กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง รหัส กปท. L8415

อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการพัฒนารูปแบบการดูแลเฝ้าระวังป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ปีงบประมาณ 2566
2.
ชื่อ
check_box
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา
กลุ่มคน
-
3.
หลักการและเหตุผล

การฆ่าตัวตายและการพยายามฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ซึงส่งผลกระทบต่อตนเองครอบครัวและสังคมโดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญนำไปสู่การฆ่าตัวตายมีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัยที่ควรร่วมมือกันเฝ้าระวังและป้องกันอย่างจริงจัง ได้แก่ ปัญหาความสัมพันธ์ เช่น การน้อยใจ ถูกดุด่า โดนตำหนิ ทะเลาะกับคนใกล้ชิด หุนหันพลันแล่น ถูกนอกใจรวมไปถึง มีปัญหาติดสุรา ยาเสพติด ทรมานจากโรคเรื้อรัง มีภ่วะป่วยทางจิต โรคซึมเศร้าอยู่เดิม เคยทำร้ายตัวเองมาก่อน ตลอดจนมีปัญหาเศรษฐกิจเป็นต้นแม้ว่าที่ผ่านมา รพ.สต.บ้านศาลาตำเสามีการดำเนินการคัดกรองแฝ้าระวังปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องในปี 2565 พบว่ามีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 1 ราย คิดเป็น 32.28 ต่อแสนประชากร
จากข้อมูลการปฏิบัติงานปีงบประมาณ 2565พบว่า พบว่า ผู้ป่วยที่เข้าถึงบริการส่วนใหญ่คือผู้ป่วยโรคจิตจากสารเสพติดที่สูญเสียความสามารถในการควบคุมตัวเองก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเอง ชุมชน สังคม เป็นผู้ป่วยที่เข้าถึงบริการเมื่อมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ไม่ได้พบจากการคัดกรอง ในส่วนผู้ที่ฆ่าตัวตายทั้งสองรายจากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ทั้งสองเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ใช้แอลกอฮอล์เป็นประจำและที่ผ่านมาไม่เคยได้รับการคัดกรอง ๒Q,๙Q และ ๘ Q มาก่อน เนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือและไม่เคยมีประวัติมารับบริการประเภทใดๆในหน่วยปฐมภูมิเลย ส่วนผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พบว่าผู้ป่วยหรือญาติจะมารับยาในช่วงที่มีอาการ เมื่อมีอาการดีขึ้นก็จะไม่มาตามนัด ขาดการรักษาต่อเนื่องส่งผลให้ผู้ป่วยขาดยาและผู้ป่วยโรคจิตเวชมีอาการทางจิตกำเริบซ้ำ จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจึงพบว่า การดูแลเฝ้าระวังป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในกลุ่มเสี่ยง ของ รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา มีความครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายต่ำทำให้การเข้าถึงบริการน้อยไปด้วย ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิตร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องจึงร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาทางแก้ไข ซึ่งจากการศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จนั้น พบว่ามีผลการศึกษาทางวิชาการรายงานไว้ว่า “การป้องกันโรคซึมเศร้าที่ได้ผลคือ Early detection และให้การช่วยเหลือทันทีตั้งแต่เริ่มมีอาการโดยมีเครื่องมือประเมินที่ง่ายและมีความไวในการประเมิน ใช้ง่ายเหมาะสมสำหรับใช้ในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) แกนนำชุมชนหรือประชาชนทั่วไปก็สามารถนำมาใช้ในการประเมินตนเองได้ด้วยตนเอง” เครื่องมือที่กล่าวถึงเรียกว่า แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายหรือ DS8 ที่พัฒนาโดย ทวี ตั้งเสรีและคณะ (2561) รูปแบบของแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้านี้มี 2 องค์ประกอบ คือ Mood and cognitive behavior component และ somatic component โดยมีความความไว ร้อยละ 98.9 ความจำเพาะ ร้อยละ 71.9 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคัดกรองความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายจะเหลือเพียงองค์ประกอบเดียว คือ Suicidal intention มีคำถาม 2 ข้อ มีค่าความไว ร้อยละ 89.1 ความจำเพาะ ร้อยละ 89.4 แบบคัดกรองจึงแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ใช้คัดกรองผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า (ข้อ 1-6 ) และส่วนที่ 2 ใช้คัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (ข้อที่ 7-8) โดยมีข้อดีคือ เป็นแบบคัดกรองที่ง่ายและสะดวกต่อการนำไปใช้ในชุมชน ถ้าผลประเมินพบว่า ถ้าตอบว่ามีตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไป หรือ 3 คะแนนขึ้นไป ในคำถามข้อที่ 1-6 ซึ่งเป็นคำถามของแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า ก็จะหมายถึงมีภาวะซึมเศร้า ต้องได้รับการให้บริการปรึกษาหรือพบแพทย์เพื่อการบำบัดรักษา และถ้าตอบว่า “มี” ตั้งแต่ 1 ข้อขึ้นไป หรือ 1 คะแนนขึ้นไป ในคำถามข้อที่ 7 – 8 ซึ่งเป็นคำถามของแบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย จะหมายถึง “มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย” จำเป็นต้องให้การดูแลเบื้องต้นทันที ก่อนจะดำเนินการพิจารณาวางแผนให้การช่วยเหลืออย่างอื่น ดังนั้น เพื่อการป้องกันและแก้ปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา จึงได้จัดทำโครงการพัฒนารูปแบบการดูแลเฝ้าระวังป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ปีงบประมาณ 2565 ขึ้น โดยใช้แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย หรือ Ds8 เป็นเครื่องมือในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโดยอาศัยความร่วมมือจากชุมชนและภาคีเครือข่ายในพื้นที่ผลักดันให้เกิดการดำเนินงานตามแนวคิด “หัวใจมีหู ของกรมสุขภาพจิต” ทั้งนี้ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่มีความเข้าใจต่อสัญญาณเตือนภัยฆ่าตัวตาย 10 ประการและเห็นความสำคัญของ “การฟังด้วยหัวใจ” ใช้หัวใจฟังให้ได้ยินในวันที่เขายังมีลมหายใจอยู่ เพื่อช่วยหยุดยั้งและฉุดคนจากการคิดฆ่าตัวตายและให้การช่วยเหลือเบื้องต้นได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนสามารถออกแบบการป้องกันการฆ่าตัวตายที่สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ตนเองได้

