กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ "ชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค NCD" ชุมชนซรีจาฮายา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

งานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มปฐมภูมิ โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

นางจิราวรรณ ศุลกะนุเคราะห์ เบอร์โทร081-5408321
นางเยาวลักษณ์ชูขาว เบอร์โทร 080- 5482220
น.ส มาริสาดรอแม เบอร์โทร 085-6727007

ชุมชนศรีจายา อ. สุไหงโก--ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD : NON COMMUNICABLE DISEASE) หรือโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก และระดับชาติจำนวนการเสียชีวิตจากการรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 38 ล้านคน(คิดเป็นร้อยละ 68 ของการเสียชีวิต)ในช่วง 10ปีที่ผ่านมา กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังก็เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของประเทศไทย โดยคนไทไทยป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ถึง 14 ล้านคนและเสียชีวิตไปกว่าปีละ 3 แสนคนและมีแนวโน้มที่จะมากขึี้นทุกปีส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 70 ปีและขณะนี้ข้อมูลชัดแล้วว่าขณะนี้โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุถหลักของการเสียชีวิตร้อยละ 75 ของการเสียชีวิตทั้งหมดหรือประมาณ 320000 คน /ปีในทุก 1 ชม.จะมีการเสียชีวิต 37 ราย ทั้งนี้ โรคติดต่อเรื้อรังที่พบมากคือ โรคหลอดเลือดสมอง รองลงมาคือหัวใจขาดเลือด ทางเดินหายใจอุดกั้น เบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงตามลำดับ (กระทรวงสาธารณสุขปี 2561) และสถิติของผู้ป่วยชุมชนซรีจาฮายา ที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มารับบริการในศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 ในปี 2563 จำนวน 20 ราย ปี 2564 จำนวน 23 ราย และในปี 2565 จำนวน 34 ราย ซึ่งชุมชนซรีจาฮายาเป็นชุมชนใหม่ มีประชากร 110 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 290 คน วัยเด็ก (อายุ 0-5 ปี) 10 คน , วัยเรียน (6-14 ปี) 56 คน , วัยทำงาน (15-59 ปี) 203 คน และวัยผู้สูงอายุ 21 คน เป็นชุมชนใหม่และจำนวนประชากรที่เป็นกลุ่มวัยทำงาน และสูงอายุป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คิดเป็นร้อยละ 15.1% ดังนั้น ผู้จัดทำโครงการเห็นว่าชุมชนซรีจาฮายาเป็นชุมชนขนาดเล็ก ซึ่งเป็นการท้าทายที่จะแก้ไขปัญหาได้ง่าย ที่ไม่ให้เกิดกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยรายใหม่ และชุมชนมีความพร้อมและประสงค์ที่จะให้แก้ปัญหา โรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนของตนเอง ซึ่งหากชุมชนมีความพร้อม การแก้ไขปัญโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจะมีควมยั่งยืนมากขึ้น ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 จึงได้จัดทำโครงการ "ชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค NCD" ชุมชนซรีจาฮายา เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2566 นี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองตามหลัก 3อ.2 ส.

ร้อยละของกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองตามหลัก 3อ.2 สไม่น้อยกว่าร้อยละ 80.

50.00 80.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมี ทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3 อ.2 ส

ร้อยละกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการจัดการตนเองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทีถูกต้องตามหลัก 3 อ.2 ส.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

20.00 50.00
3 เพื่อป้องกันไม่ให้มีกลุ่มเสี่ยง และลดกลุ่มป่วยรายใหม่และลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย

ร้อยละระดับความดันโลหิต/ระดับน้ำตาล รอบเอว ค่า BMI ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 50

20.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 แต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงาน และจัดทำเวทีประชาคม

ชื่อกิจกรรม
แต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงาน และจัดทำเวทีประชาคม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- แต่งตั้งคณะกรรมการการดำเนินงาน
- จัดทำเวทีประชาคม
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 50 คน x 1 มื้อ =1,500บาท
2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ = 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 1 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ต้องการแก้ไขเรื่องปัญหาสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1700.00

