กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ตำบลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

น.ส.กิรณา อรุณแสงสด โทร.082-7110256

เขตตำบลสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังอยู่ในภาวะพึ่งพิง ประกอบกับสถานการณ์ด้านประชากรที่บ่งชี้ว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า สังคมโลกจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ทำให้ผู้ดูแลผู้ป่วยและครอบครัวต้องประสบกับภาวะวิกฤตความเครียดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลแบบประคับประคอง (ผู้ป่วยระยะสุดท้าย) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากข้อมูลสถิติจำนวนผู้ป่วยประคับประคองในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ปี 2564 - 2566 พบผู้ป่วยโรคเรื้อรังอยู่ในภาวะพึ่งพิง จำนวน 89, 61 และ 82 รายตามลำดับ แต่ผู้ให้การดูแลผู้ป่วยยังขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะพื้นฐานที่จำเป็นในการดูแลผู้ป่วย
ดังนั้น การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แกนนำชุมชนในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจึงมีความสำคัญ เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติเกิดความมั่นใจ อีกทั้งเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดี การให้คำปรึกษา เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติมีความไว้วางใจในทีมสุขภาพ ทีมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ตำบลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในเขตตำบลสุไหงโก-ลกให้มีประสิทธิภาพ

ร้อยละของผู้ป่วยประคับประคองในเขตตำบลสุไหงโก-ลกได้รับการดูแล

40.00 80.00
2 เพื่อเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่ และแกนนำชุมชนในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน

ร้อยละของผู้เข้าอบรมมีความในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

50.00 80.00
3 เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการค้นหาผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชน

ร้อยละของผู้ป่วยระยะสุดท้ายในเขตตำบลสุไหงโก-ลกได้รับการดูแลต่อเนื่อง

36.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและเครือข่าย 55
แกนนำชุมชน 65 คน 65

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนทีมสหสาขาวิชาชีพ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนทีมสหสาขาวิชาชีพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ทีมสหสาขาวิชาชีพ จำนวน 10 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- ประสานบุคคลากรและทีมสหสาขาวิชาชีพ ร่วมกันวางแผนการทำงาน
กำหนดการ
09.00 - 12.00 น. ประชุมว่างแผนร่วมกันระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพ
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 10 คน = 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2566 ถึง 2 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รูปแบบและทีมสหวิชาชีพทราบบทบาทหน้าที่ในการจัดทำโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
300.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและเครือข่าย จำนวน 55 คน และแกนนำชุมชน 65 คน รวม จำนวน 110 คน โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น
- รุ่นที่ 1 เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและเครือข่าย จำนวน 55 คน (จัดอบรม 2 วัน)
- รุ่นที่ 2 แกนนำชุมชนในเขตตำบลสุไหงโก-ลก จำนวน 65 คน(จัดอบรม 1 วัน)
รายละเอียดกิจกรรม
- ประสานวิทยากร แพทย์หญิงนวลจันทร์หวังศุภดิลก จากโรงพยาบาลหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ. สงขลา
- จัดอบรมให้ความรู้ โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นที่ 1 เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและเครือข่าย จำนวน 55 คน จัดอบรม 2 วัน และรุ่นที่ 2 แกนนำชุมชนในเขตตำบลสุไหงโก-ลก จำนวน 65 คน จัดอบรม 1 วัน

กำหนดการ
วันที่ 1 (รุ่นที่ 1)
วันที่..... เดือนพฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ ชั้น 4 ตึกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน
08.31 - 08.45 น. แบบทดสอบก่อนอบรม
08.46 - 09.00 น. เปิดโครงการโดยผู้อำนวยการ
09.01 - 12.00 น. หลักการดูแล การวินิจฉัย,ข้อบ่งชี้และระบบการ Consult , การบริหารปวดในผู้ป่วยระยะท้ายและการนำยา morphine drive ไปใช้ที่บ้าน , ชนิดของยาในผู้ป่วยระยะสุดท้าย
12.01 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.01 - 16.00 น. หลักการดูแล:การบรรเทาอาการปวด,เหนื่อยหอบ และอาการรบกวนอื่นๆ , เรียนรู้ bedside techingและถอดบทเรียน bedside teching

