กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961

อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เด็กและเยาวชนเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ประจำปี 2566
2.
ชื่อ
check_box
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
กลุ่มคน
นายพิทักศิษย์พานิชธนาคม ผอ.กองสาธารณสุขฯ
นางสาวอรุณวาตีสิทธิเส็ม หัวหน้าฝ่ายบริการสาธารณสุข
นางสาวรอซีดาเจ๊ะแว พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการโทร. 064-0477513
นางสาวพนิดา รัตนสุริยา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 0973452068
3.
หลักการและเหตุผล

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือ “คิตาน ในภาษาอาหรับ” หรือ “ทำสุหนัต ที่ใช้ในภาษามลายู” เป็นแนวปฏิบัติของมุสลิมเพื่อการรักษาความสะอาด รวมทั้งช่วยป้องกันและลดปัญหาการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคซิฟิลิส โรคมะเร็ง นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร นายแพทย์ทรงคุณวุฒิด้านเวชกรรมป้องกัน กรมควบคุมโรค กล่าวในงานสัมมนาระดับชาติเรื่องโรคเอดส์ ครั้งที่ 12 ที่จัดขึ้น ณ อิมแพ็คเมืองทองธานี เปิดเผยถึงวิจัยที่ทำร่วมกับสหรัฐอเมริกา พบการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อ HIV ได้ร้อยละ 50-60 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้ จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า smegma หรือขี้เปียก หากมีหนังหุ้มไม่สามารถเปิดออกล้างได้ จะทำให้สารดังกล่าวคั่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อ รวมทั้งอาจเกิดมะเร็งที่องคชาติได้ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ผู้ขลิบจะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็กทารก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้ด้วย ผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกด้วย เด็กและเยาวชนมุสลิมในภาคใต้ มักจะทำสุนัตกับหมอบ้าน หรือ โต๊ะมูเด็ง เป็นเพราะความเชื่อและประเพณีของชุมชน ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า การทำสุนัตกับโต๊ะมูเด็งมักจะมีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น ภาวะเลือดออกมาก(bleeding) ทำให้เกิดภาวะช็อคหรือเกิดการติดเชื้อ เช่น ติดเชื้อตับอักเสบ เชื้อ HIV จากการใช้อุปกรณ์เครื่องมือร่วมกันโดยไม่ได้ล้างทำความสะอาดอย่างถูกวิธี อวัยวะเพศขาดจากภาวะเด็กดิ้น เป็นต้น ทางกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกจึงได้จัดทำโครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เด็กและเยาวชนเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกประจำปี 2566 นี้ขึ้น

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก (bleeding) ภายหลังการทำหัตถการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
    ตัวชี้วัด : เด็กและเยาวชนมุสลิมชาย ไม่เกิดการติดเชื้อและภาวะเลือดออกมาก (bleeding) ภายหลังการทำหัตถการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
    ขนาดปัญหา 10.00 เป้าหมาย 5.00
  • 2. เพื่อให้ความรู้ รณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    ตัวชี้วัด : ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อยู่ในระดับดี มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 80.00
  • 3. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมุสลิม สามารถเข้าถึงบริการด้านการส่งเสริมและการป้องกันโรค
    ตัวชี้วัด : มีผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 80.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เด็กและเยาวชนเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
    รายละเอียด