กิจกรรมที่ 2 เปิดโครงการ ชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค NCD ชุมชนซรีจาฮายา

ชื่อกิจกรรม
เปิดโครงการ ชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค NCD ชุมชนซรีจาฮายา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
- ประชาชนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 50 คน
- คณะทำงาน 10 คน
รวม 60 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. เปิดโครงการ
2. กิจกรรมออกกำลังกาย “เดิน -แอโรบิค เพื่อสุขภาพ”
3. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดสมอง อาการเตือนการจัดการหรือการ กิจกรรมกลุ่ม Workshop 3ฐาน (อาหารลดหวาน มัน เค็ม) และให้ความรู้การจัดการตนเองด้านอาหาร ฐานละ 10 นาที
5. อบรมให้ความรู้และสาธิตหลักการปลูกผักริมรั้ว
6. อบรมให้ความรู้การออกกำลังกายที่เหมาะสม
กำหนดการอบรม ดังนี้
เวลา 07.30 - 08.00 น. ลงทะเบียน/คัดกรองเบาหวานความดัน/Pretest
เวลา 08.01 - 08.30 น. พิธีเปิดโครงการ
เวลา 08.31 - 09.00 น. เปิดกิจกรรมเดิน-และ แอโรบิค
เวลา 09.01 - 10.00 น. บรรยายเรื่องโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดสมองและการจัดการตนเอง หรือการตระหนักถึงการป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดโรค NCD (โดยวิทยากรบรรยาย)
เวลา 10.01 - 12.00 น. บรรยายการการจัดการตนเองด้านอาหาร ลดหวาน มัน เค็ม กิจกรรมแบ่งกลุ่ม Work shop เรียนรู้อาหารหวาน มัน เค็ม 3 ฐาน และการอ่านฉลากอาหาร (โดยวิทยากรกลุ่ม 3 คน)
เวลา 12.01 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.01 - 14.00 น. บรรยายและสาธิต ปลูกผักปลอดสารพิษรั้วกินได้โดย วิทยากรเกษตรอำเภอ (โดยวิทยากรบรรยาย)
เวลา 14.01 - 15.00 น. บรรยายและสาธิตการออกกำลังกายที่เหมาะสม โดย วิทยากรจากชมรมแอโรบิคสวนสิรินธร (โดยวิทยากรบรรยาย)
เวลา 15.01 - 16.00 น. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยมีบุคคลต้นแบบ เรื่องเล่าประสบการณ์ชีวิตเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง
เวลา 16.01 น. ปิดโครงการ
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 60 คน x 2 มื้อ = 3,600 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 60 คน x 1 มื้อ = 3,600 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากร (บรรยาย) 3 คน x 600 บาท x 1 ช.ม. x 1 วัน = 1,800 บาท
4. ค่าตอบแทนวิทยากร (กลุ่ม) 3 คน x 300 บาท x 2 ช.ม. x 1 วัน =1,800 บาท
5. ค่าวัสดุจัดทำป้ายไวนิลโครงการ = 1,200 บาท
6. ค่าวัสดุอาหารทำ Work shop อาหารหวานมันเค็ม ฐานละ 200 บาท x 3 ฐาน = 600 บาท
7. ค่าวัสดุอุปกรณ์สาธิต (ปลูกผักสวนครัว) = 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มีนาคม 2566 ถึง 14 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละของกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส.ไม่่น้อยกว่าร้อยละ 80
ร้อยละของกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการจัดการตนเองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องตามหลัก 3อ.2ส.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
ระดับความดันโลหิต /ระดับน้ำตาล รอบเอว และค่าดัชนีมวลกายในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17600.00