วันที่ 2 (รุ่นที่ 1)
08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียน
08.31 - 09.00 น. ถอดบทเรียน bedside teching part 2
09.01 - 12.00 น. อบรมเรื่อง communication skill in palliative care , advance care plan , Grief and bereavement
12.01 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.01 - 16.00 น. การดูแลผู้ป่วยประคับประคองในห้องฉุกเฉิน , บทบาทของกัญชาในการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง , syringe driver and disposable use in palliative

วันที่ 3 (รุ่นที่ 2)
08.30 - 08.45 น. ลงทะเบียน
08.46 - 09.00 น. ทำแบบทดสอบก่อนอบรมฯ
09.01 - 12.00 น. อบรมเรื่อง บทบาท อสม.ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (ผู้ป่วยระยะสุดท้าย) และการค้นหา ประสานงานในการดูแลผู้ป่วยโดย นางเพ็ญนภามะหะหมัด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
12.01 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.01 - 16.00 น. หลักการดูแลเบื้องต้น การบรรเทาอาการปวด อาการเหนื่อยหอบและอาการรบกวนอื่นๆ เบื้องต้น โดย นางเพ็ญนภามะหะหมัด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
16.01 - 16.30 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง และทดสอบหลังการอบรม

งบประมาณ
- ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 6 ชม. x 3 วัน = 10,800 บาท
- ค่าเดินทางวิทยากร(หาดใหญ่-สุไหงโก-ลก ไป-กลับ) 266 กิโลเมตร x 4 บาท x 2 เที่ยว = 2,128 บาท
- ค่าที่พักวิทยากร 1,800 บาท x 2 คืน = 3,600 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 110 คน x 3 วัน = 19,800 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 110 คน x 2 มื้อ x 2 วัน = 19,800 บาท
- ค่าวัสดุ ได้แก่ กระดาษ chart ในการทำbedside teching กระดาษ post it เป็นต้น = 2,000 บาท
- ค่าถ่ายเอกสาร = 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤษภาคม 2566 ถึง 24 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
60128.00

กิจกรรมที่ 3 จัดระบบบริการให้บริการเยี่ยมบ้าน ประชุมทีมสหสาขาวิชาชีพและเครือข่ายติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
จัดระบบบริการให้บริการเยี่ยมบ้าน ประชุมทีมสหสาขาวิชาชีพและเครือข่ายติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยประคับประคอง จำนวน 15 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ร่วมกันประชุมปรึกษาโดยนำ case ผู้ป่วยมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมวางแผนในการเยี่ยมบ้านและให้การดูแลระยะยาว
2. จัดเตรียมอุปกรณ์ในการเยี่ยมผู้ป่วยและประสาน อสม. ในพื้นที่ ลงเยี่ยมผู้ป่วยร่วมกัน
3. ลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยประคับประคองจำนวน 15 คน (รวมทั้งหมด 15 ครั้ง)
งบประมาณ
- ค่าตอบแทน อสม.ลงเยี่ยมบ้าน 50 บาท x 2 คน x 2 ชม. x 15 ครั้ง = 3,000 บาท
- ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต 3,000 บาท x 1 เครื่อง = 3,000 บาท
- ค่า syringe ให้มอร์ฟีนแก้ปวดจำนวน 15 เครื่อง x 500 บาท = 7,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยระยะท้ายในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13500.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทีมสหสาขาวิชาชีพ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทีมสหสาขาวิชาชีพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ในเครือข่าย จำนวน 10 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- หลังเยี่ยมบ้านผู้ป่วยทุกครั้ง จะร่วมประชุมเพื่อถอดบทเรียนจากการเยี่ยมบ้าน และพัฒนาการดูแลผู้ป่วย
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 10 คน x 15 ครั้ง = 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กันยายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ชัดเจน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 78,428.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในเขตตำบลสุไหงโก-ลกมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้ป่วยแบบประคับประคองได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
2. เจ้าหน้าที่และแกนนำชุมชมีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชุมชนได้
3. ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและญาติเข้าถึงการดูแลแบบประคับประคองได้รวดเร็วและครอบคลุมมากขึ้น และได้รับการดูแลต่อเนื่อง


>