒนาต้นแบบเด็กไทยเท่ หุ่นดี แข็งแรง 0 1,050.00 -
1 - 31 พ.ค. 66 ประชุมประสานแผนการดำเนินงานโรงเรียนเป้าหมายในการจัดกิจกรรมพัฒนาต้นแบบเด็กไทยเท่ หุ่นดี แข็งแรง 0 420.00 -
1 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ 0 15,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความรอบรู้ด้านสุขภาพมากขึ้น
  2. นักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
  3. มีแกนนำนักเรียนเป็นต้นแบบด้านสุขภาพ “เด็กไทยเท่ หุ่นดี แข็งแรง”
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2565 14:59 น.