กิจกรรมที่ 3 ฝึกการกายบริหารด้วยวิถีชุมชน เดิน - วิ่ง /รองเง็ง /แอโรบิค

ชื่อกิจกรรม
ฝึกการกายบริหารด้วยวิถีชุมชน เดิน - วิ่ง /รองเง็ง /แอโรบิค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
- ประชาชนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 50 คน และคณะทำงาน 10 คน รวม 60 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- กิจกรรมการออกกำลังกาย“ รองเง็ง/แอโรบิค”ทุกวันศุกร์ของสัปดาห์ เวลา 17.00-18.00 น. ณ ชุมชนซรีจาฮายา
งบประมาณ
1. ค่าตอบแทนผู้นำเต้น 1 คน X 300 บาท X 1 ช.ม. X 5 วัน = 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มีนาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง มีการออกกำลังกาย“ รองเง็ง/แอโรบิค”ทุกวันศุกร์ของสัปดาห์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสาธิตเมนูอาหารลดหวาน มัน เค็ม เพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสาธิตเมนูอาหารลดหวาน มัน เค็ม เพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
- ประชาชนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 50 คน
รายระเอียดกิจกรรม
- กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสาธิตเมนูอาหารลดหวาน มัน เค็ม เพื่อสุขภาพ
กำหนดการ ดังนี้
เวลา 07.30 - 08.30 น. ลงทะเบียน/คัดกรองเบาหวานความดัน/Post-test
เวลา 08.31 - 09.30 น. ตรวจ Body scan และวิเคราะห์ผลการตรวจสุขภาพ
เวลา 09.31 - 10.30 น. เปิดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องอาหารลดหวาน มัน เค็ม เพื่อสุขภาพ และอาหารโซนสี โดยนักโภชนาการและพยาบาลเฉพาะทางโรคไต
เวลา 10.01 - 12.00 น.การสาธิตเมนูอาหารลดหวาน มัน เค็ม เพื่อสุขภาพ โดยแบ่งกลุ่ม Work shop สาธิตเมนูอาหารลดหวาน มัน เค็ม เพื่อสุขภาพ 5 ครัวเรือน พร้อมบอกคุณค่าของอาหารแต่ละเมนูและทดสอบระดับความหวานและเค็มของอาหาร
เวลา 12.01 - 13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.01 - 14.00 น.สุ่มตรวจอาหารหวาน มัน เค็ม ใน 5 ครัวเรือนที่สาธิตเมนูอาหาร พร้อมกัน
เวลา 14.01 - 15.00 น.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้อาหารเฉพาะโรคที่เหมาะสม โดยนักโภชนาการและพยาบาลเฉพาะทางโรคไต
เวลา 15.01 - 16.00 น.ถอดบทเรียนและมอบประกาศนียบัตรให้ผู้ที่สาธิตเมนูอาหารลดหวาน มัน เค็ม เพื่อสุขภาพ 5 ครัวเรือน
เวลา 16.01 น. ปิดกิจกรรม
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน X 30 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน 50 คน X 60 บาท X 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
3. ค่าวัสดุจัดทำป้ายไวนิลศูนย์การจัดการสุขภาพในชุมชน เป็นเงิน 1,600 บาท
4. ค่าอาหารสาธิต 5 ครัวเรือน X 200 บาทเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 เมษายน 2566 ถึง 4 เมษายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสาธิตเมนูอาหารลดหวาน มัน เค็ม เพื่อสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามความก้าวหน้าหลังให้ความรู้และติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่่ยง โรคติดต่อไม่เรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามความก้าวหน้าหลังให้ความรู้และติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่่ยง โรคติดต่อไม่เรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
- ประชาชนกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 50 คน
- คณะทำงาน 10 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ติดตามประเมินความรู้โรคความดันโลหิตสูง เบาหวานและโรคหลอดเลือดสมอง
2. ติดตามเยี่ยมบ้านและสุ่มตรวจอาหารหวาน มัน เค็ม ในครัวเรือนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคหลอดเลือดสมอง ร่วมกับสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 10 คน เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2566 ถึง 2 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการติดตามความก้าวหน้าหลังให้ความรู้และติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่่ยง โรคติดต่อไม่เรื้อรัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,700.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองตามหลัก 3 อ. 2 ส.
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการมี ทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3 อ. 2 ส.
3. ไม่เกิดกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยรายใหม่ ลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วยมีสุขภาพดีถ้วนหน้า


>