กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนารูปแบบการดูแลเฝ้าระวังป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา

-

เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา ได้แก่ หมู่ที่3 หมู่ที่12 หมู่ที่14 หมู่ที่15 หมู่ที่16 ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองโรคซึมเศร้า(2Q)

 

75.00
2 ร้อยละของผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการคัดกรองโรคซึมเศร้า(2Q)

 

51.83
3 อัตราการฆ่าตัวตาย(ต่อแสนประชากร)

 

32.28

การฆ่าตัวตายและการพยายามฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ซึงส่งผลกระทบต่อตนเองครอบครัวและสังคมโดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญนำไปสู่การฆ่าตัวตายมีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัยที่ควรร่วมมือกันเฝ้าระวังและป้องกันอย่างจริงจัง ได้แก่ ปัญหาความสัมพันธ์ เช่น การน้อยใจ ถูกดุด่า โดนตำหนิ ทะเลาะกับคนใกล้ชิด หุนหันพลันแล่น ถูกนอกใจรวมไปถึง มีปัญหาติดสุรา ยาเสพติด ทรมานจากโรคเรื้อรัง มีภ่วะป่วยทางจิต โรคซึมเศร้าอยู่เดิม เคยทำร้ายตัวเองมาก่อน ตลอดจนมีปัญหาเศรษฐกิจเป็นต้นแม้ว่าที่ผ่านมา รพ.สต.บ้านศาลาตำเสามีการดำเนินการคัดกรองแฝ้าระวังปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องในปี 2565 พบว่ามีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 1 ราย คิดเป็น 32.28 ต่อแสนประชากร
จากข้อมูลการปฏิบัติงานปีงบประมาณ 2565พบว่า พบว่า ผู้ป่วยที่เข้าถึงบริการส่วนใหญ่คือผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดที่สูญเสียความสามารถในการควบคุมตัวเองก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเอง ชุมชน สังคม เป็นผู้ป่วยที่เข้าถึงบริการเมื่อมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ไม่ได้พบจากการคัดกรอง ในส่วนผู้ที่ฆ่าตัวตายทั้งสองรายจากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ทั้งสองเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ใช้แอลกอฮอล์เป็นประจำและที่ผ่านมาไม่เคยได้รับการคัดกรอง ๒Q,๙Q และ ๘ Q มาก่อน เนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือและไม่เคยมีประวัติมารับบริการประเภทใดๆในหน่วยปฐมภูมิเลย ส่วนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พบว่าผู้ป่วยหรือญาติจะมารับยาในช่วงที่มีอาการ เมื่อมีอาการดีขึ้นก็จะไม่มาตามนัด ขาดการรักษาต่อเนื่องส่งผลให้ผู้ป่วยขาดยาและผู้ป่วยโรคจิตเวชมีอาการทางจิตกำเริบซ้ำ
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจึงพบว่า การดูแลเฝ้าระวังป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในกลุ่มเสี่ยง ของ รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา มีความครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายต่ำทำให้การเข้าถึงบริการน้อยไปด้วย ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องจึงร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาทางแก้ไข ซึ่งจากการศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จนั้น พบว่ามีผลการศึกษาทางวิชาการรายงานไว้ว่า “การป้องกันโรคซึมเศร้าที่ได้ผลคือ Early detection และให้การช่วยเหลือทันทีตั้งแต่เริ่มมีอาการโดยมีเครื่องมือประเมินที่ง่ายและมีความไวในการประเมิน ใช้ง่ายเหมาะสมสำหรับใช้ในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) แกนนำชุมชนหรือประชาชนทั่วไปก็สามารถนำมาใช้ในการประเมินตนเองได้ด้วยตนเอง” เครื่องมือที่กล่าวถึงเรียกว่า แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายหรือ DS8 ที่พัฒนาโดย ทวี ตั้งเสรีและคณะ (2561)
รูปแบบของแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้านี้มี 2 องค์ประกอบ คือ Mood and cognitive behavior component และ somatic component โดยมีความความไว ร้อยละ 98.9 ความจำเพาะ ร้อยละ 71.9 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคัดกรองความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายจะเหลือเพียงองค์ประกอบเดียว คือ Suicidal intention มีคำถาม 2 ข้อ มีค่าความไว ร้อยละ 89.1 ความจำเพาะ ร้อยละ 89.4 แบบคัดกรองจึงแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ใช้คัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า (ข้อ 1-6 ) และส่วนที่ 2 ใช้คัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (ข้อที่ 7-8) โดยมีข้อดีคือ เป็นแบบคัดกรองที่ง่ายและสะดวกต่อการนำไปใช้ในชุมชน ถ้าผลประเมินพบว่า ถ้าตอบว่ามีตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไป หรือ 3 คะแนนขึ้นไป ในคำถามข้อที่ 1-6 ซึ่งเป็นคำถามของแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า ก็จะหมายถึงมีภาวะซึมเศร้า ต้องได้รับการให้บริการปรึกษาหรือพบแพทย์เพื่อการบำบัดรักษา และถ้าตอบว่า “มี” ตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไป หรือ 1 คะแนนขึ้นไป ในคำถามข้อที่ 7 – 8 ซึ่งเป็นคำถามของแบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย จะหมายถึง “มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย” จำเป็นต้องให้การดูแลเบื้องต้นทันที ก่อนจะดำเนินการพิจารณาวางแผนให้การช่วยเหลืออย่างอื่น
ดังนั้น เพื่อการป้องกันและแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา จึงได้จัดทำโครงการพัฒนารูปแบบการดูแลเฝ้าระวังป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ปีงบประมาณ 2565 ขึ้น โดยใช้แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย หรือ Ds8 เป็นเครื่องมือในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโดยอาศัยความร่วมมือจากชุมชนและภาคีเครือข่ายในพื้นที่ผลักดันให้เกิดการดำเนินงานตามแนวคิด “หัวใจมีหู ของกรมสุขภาพจิต” ทั้งนี้ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่มีความเข้าใจต่อสัญญาณเตือนภัยฆ่าตัวตาย 10 ประการและเห็นความสำคัญของ “การฟังด้วยหัวใจ” ใช้หัวใจฟังให้ได้ยินในวันที่เขายังมีลมหายใจอยู่ เพื่อช่วยหยุดยั้งและฉุดคนจากการคิดฆ่าตัวตายและให้การช่วยเหลือเบื้องต้นได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนสามารถออกแบบการป้องกันการฆ่าตัวตายที่สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ตนเองได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาแกนนำในชุมชน ให้มีความรู้เรื่อง คู่มือ 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตายสามารถค้นหา เฝ้าระวังและแจ้งเหตุได้