    กลุ่มเป้าหมาย เด็กและเยาวชนเพศชาย ในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จำนวน 120 คน ผุู้ปกครอง จำนวน 120 คน และเจ้าหน้าที่พร้อมคณะทำงาน 35 คน รวม 275 คน
    รายละเอียดกิจกรรม
    1. ขั้นเตรียมการ
    1.1 จัดประชุมหารือคณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ รวมถึงการประชาสัมพันธ์โครงการ
    1.2 ประชาสัมพันธ์และรับสมัครเด็กและเยาวชน ในเขตเทศบาลที่สนใจเข้าร่วมโครงการ
    1.3 ประสานทีมแพทย์/เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อกำหนดวันทำหัตถการขลิบฯ
    1.4 ประสานวิทยากรเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและเด็ก ในการดูแลหลังการทำหัตถการขลิบ
    1.5 จัดเตรียมสถานที่จัดกิจกรรม
    1.6 จัดซื้อจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
    2. ขั้นดำเนินงาน
    2.1 กิจกรรมการให้ความรู้เรื่อง การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision ) การเตรียมร่างกายก่อนและหลังทำหัตถการขลิบฯรวมถึงการป้องกันโรคติดต่อแก่เด็ก เยาวชน และผู้ปกครอง เพื่อให้มีความรู้เกิดความตระหนักในการดูแลตนเองและการป้องกันโรค
    2.2 กิจกรรมขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย(Circumcision) แก่เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการ
    2.3 กิจกรรมติดตามและประเมินผลเพื่อติดตามและประเมินอาการและผลข้างเคียงภายหลังการทำหัตถการขลิบฯ
    2.4 ในรายที่มีความผิดปกติหลังขลิบ เช่น มีอาการปวดแผลมากแผลบวมอักเสบมาก ปัสสาวะขัดมีเลือดออกมาก จะมีการประสานงานกับศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1,2 เพื่อประเมินอาการและรายงานให้ทีมแพทย์ทราบ เพื่อให้การรักษาเพิ่มเติม
    2.5 สรุปผลการดำเนินโครงการ รวมถึงประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองเด็กเก็บและรวบรวมข้อมูล

    กำหนดการ
    07.30 - 08.20 น. ลงทะเบียน
    08.21 - 08.30 น. พิธีเปิดโดยท่านนายกเทศมนตรีเมืองสุไหงโก-ลก
    08.31 - 11.30 น. อบรมให้ความรู้แก่เด็กและผู้ปกครอง เรื่องการดูแลแผลหลังขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศฯ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
    11.31 - 12.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
    12.31 - 15.30 น. ทำหัตถการ Circumcision
    - รอบที่ 1 ลำดับที่ 1 - 25
    - รอบที่ 2 ลำดับที่ 26 - 50
    - รอบที่ 3 ลำดับที่ 51 - 75
    - รอบที่ 4 ลำดับที่ 76 - 100
    - รอบที่ 5 ลำดับที่ 101 - 120
    หมายเหตุ รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.00 และ 14.00 น.
    งบประมาณ
    1. ค่าบริการทางการแพทย์รายละ 950 บาท x 120 คน รวมเป็นเงิน 114,000 บาท
    2. ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย 600 บาท x 3 ชม. x 1 คน เป็นเงิน 1,800 บาท
    3. ค่าวัสดุที่เกี่ยวข้อง เช่น ผ้าสะอาดหลังทำหัตถการ ฯลฯ เป็นเงิน 24,000 บาท
    5. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 275 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 16,500 บาท
    6. ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 275 คนเป็นเงิน 16,500 บาท
    7. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ 2 แผ่น เป็นเงิน 3,400 บาท
    8. ค่าป้ายโครงการ เป็นเงิน 1,200 บาท
    9. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ที่จำเป็นในโครงการ ได้แก่ ถุงขยะติดเชื้อ ผ้ายางปูเตียง ค่าเอกสารในการอบรม สมุด ปากกา เป็นต้นเป็นเงิน 5,000 บาท

    งบประมาณ 182,400.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 182,400.00 บาท

หมายเหตุ : สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. เด็กและเยาวชนมุสลิมชายที่เข้าร่วมโครงการไม่เกิดการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก (bleeding) ภายหลังการทำหัตถการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  3. เด็กและเยาวชนมุสลิม สามารถเข้าถึงบริการด้านการส่งเสริมและการป้องกันโรคมากยิ่งขึ้น
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961

อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก รหัส กปท. L6961

อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 182,400.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................