กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดซีด ลดเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ1 โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก

นาง กติมาณ มะรอเซ๊ะ 0846314786
นางสาว ธณัทชาอาแว

ศุนย์แพทย์ใกล้ใจ1

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะโลหิตจางในระยะตั้งครรภ์เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สาคัญในหลายประเทศทั่วโลก ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจำนวน ร้อยละ 80 มีความชุกของการเกิดภาวะโลหิตจางในระยะตั้งครรภ์สูงกว่าร้อยละ 20 (Garzon, Cacciato, Certelli, Salvaggio, Magliarditi, & Rizzo, 2020) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในขณะตั้งครรภ์จะส่งผลให้ปริมาณพลาสมาเพิ่มขึ้นมากกว่าจำนวนเม็ดเลือดแดง ส่งผลให้สตรีตั้งครรภ์มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางเพิ่มมากขึ้น (Cunningham et al., 2013) องค์การอนามัยโลกกำหนดเกณฑ์วินิจฉัยภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์จากค่าฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ที่ต่ำกว่า 11 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือค่าความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง (Hematocrit) ที่น้อยกว่า 33 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ (Tana, & Wanapirak, 2017) ประเทศไทย พบภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ระหว่าง พ.ศ.2563-2565เท่ากับ ร้อยละ 14.29, 14.69 และ 16.88 ตามลำดับ (DOH DASHBORD, 2022) โดยพบว่าในเขตสุขภาพที่ 12 มีอุบัติการณ์การเกิดภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ระหว่าง พ.ศ. 2563-2565 สูงเกินเกณฑ์ เท่ากับ ร้อยละ 15.95,15.98,16.88 ส่วนอุบัติการณ์การเกิดภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ระหว่าง พ.ศ. 2563-2565 ในจังหวัดนราธิวาส เท่ากับร้อยละ19.39,19.48,14.65 ซึ่งเป้าหมายตามนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2569) ที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 10
สำหรับอุบัติการณ์ในศูนย์แพทย์ใกล้ใจ1 รพ.สุไหงโกลกระหว่างพ.ศ.2563-2565เท่ากับร้อยละ11.49,7.41,7.69 ซึ่ง มีแนวโน้มจะสูงขึ้น เป็นผลมาจากความเชื่อของหญิงตั้งครรภ์ว่า รับระทานยาบำรุงเลือดแล้วเด็กตัวใหญ่ หลังรับประทานยาบำรุงเลือดมีอาการคลื่นไส้ อ่อนเพลีย ลืมรับประทานยา นิยมดื่มชา กาแฟด้วยภาวะเศรษฐกิจรายได้ของบางครอบครัวรายได้น้อยอาหารที่รับประทานจะเป็นประเภทจำพวกแป้งซึ่งส่งผลให้เกิดการขาดธาตุเหล็ก (Iron Deficiency Anemia)ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารกเช่น มารดาเสี่ยงต่อการแท้ง ระยะคลอดเนิ่นนาน มดลูกหดรัดตัวไม่ดีมีโอกาสตกเลือดระหว่างคลอดและหลังคลอด ติดเชื้อง่ายขึ้น ด้านทารก เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อยหรือมีความพิการสูง ทารกออกมาเป็นโลหิตจาง และภาวะเสียชีวิตในครรภ์
จากผลลัพธ์ดังกล่าว จึงนำมาสู่การป้องกันและแก้ไขภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ1 รพ.สุไหงโกลกให้หมดไป โดยสตรีตั้งครรภ์ต้องได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางตั้งแต่มาฝากครรภ์ครั้งแรก การให้ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก การตรวจหาไข่พยาธิและการเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามการรับประทานยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก ติดตามระดับความเข้มข้นของเลือดทุก 1 เดือน หญิงเสี่ยงได้รับการพบแทย์ และให้สุขศึกษาด้านโภชนากาและจัดโปรแกรมเพื่อลดภาวะโลหิตจางในระยะตั้งครรภ์ที่เหมาะสมเป็นรายบุคคลไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
  1. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางน้อยกว่าร้อยละ10
  2. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการส่งต่อพบสูติแพทย์ ร้อยละ100
7.69 10.00
2 เพื่อส่งเสริมความรอบรู้เรื่องโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโลหิตจางและการปฏิตัวในขณะตั้งครรภภ์ร้อยละ 80

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 70
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/01/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ลดซีด ลดเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
ลดซีด ลดเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย หญิงตั้งครรภ์ที่อยู่ในเขตรับผิดชอบที่มาฝากครรภ์ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ1 และรพ.สุไหงโก-ลก จำนวน70 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. เจาะเลือดดูความเข้มเลือดและประเมินผล เดือนละ 1 ครั้ง
2. ประเมินความรู้เรื่อง ภาวะซีด การดูและการป้องกันของหญิงตั้งครรภ์ก่อนและหลังได้รับสุขศึกษาเรื่องภาวะซีด
3. ให้ความรู้เรื่อง ภาวะซีด ทุกครั้งที่่มารับบริการฝากครรภ์
4. ตรวจหาไข่พยาธิในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด
5. ติดตามเยี่ยมบ้านพร้อมอสม.ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด
6. ให้ไข่ไก่ คนละ 30 ฟองต่อการมารับบริการช่วงตั้งครรภ์คุณภาพ
7. มีแบบบันทึกการรับประทานอาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์ทีมีภาวะซีด
งบประมาณ
1. ค่าไข่ไก่ เบอร์ 1 แผงละ 130 บาท x 5 ครั้งมาบริการคุณภาพ x 70 คน เป็นเงิน 45,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มกราคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ไม่เกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนของทารกในครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
45500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,500.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
2. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเรื่องภาวะโลหิตจาง


>