เกิดแกนนำชุมชนผ่านการประเมินความรู้เรื่องงานสุขภาพจิตชุมชนคู่มือ 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตาย และสามารถค้นหา เฝ้าระวังและแจ้งเหตุ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐

90.00
2 สร้างรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการในพื้นที่ ที่ครอบคลุมทั้งการคัดกรองการนำ 10 สัญญาณเตือนภัย ในการฆ่าตัวตายมาใช้ในชุมชนและครัวเรือนแจ้งข่าวการส่งต่อการดูแลเบื้องต้น

มีรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จ ใช้ในสถานบริการและพื้นที่

1.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงคือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ใช้สารเสพติด/แอลกอฮอล์ ได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

ประชากรกลุ่มเสี่ยงคือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง,ผู้สูงอายุ และผู้ใช้สุรายาเสพติดได้รับการประเมิน 2Q,9Q และ 8Q ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

51.83 80.00
4 เพื่อติดตามและดูแลผู้ที่มีความเสี่ยงและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินสุขภาพจิตตามรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 601
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 420
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2023

กำหนดเสร็จ 20/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนในการดูแลสุขภาพจิตการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย
งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ผู้เกี่ยวข้อง,วิทยากร 5 คน และผู้เข้ารับการอบรม 69 คน รวมเป็น 74 คนx1มื้อx25บาท เป็นเงิน 1,850 บาท
2.ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชม. เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 มิถุนายน 2566 ถึง 24 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1.เกิดแกนนำชุมชนในการดูแลสุขภาพจิตและการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย จำนวน 69 คน
ผลลัพธ์
1.แกนนำชุมชนมีความรู้เรื่องการป้องกันและแก้ไข้ปัญหาสุขภาพจิต ให้คำปรึกษาหลักการพยาบาลทางจิตเบื้องต้นได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3650.00

กิจกรรมที่ 2 สร้างรูปแบบและแนวทางการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ในสถานบริการ ในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
สร้างรูปแบบและแนวทางการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ในสถานบริการ ในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สร้างรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการในพื้นที่ ที่ครอบคลุมทั้งการคัดกรองการนำ 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตายมาใช้ในชุมชนและครัวเรือนแจ้งข่าวการส่งต่อการดูแลเบื้องต้น
1. ร่วมประชุมร่วมกับอสม.เพื่อสร้างรูปแบบและแนวทางการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการในพื้นที่
ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มีนาคม 2566 ถึง 9 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
มีรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการในพื้นที่อย่างชัดเจน
ผลลัพธ์
ลดอัตราการฆ่าตัวตายในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 คัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย(depress and Suicide Screening test : DS8) ในกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย(depress and Suicide Screening test : DS8) ในกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.คัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย(depress and Suicide Screening test : DS8) ในกลุ่มเป้าหมายโดยคัดกรองภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย ด้วยคำถาม 2Q,9Q และ 8Q โดยเจ้าหน้าที่และ อสม. เชียวชาญสุขภาพจิต
ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศ้ามากกว่าหรือเท่ากับ    ร้อยละ 80 ผลผลิต ผู้ที่มีภาวะความเสี่ยงซึมเศร้าได้รับการรักษาต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 เยี่ยมบ้านและประชาสัมพันธ์ “10 สัญญาณเตือนภัยฆ่าตัวตาย ฟังด้วยหัวใจให้ได้ยิน ในวันที่เขายังมีลมหายใจอยู่”

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมบ้านและประชาสัมพันธ์ “10 สัญญาณเตือนภัยฆ่าตัวตาย ฟังด้วยหัวใจให้ได้ยิน ในวันที่เขายังมีลมหายใจอยู่”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เยี่ยมบ้านโดย จนท.อสม.และแกนนำสุขภาพจิตชุมชนให้ความรู้เรื่อง 10 สัญญาณเตือนภัยฆ่าตัวตาย 2.ประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวและจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์“10 สัญญาณเตือนภัยฆ่าตัวตาย ฟังด้วยหัวใจให้ได้ยิน ในวันที่เขายังมีลมหายใจอยู่” ติดตั้งที่ศูนย์กลางของชุมชนแต่ละหมู่บ้าน
งบประมาณ
1. ค่าจัดทำป้าย 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตายฟังด้วยหัวใจให้ได้ยิน ในวันที่เขายังมีลมหายใจอยู่” ขนาด 1.5X2 ม.พร้อมโครงติดตั้ง ราคา 750 บาท จำนวน 1 ป้าย รวมเป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1.ผู้ที่มีความเสี่ยงและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
ผลลัพธ์
1.ผู้ที่มีความเสี่ยงและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้รับการรักษาอย่าต่อเนื่อง อัตราการฆ่าตัวตายในพื้นที่ลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.แกนนำชุมชนได้รับความรู้เรื่องงานสุขภาพจิตชุมชนคู่มือ 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตาย และสามารถค้นหา เฝ้าระวังและแจ้งเหตุ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐
2.มีรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จ ใช้ในสถานบริการและพื้นที่
3.ประชากรกลุ่มเสี่ยงคือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง,ผู้สูงอายุ และผู้ใช้สุรายาเสพติดได้รับการประเมิน 2Q,9Q และ 8Q ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
4.ผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินสุขภาพจิตตามรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการและได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90


>