กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดซีด ลดเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L6961-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์แพทย์ใกล้ใจ1 โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 4 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 45,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกติมาณ มะรอเซ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโลหิตจางในระยะตั้งครรภ์เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สาคัญในหลายประเทศทั่วโลก ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจำนวน ร้อยละ 80 มีความชุกของการเกิดภาวะโลหิตจางในระยะตั้งครรภ์สูงกว่าร้อยละ 20 (Garzon, Cacciato, Certelli, Salvaggio, Magliarditi, & Rizzo, 2020) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในขณะตั้งครรภ์จะส่งผลให้ปริมาณพลาสมาเพิ่มขึ้นมากกว่าจำนวนเม็ดเลือดแดง ส่งผลให้สตรีตั้งครรภ์มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางเพิ่มมากขึ้น (Cunningham et al., 2013) องค์การอนามัยโลกกำหนดเกณฑ์วินิจฉัยภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์จากค่าฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ที่ต่ำกว่า 11 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือค่าความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง (Hematocrit) ที่น้อยกว่า 33 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ (Tana, & Wanapirak, 2017) ประเทศไทย พบภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ระหว่าง พ.ศ.2563-2565เท่ากับ ร้อยละ 14.29, 14.69 และ 16.88 ตามลำดับ (DOH DASHBORD, 2022) โดยพบว่าในเขตสุขภาพที่ 12 มีอุบัติการณ์การเกิดภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ระหว่าง พ.ศ. 2563-2565 สูงเกินเกณฑ์ เท่ากับ ร้อยละ 15.95,15.98,16.88 ส่วนอุบัติการณ์การเกิดภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ระหว่าง พ.ศ. 2563-2565 ในจังหวัดนราธิวาส เท่ากับร้อยละ19.39,19.48,14.65 ซึ่งเป้าหมายตามนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2569) ที่กำหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 10
สำหรับอุบัติการณ์ในศูนย์แพทย์ใกล้ใจ1 รพ.สุไหงโกลกระหว่างพ.ศ.2563-2565เท่ากับร้อยละ11.49,7.41,7.69 ซึ่ง มีแนวโน้มจะสูงขึ้น เป็นผลมาจากความเชื่อของหญิงตั้งครรภ์ว่า รับระทานยาบำรุงเลือดแล้วเด็กตัวใหญ่ หลังรับประทานยาบำรุงเลือดมีอาการคลื่นไส้ อ่อนเพลีย ลืมรับประทานยา นิยมดื่มชา กาแฟด้วยภาวะเศรษฐกิจรายได้ของบางครอบครัวรายได้น้อยอาหารที่รับประทานจะเป็นประเภทจำพวกแป้งซึ่งส่งผลให้เกิดการขาดธาตุเหล็ก (Iron Deficiency Anemia)ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารกเช่น มารดาเสี่ยงต่อการแท้ง ระยะคลอดเนิ่นนาน มดลูกหดรัดตัวไม่ดีมีโอกาสตกเลือดระหว่างคลอดและหลังคลอด ติดเชื้อง่ายขึ้น ด้านทารก เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อยหรือมีความพิการสูง ทารกออกมาเป็นโลหิตจาง และภาวะเสียชีวิตในครรภ์
จากผลลัพธ์ดังกล่าว จึงนำมาสู่การป้องกันและแก้ไขภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ของศูนย์แพทย์ใกล้ใจ1 รพ.สุไหงโกลกให้หมดไป โดยสตรีตั้งครรภ์ต้องได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางตั้งแต่มาฝากครรภ์ครั้งแรก การให้ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก การตรวจหาไข่พยาธิและการเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามการรับประทานยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก ติดตามระดับความเข้มข้นของเลือดทุก 1 เดือน หญิงเสี่ยงได้รับการพบแทย์ และให้สุขศึกษาด้านโภชนากาและจัดโปรแกรมเพื่อลดภาวะโลหิตจางในระยะตั้งครรภ์ที่เหมาะสมเป็นรายบุคคลไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
  1. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางน้อยกว่าร้อยละ10
  2. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการส่งต่อพบสูติแพทย์ ร้อยละ100
7.69 10.00
2 เพื่อส่งเสริมความรอบรู้เรื่องโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโลหิตจางและการปฏิตัวในขณะตั้งครรภภ์ร้อยละ 80

50.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 45,500.00 1 45,500.00
16 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ลดซีด ลดเสี่ยงในหญิงตั้งครรภ์ 0 45,500.00 45,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
  2. หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเรื่องภาวะโลหิตจาง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2565 00:00 น.