กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนุ่มสาวเทศบาลโก-ลก "ลดน้ำหนัก ลดโรค" หล่อสวยสุขภาพดี ใน 90 วัน season 2 ปีงบประมาณ 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

นายพิทักศิษย์พานิชธนาคม ผอ.กองสาธารณสุขฯ
นางสาวอรุณวาตีสิทธิเส็ม หัวหน้าฝ่ายบริการสาธารณสุข
นางสาวรอซีดาเจ๊ะแว พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการโทร. 064-0477513
นางสาวพนิดา รัตนสุริยา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โทร. 0973452068

เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขทั้งของไทยและทั่วโลก เนื่องจาก ภาวะน้ำหนักเกินเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งทวีความรุนแรงและเป็นภัยคุกคามสุขภาพที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างน่าวิตก โรคอ้วนเป็นโรคที่พบบ่อยตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้สูงอายุ เมื่อเราอ้วน นอกจากจะทำให้บุคลิกภาพไม่ดึงดูดและไม่น่าสนใจแล้ว ยังมีผลเสียต่อสุขภาพ เพราะเป็นสาเหตุในการเกิดโรคต่างๆมากมาย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคกระดูก เป็นต้น ซึ่งการออกกำลังกายเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยขจัดความอ้วน เมื่อร่างกายใช้พลังงานมากกว่าปริมาณอาหารที่ได้รับ ร่างกายจะนำไขมันส่วนเกินที่เก็บสะสมเอาไว้มาเปลี่ยนเป็นพลังงานในการออกกำลังกาย ทำให้น้ำหนักลดลง การออกกำลังกายยังมีผลดีระยะยาว ทำให้สุขภาพทางร่างกายและจิตใจดี บุคลิกดี เป็นที่ดึงดูดใจของผู้คนที่พบเห็น ทำให้คล่องแคล่วว่องไว และลดสาเหตุในการเกิดโรคต่างๆอีกมากมาย และนอกจากการออกกำลังกายแล้ว การรู้จักควบคุมอาหาร รับประทานอาหารที่มีประโยชน์แต่พอดี ก็เป็นการควบคุมน้ำหนักได้อีกทางหนึ่งด้วย
รายงานขององค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2559 ระบุ ว่าประชากรทั่วโลกที่อายุมากกว่า 18 ปี ร้อยละ 39 มีภาวะน้ำหนักเกิน (BMI > 25) โดยที่ในประเทศไทยนั้น จากรายงานการสำรวจสุขภาพของประชากรไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 พบว่า ผู้หญิงร้อยละ 41.8 และผู้ชายร้อยละ 32.9 มีภาวะน้ำหนักเกิน (BMI > 25) พบความชุกของภาวะน้ำหนักเกินของผู้ชายใน กทม. มากที่สุด ส่วนของผู้หญิงพบในภาคกลางมากที่สุด ปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกได้ปรับเกณฑ์ดัชนีมวลกายของชาวเอเชียแล้ว (ดัชนีมวลกายของคนเอเชีย ≥ 23 จะถือว่ามีน้ำหนักเกินเกณฑ์ และหากดัชนีมวลกาย > 30 จะถือว่าเป็นโรคอ้วน) แต่ยังไม่มีการสำรวจสัดส่วนของประชากรไทยที่น้ำหนักเกิน โดยอิงเกณฑ์นี้ ปัจจัยเสี่ยงของภาวะน้ำหนักเกินในประเทศไทยที่พบมากขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมที่เป็นแบบตะวันตกมากขึ้น อาหารที่ให้พลังงานสูง เทคโนโลยีที่สะดวกสบายมากขึ้น การทำงานที่ใช้การเคลื่อนไหวทางร่างกายลดลง สังคมการทำงานที่มีการแข่งกันสูงมากขึ้น ทำให้เกิดความเครียด การทำงานกลางคืน ต่างก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินได้ทั้งสิ้น
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ว่าด้วยการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ และให้บริการเผยแพร่ความรู้ทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และได้เล็งเห็นถึงปัญหาสุขภาพของบุคลากรในหน่วยงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีภาวะน้ำหนักเกิน โดยในปี 2564 ได้มีการจัดโครงการหนุ่มสาวเทศบาลโก-ลก "ลดน้ำหนัด ลดโรค" หล่อสวยสุขภาพดี ใน 90 วัน พบว่า ก่อนการจัดโครงการมีการสำรวจดัชนีมวลกายของพนักงานเเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกทั้งหมด 195 คน ผลดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์อ้วนร้อยละ 35 และอ้วนมากร้อยละ 22 ซึ่งหลังการจัดโครงการมีผลดัชนีมวลกายที่ดีขึ้นคือ ผลดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์อ้วนลดลงเหลือร้อยละ 34 และอ้วนมากเหลือร้อยละ 18 ซึ่งเป็นที่น่าพึงพอใจ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ได้เพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขึ้น คือ กลุ่มสมาชิกของชมรม/กลุ่มแอโรบิคในพื้นที่เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกที่มีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตรฐาน เป็นเป้าหมายในโครงการด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) เกินเกณฑ์มาตรฐาน ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานหรือเข้าใกล้เกณฑ์มาตรฐานมากที่สุด

