กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมารดาหลังคลอดสุขภาพดี ทารกแฮปปี้กินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน ประจำปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

นายพิทักศิษย์พานิชธนาคม ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฯ
นางสาวอรุณวาตี สิทธิเส็ม หัวหน้าฝ่ายบริการสาธารณสุข
นางสาวรอซีดาเจ๊ะแว พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ 064-0477513
นางสาวพนิดารัตนสุริยา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 0973452068

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

มารดาในระยะหลังคลอดมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจและสังคม ซึ่งในช่วงแรกหลังคลอด มารดาอาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ร้องไห้ไม่มีเหตุผล หงุดหงิด นอนไม่หลับเป็นผลให้เกิดความเครียดและความผิดปกติทางอารมณ์ ดังนั้น หากมารดามีความรู้หรือมีข้อมูลที่เพียงพอสำหรับการสังเกตตนเอง รวมทั้งวิธีการปฏิบัติตัวต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระยะหลังคลอด เช่น การเปลี่ยนแปลงของเต้านม มดลูก น้ำคาวปลา แผลฝีเย็บ อาการเจ็บปวดไม่สุขสบายต่าง ๆ รวมไปถึงข้อมูลในการเลี้ยงดูบุตรจะช่วยให้มารดามีความมั่นใจและสามารถปรับตัวผ่านช่วงระยะเวลาหลังคลอดไปได้แต่ถ้าหากมารดาไม่สามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม อาจส่งผลให้เกิดปัญหาทางจิตสังคมได้ รวมถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างรากฐานที่ดีของชีวิต จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราไม่ควรมองข้ามเพราะนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก ช่วยในการส่งเสริมการเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และจิตใจ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้แก่ทารกและลดการเจ็บป่วยในทารก และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังช่วยลดภาวะตกเลือดหลังคลอด ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดเงิน ประหยัดเวลาทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับสโลแกนขององค์กรพันธมิตรโลกเพื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่กำหนดไว้สำหรับการรงค์ในสัปดาห์นมแม่โลก ประจำปี 2561 ว่านมแม่คือรากฐานที่สำคัญของชีวิต รวมทั้งแพทย์หญิงยุพยง กล่าวถึง ปัจจุบันคุณแม่วัยทำงานต่างให้ความสนใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น เนื่องจากหลายปัจจัย ในด้านเศรษฐกิจการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำให้ครอบครัวมีค่าใช้จ่ายลดลง เด็ก 1 คนจะมีค่าใช้จ่ายในการกินนมผงอยู่ที่ 4,000 บาท ต่อเดือน แต่หากเด็กเปลี่ยนมากินนมแม่ แต่ละครอบครัวจะประหยัดได้ถึง 24,000 บาท ภายในเวลา 6 เดือน นอกจากนี้ ผลงานวิจัยจากในประเทศและต่างประเทศยังยืนยันว่า เด็กที่กินนมแม่จะมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง เติบโตสมวัย และนมแม่ยังช่วยลดความเจ็บป่วยจากโรคต่างๆ ส่งผลให้แม่ลาหยุดงานน้อยลงและแม่จะทำงานได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดังนั้นงานอนามัยแม่และเด็กเป็นงานส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในงานการบริการสาธารณสุขที่ให้บริการกับประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มประชากรมารดาและทารก ซึ่งถือเป็นประชาชนกลุ่มหนึ่งที่สำคัญในการเริ่มต้นการดูแลสุขภาพ จึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการดูแลจากบุคลากรสาธารณสุขฯตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็ก ถึงวิธีการแปฏิบัติตนที่ถูกต้องรวมถึงตั้งแต่การฝากครรภ์จนถึงระยะหลังคลอดให้ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ทั้งนี้มารดาหลังคลอดที่ออกจากโรงพยาบาล ส่วนใหญ่ยังไม่ประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เกิดจากการขาดความตระหนัก ความรู้ และทักษะในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งการเยี่ยมบ้านเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน รวมถึงสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้เล็งเห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารกให้มีร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์และการสร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกให้รู้สึกอบอุ่นอารมณ์ดีผ่อนคลาย และปลอดภัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มารดาหลังคลอดมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพของตนเองและลูกได้ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของมารดามีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพของตนเองและลูกได้ถูกต้อง

50.00 80.00
2 เพื่อให้มารดาและทารกได้รับบริการตามมาตรฐานวิชาชีพ

ร้อยละ 100 ของมารดาและทารกได้รับบริการตามมาตฐานวิชาชีพ

80.00 100.00
3 เพื่อให้มารดาหลังคลอด มีขวัญกำลังใจ ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน

ร้อยละ 100 มารดาหลังคลอด มีขวัญกำลังใจ ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน

80.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/07/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเยี่ยมมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเยี่ยมมารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย มารดาหลังคลอดครรภ์แรกและทารก 50 คน (ช่วงระยะเวลา 45 วันหลังคลอด)
วิธีดำเนินการ ดังนี้
- ประสานศูนย์แพทย์ใกล้ใจ 1 และ 2 เพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมาย
- ลงชุมชนเพื่อตรวจเยี่ยมมารดาหลังคลอดในช่วงระยะเวลา 45 วัน ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพหลังคลอด และกระตุ้นให้เลึ้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน และแนะนำการเลี้ยงดูทารกแรกเกิดที่ถูกต้องและเหมาะสม
- ติดตามเยี่ยมซ้ำ ประเมินผล สุขภาพมารดาและทารกหลังคลอด
- สรุปผลการดำเนินงาน

งบประมาณ
1. ชุดอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายเด็ก (เพื่อสาธิตการอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายเด็กทารก เช่น สบู่เด็ก แชมพูเด็ก หวีผมเด็ก แป้งเด็ก สำลี ผ้ายางกันเปียก อุปกรณ์ทำความสะอาดสะดือเด็ก ผ้าอ้อมสำเร็จรูปและของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก เป็นต้น ) จำนวน 50 ชุดๆละ 500 บาท เป็นเงิน 25,000 บาท
2. ชุดเยี่ยมมารดาหลังคลอด
- นมสำหรับหญิงหลังคลอด (ขนาด 180 มล. 1 แพค/คน เยี่ยมจำนวน 2 ครั้ง/คน จำนวน 50 คน รวมเป็น 100 แพค) 100 แพค x 140 บาท เป็นเงิน 14,000.00 บาท
- อินทผาลัม 2 กล่อง/คน จำนวน 50 คน รวมเป็น 100 กล่อง x 200 บาท เป็นเงิน 20,000.00 บาท
- ไข่ไก่ 1 ถาด/คน จำนวน 50 คน รวมเป็น 50 ถาด x 130 บาท เป็นเงิน 6,500.00 บาท
- ค่าวัสดุอื่นๆที่จำเป็นในโครงการ ได้แก่ สื่อให้ความรู้ แผ่นพับ กระดาษ ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มารดาหลังคลอดครรภ์แรกและทารก ได้รับการเยี่ยมและให้ความรู้การดูแลบุตรจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
67500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 67,500.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มารดาหลังคลอดมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพของตนเองและลูกได้ถูกต้อง
2. มารดาและทารกได้รับบริการมาตรฐานมีคุณภาพ
3. มารดาหลังคลอด มีขวัญกำลังใจ ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่


>