กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมและรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อในโรงเรียน ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L6961-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 4 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 9,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนัรกีส ยะปา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนเยาวชนในโรงเรียนต่างๆของเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อ

แบบทดสอบประเมินความรู้เรื่องโรคติดต่อก่อนอบรม

70.00
2 จำนวนของเด็กนักเรียนที่เป็นโรคติดต่อ เช่น โรคหวัด เหา โรคหิด กลากเกลื้อน เป็นต้น ในโรงเรียนเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

รายงานการตรวจสุขภาพประจำปี 2565 ของเด็กนักเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

188.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรงเรียน เป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก มีการคลุกคลีสัมผัสและทำกิจกรรมร่วมกัน ทำให้เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายและติดต่อระหว่างกันได้ง่ายเมื่อเด็กเจ็บป่วย เด็กวัยเรียน ได้แก่ เด็กที่มีอายุ 6-12 ปี เป็นช่วงอายุที่อยู่ระหว่างการพัฒนาทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์สังคม และด้านสติปัญญา เด็กยังมีภูมิต้านทานโรคต่างๆ จากการสร้างเสริมคุ้มกันโรค แต่วัยเด็กเจ็บป่วยและติดเชื้อได้ง่ายกว่าวัยอื่นๆ เนื่องจากความต้านทานโรคต่ำ โรคที่พบได้บ่อยในเด็ก ได้แก่ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อของอวัยวะต่างๆในร่างกาย เช่น โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร โรคติดต่อทางเชื้อไวรัส และโรคติดต่อทางผิวหนัง เป็นต้น การเจ็บป่วยในวัยนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการและสุขภาพโดยรวมของเด็ก ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่เริ่มป่วยอาจทำให้การเจ็บป่วยมีอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงเสียชีวิตได้ และยังส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทำให้ชะงักหรือล่าช้า ดังนั้นการป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการที่จะช่วยลดและแก้ไขปัญหาการเจ็บป่วยจากโรคติดต่อที่พบได้บ่อยของเด็กวัยเรียนภายในโรงเรียนได้ จากรายงานข้อมูลการตรวจสุขภาพประจำปี 2565 ของเด็กนักเรียนในโรงเรียนเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกทั้ง 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล1-4 อ้างอิงข้อมูลจากกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก พบว่า ในปีพ.ศ.2565 ตั้งแต่วันที่ 8 - 11 สิงหาคม 2565 มีเด็กนักเรียนเป็นเหาจำนวน 166 ราย โรคไข้หวัดจำนวน 16 ราย โรคกลากเกลื้อนจำนวน 3 ราย และโรคอื่นๆจำนวน 3 ราย ปีพ.ศ.2564 ไม่มีรายงานเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 และปีพ.ศ.2563 มีเด็กนักเรียนเป็นเหาจำนวน 185 ราย โรคไข้หวัดจำนวน 11 ราย โรคหิดจำนวน 15 รายโรคกลากเกลื้อนจำนวน 15 ราย และโรคอื่นๆจำนวน 38 ราย ซึ่งโรคติดต่อเหล่านี้ สามารถติดต่อกันได้จากการหายใจเอาละอองอากาศที่มีเชื้อปนอยู่เข้าไป การไอหรือจามรดกัน และการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน รวมทั้งการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเข้าไป หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีอาจทำให้เกิดการเรื้อรังและลุกลามได้ ก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็น ทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ เสียความมั่นใจในตนเอง และยังเป็นพาหะนำไปติดผู้อื่นต่อไปได้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขอนามัยของเด็กนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรค ลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อในโรงเรียน และได้ทราบถึงความสำคัญของสุขภาพอนามัย รวมถึงเป็นการส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพที่แข็งแรง และปลอดจากโรคต่างๆ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อและการป้องกัน

เด็กนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมากขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

40.00 70.00
2 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อ ในเด็กนักเรียนโรงเรียนเขตเทศบาล

อัตราป่วยของเด็กนักเรียนในโรงเรียนเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกลดลงจากปีที่ผ่านมาไม่เกินร้อยละ 40

80.00 40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,800.00 1 9,800.00
1 มี.ค. 66 - 30 มิ.ย. 66 กิจกรรมจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อในโรงเรียนแก่นักเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก 0 9,800.00 9,800.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อและมีการป้องกัน เฝ้าระวังและควบคุมโรคต่อในโรงเรียนมากขึ้น
  2. ลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อของเด็กนักเรียนในโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2565 00:00 น.