ผู้เข้าร่วมโครงการมีน้ำหนักลดลงได้ตามเกณฑ์มาตรฐานหรือเข้าใกล้เกณฑ์มาตรฐานมากที่สุดร้อยละ 30

57.00 30.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการลดน้ำหนักที่ถูกต้อง

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการลดน้ำหนักที่ถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ "ลดน้ำหนักอย่างไร ให้หล่อสวยสุขภาพดี"

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ "ลดน้ำหนักอย่างไร ให้หล่อสวยสุขภาพดี"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
พนักงานเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกและพนักงานจ้างทั้งหมดจำนวน 200 คน
กลุ่ม/ชมรมแอโรบิคต่างๆ จำนวน 100 คน
รวม 300 คน
รายละเอียดกิจกรรม
1. ประชุมทีมเพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ
2. ประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการตามเป้าหมายที่วางไว้
3. ประสานวิทยากรมาอบรมให้ความรู้เรื่อง ลดน้ำหนักอย่างไร ให้หล่อสวยสุขภาพดี
4. ดำเนินการตามกำหนดการโครงการ ดังนี้
08.00 - 08.30 น. ลงทำเบียน
08.30 - 08.45 น. เปิดพิธีโดยประธานกองทุนฯ
08.45 - 09.00 น. ทำแบบประเมินความรู้ก่อนการอบรม/ประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นด้วยการวัดดัชนีมวลกายของผู้เข้าร่วมการอบรมทุกคน
09.00 - 12.00 น. อบรมให้ความรู้เรื่อง ลดน้ำหนักอย่างไร ให้หล่อสวยสุขภาพดี โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 16.00 น. กิจกรรมเข้าฐานเรียนรู้ส่งเสริมสุขภาพ 4 ฐาน
ฐานที่ 1 ลดน้ำหนักด้วยอาหารคีโต
ฐานที่ 2 การทำ IF หรือ Intermittent Fasting
ฐานที่ 3 ไม่เครียด ไม่อ้วน
ฐานที่ 4 นอนหลับอย่างไรไม่อ้วน
5. ทำแบบประเมินความรู้หลังการอบรม
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 300 คน เป็นเงิน 18,000 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 300 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 18,000 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร (บรรยาย) 600 บาท x 3 ชม. เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร (กลุ่ม) 300 บาท x 3 ชม. x 4 คน เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าเครื่องวัดน้ำหนักและมวลกาย 1 เครื่อง x 6,500 บาท เป็นเงิน 6,500 บาท
- ที่วัดส่วนสูง 1 ชุด x 2,500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
- สายวัดรอบเอว 2 อัน x 30 บาท เป็นเงิน 60 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการการอบรม ได้แก่ ปากกา อุปกรณ์ที่ใช้ประจำฐาน เอกสารการอบรม เป็นต้น = 4,000 บาท
- ค่าป้ายโครงการ = 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ และรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
55660.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม "ลดน้ำหนัก ลดโรค"

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม "ลดน้ำหนัก ลดโรค"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
- พนักงานเทศบาลและสมาชิกกลุ่ม/ชมรมแอโรบิคที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน (ค่า BMI มากกว่า 25 kg/m²)
- คณะทำงาน 8 คน
วิธีดำเนินการ ดังนี้
1. ประชาสัมพันธ์และรับสมัครพนักงานที่ทำงานในเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก ที่มีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตรฐาน ค่า BMI มากกว่า 25 kg/m² เข้าร่วมกิจกรรม
2. ให้เวลาผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการควบคุมอาหารและออกกำลังกายตามแนวทางที่ตนถนัด เป็นระยะเวลา 90 วัน (ประมาณเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2566)
4. ติดตามและประเมินดัชนีมวลกาย (BMI ) ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 2 ครั้ง เพื่อเป็นการกระตุ้น ติดตาม และค้นหาผู้ที่สามารถลดน้ำหนักได้มากที่สุดอันดับที่ 1-3 ของกลุ่มชายและกลุ่มหญิง
5. มอบเกียรติบัตรแก่ผู้ที่สามารถลดน้ำหนักได้มากที่สุดหรือใกล้เคียงค่าดัชนีมวลกายปกติมากที่สุด อันดับที่ 1-3 ของกลุ่มชายและกลุ่มหญิงเพื่อเป็นแรงจูงใจ
กำหนดการ (ติดตามครั้งที่ 1 เดือนกรกฎาคม 2566)
09.00 - 12.00 น.ติดตามและประเมินดัชนีมวลกาย (BMI ) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละกอง/สำนัก
กำหนดการ (ติดตามครั้งที่ 2 เดือนสิงหาคม 2566)
09.00 - 12.00 น.ติดตามและประเมินดัชนีมวลกาย (BMI ) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละกอง/สำนัก
งบประมาณ ดังนี้
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท x 8 คนx 2 ครั้ง เป็นเงิน 480 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กรกฎาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถลดน้ำหนักเพื่อให้มีค่าดัชนีมวลกายตามเกณฑ์หรือใกล้เคียงค่าปกติมากที่สุด โดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายตามแนวทางที่ตนถนัด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
480.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 56,140.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) เกินเกณฑ์มาตรฐาน มีดัชนีมวลกาย (BMI) ลดลง ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานหรือเข้าใกล้เกณฑ์มาตรฐานมากที่สุด
2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการลดน้ำหนักที่ถูกต้อง


>