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อพัฒนาแกนนำในชุมชน ให้มีความรู้เรื่อง คู่มือ 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตายสามารถค้นหา เฝ้าระวังและแจ้งเหตุได้
    ตัวชี้วัด : เกิดแกนนำชุมชนผ่านการประเมินความรู้เรื่องงานสุขภาพจิตชุมชนคู่มือ 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตาย และสามารถค้นหา เฝ้าระวังและแจ้งเหตุ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 90.00
  • 2. สร้างรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการในพื้นที่ ที่ครอบคลุมทั้งการคัดกรองการนำ 10 สัญญาณเตือนภัย ในการฆ่าตัวตายมาใช้ในชุมชนและครัวเรือนแจ้งข่าวการส่งต่อการดูแลเบื้องต้น
    ตัวชี้วัด : มีรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จ ใช้ในสถานบริการและพื้นที่
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 1.00
  • 3. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงคือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ใช้สารเสพติด/แอลกอฮอล์ ได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
    ตัวชี้วัด : ประชากรกลุ่มเสี่ยงคือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง,ผู้สูงอายุ และผู้ใช้สุรายาเสพติดได้รับการประเมิน 2Q,9Q และ 8Q ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 51.83 เป้าหมาย 80.00
  • 4. เพื่อติดตามและดูแลผู้ที่มีความเสี่ยงและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
    ตัวชี้วัด : ผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินสุขภาพจิตตามรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน
    รายละเอียด

    1.อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนในการดูแลสุขภาพจิตการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย
    งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ผู้เกี่ยวข้อง,วิทยากร 5 คน และผู้เข้ารับการอบรม 69 คน รวมเป็น 74 คนx1มื้อx25บาท เป็นเงิน 1,850 บาท
    2.ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชม. เป็นเงิน 1,800 บาท

    งบประมาณ 3,650.00 บาท
  • 2. สร้างรูปแบบและแนวทางการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ในสถานบริการ ในพื้นที่
    รายละเอียด

    สร้างรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการในพื้นที่ ที่ครอบคลุมทั้งการคัดกรองการนำ 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตายมาใช้ในชุมชนและครัวเรือนแจ้งข่าวการส่งต่อการดูแลเบื้องต้น
    1. ร่วมประชุมร่วมกับอสม.เพื่อสร้างรูปแบบและแนวทางการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการในพื้นที่
    ไม่ใช้งบประมาณ

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 3. คัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย(depress and Suicide Screening test : DS8) ในกลุ่มเป้าหมาย
    รายละเอียด

    1.คัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย(depress and Suicide Screening test : DS8) ในกลุ่มเป้าหมายโดยคัดกรองภาวะซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย ด้วยคำถาม 2Q,9Q และ 8Q โดยเจ้าหน้าที่และ อสม. เชียวชาญสุขภาพจิต
    ไม่ใช้งบประมาณ

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 4. เยี่ยมบ้านและประชาสัมพันธ์ “10 สัญญาณเตือนภัยฆ่าตัวตาย ฟังด้วยหัวใจให้ได้ยิน ในวันที่เขายังมีลมหายใจอยู่”
    รายละเอียด

    1.เยี่ยมบ้านโดย จนท.อสม.และแกนนำสุขภาพจิตชุมชนให้ความรู้เรื่อง 10 สัญญาณเตือนภัยฆ่าตัวตาย 2.ประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวและจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์“10 สัญญาณเตือนภัยฆ่าตัวตาย ฟังด้วยหัวใจให้ได้ยิน ในวันที่เขายังมีลมหายใจอยู่” ติดตั้งที่ศูนย์กลางของชุมชนแต่ละหมู่บ้าน
    งบประมาณ
    1. ค่าจัดทำป้าย 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตายฟังด้วยหัวใจให้ได้ยิน ในวันที่เขายังมีลมหายใจอยู่” ขนาด 1.5X2 ม.พร้อมโครงติดตั้ง ราคา 750 บาท จำนวน 1 ป้าย รวมเป็นเงิน 750 บาท

    งบประมาณ 750.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึง 20 กันยายน 2566

8.
สถานที่ดำเนินการ

เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา ได้แก่ หมู่ที่3 หมู่ที่12 หมู่ที่14 หมู่ที่15 หมู่ที่16 ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 4,400.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1.แกนนำชุมชนได้รับความรู้เรื่องงานสุขภาพจิตชุมชนคู่มือ 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตาย และสามารถค้นหา เฝ้าระวังและแจ้งเหตุ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๐ 2.มีรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายสำเร็จ ใช้ในสถานบริการและพื้นที่ 3.ประชากรกลุ่มเสี่ยงคือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง,ผู้สูงอายุ และผู้ใช้สุรายาเสพติดได้รับการประเมิน 2Q,9Q และ 8Q ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 4.ผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินสุขภาพจิตตามรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการและได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง รหัส กปท. L8415

อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง รหัส กปท. L8415

อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 4,400.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................