กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมและรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อในโรงเรียน ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

นายพิทักศิษย์พานิชธนาคม ผอ.กองสาธารณสุขฯ
นางสาวอรุณวาตีสิทธิเส็ม หัวหน้าฝ่ายบริการสาธารณสุข
นางสาวนัรกีส ยะปา ตำแหน่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขปฎิบัติงาน โทร 083-7502735

เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนเยาวชนในโรงเรียนต่างๆของเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อ

แบบทดสอบประเมินความรู้เรื่องโรคติดต่อก่อนอบรม

70.00
2 จำนวนของเด็กนักเรียนที่เป็นโรคติดต่อ เช่น โรคหวัด เหา โรคหิด กลากเกลื้อน เป็นต้น ในโรงเรียนเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

รายงานการตรวจสุขภาพประจำปี 2565 ของเด็กนักเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

188.00

โรงเรียน เป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก มีการคลุกคลีสัมผัสและทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายและติดต่อระหว่างกันได้ง่ายเมื่อเด็กเจ็บป่วย เด็กวัยเรียน ได้แก่ เด็กที่มีอายุ 6-12 ปี เป็นช่วงอายุที่อยู่ระหว่างการพัฒนาทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์สังคม และด้านสติปัญญา เด็กยังมีภูมิต้านทานโรคต่างๆ จากการสร้างเสริมคุ้มกันโรค แต่วัยเด็กเจ็บป่วยและติดเชื้อได้ง่ายกว่าวัยอื่นๆ เนื่องจากความต้านทานโรคต่ำ โรคที่พบได้บ่อยในเด็ก ได้แก่ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อของอวัยวะต่างๆในร่างกาย เช่น โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร โรคติดต่อทางเชื้อไวรัส และโรคติดต่อทางผิวหนัง เป็นต้น การเจ็บป่วยในวัยนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการและสุขภาพโดยรวมของเด็ก ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่เริ่มป่วยอาจทำให้การเจ็บป่วยมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงเสียชีวิตได้ และยังส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทำให้ชะงักหรือล่าช้า ดังนั้นการป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการที่จะช่วยลดและแก้ไขปัญหาการเจ็บป่วยจากโรคติดต่อที่พบได้บ่อยของเด็กวัยเรียนภายในโรงเรียนได้
จากรายงานข้อมูลการตรวจสุขภาพประจำปี 2565 ของเด็กนักเรียนในโรงเรียนเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกทั้ง 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล1-4 อ้างอิงข้อมูลจากกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก พบว่า ในปีพ.ศ.2565 ตั้งแต่วันที่ 8 - 11 สิงหาคม 2565 มีเด็กนักเรียนเป็นเหาจำนวน 166 ราย โรคไข้หวัดจำนวน 16 ราย โรคกลากเกลื้อนจำนวน 3 ราย และโรคอื่นๆจำนวน 3 ราย ปีพ.ศ.2564 ไม่มีรายงานเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 และปีพ.ศ.2563 มีเด็กนักเรียนเป็นเหาจำนวน 185 ราย โรคไข้หวัดจำนวน 11 ราย โรคหิดจำนวน 15 รายโรคกลากเกลื้อนจำนวน 15 ราย และโรคอื่นๆจำนวน 38 ราย ซึ่งโรคติดต่อเหล่านี้ สามารถติดต่อกันได้จากการหายใจเอาละอองอากาศที่มีเชื้อปนอยู่เข้าไป การไอหรือจามรดกัน และการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน รวมทั้งการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเข้าไป หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีอาจทำให้เกิดการเรื้อรังและลุกลามได้ ก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็น ทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ เสียความมั่นใจในตนเอง และยังเป็นพาหะนำไปติดผู้อื่นต่อไปได้
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขอนามัยของเด็กนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรค ลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อในโรงเรียน และได้ทราบถึงความสำคัญของสุขภาพอนามัย รวมถึงเป็นการส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพที่แข็งแรง และปลอดจากโรคต่างๆ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อและการป้องกัน

เด็กนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมากขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

40.00 70.00
2 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อ ในเด็กนักเรียนโรงเรียนเขตเทศบาล

อัตราป่วยของเด็กนักเรียนในโรงเรียนเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกลดลงจากปีที่ผ่านมาไม่เกินร้อยละ 40

80.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อในโรงเรียนแก่นักเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อในโรงเรียนแก่นักเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
- แกนนำนักเรียนโรงเรียนละ 25 คน ในเขตเทศบาล 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล 1-4 (ในช่วงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ) จำนวน 100 คน
- คณะทำงาน 10 คน
รวม 110 คน
รายละเอียดกิจกรรม ดังนี้
- ประชุมโรงเรียนทั้ง 4 โรงเรียนและคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
- จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
- ประสานโรงเรียน ประสานวิทยากร และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- จัดเตรียมเนื้อหาเอกสารการจัดอบรม และจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม
- จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
- กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวการดูแลตนเอง การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในโรงเรียน และกิจกรรมเสริมทักษะการดูแลตนเองของเด็กนักเรียนให้ปลอดโรคพร้อมประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม
กำหนดการ ดังนี้
08.30 - 08.45 น. ลงทะเบียน
08.46 - 09.00 น. เปิดโครงการ
09.01 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลตนเอง การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในโรงเรียน ได้แก่ โรคหิด เหา และกลากเกลื้อน และโรคติดต่ออื่นๆ แก่เด็กนักเรียน และกิจกรรมเสริมทักษะการดูแลตนเองของเด็กนักเรียนให้ปลอดโรค วิทยากรโดยงานควบคุมโรค รพ.สุไหงโก-ลก
งบประมาณ ดังนี้
- ค่าวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คน x 600 บาท x 3 ชม. เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 110 คน x 30 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,300 บาท
- ค่าจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการอบรม เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าจัดโปสเตอร์ให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อ เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าป้ายโครงการเป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคติดต่อในโรงเรียนมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,800.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อและมีการป้องกัน เฝ้าระวังและควบคุมโรคต่อในโรงเรียนมากขึ้น
2. ลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อของเด็กนักเรียนในโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก


>