กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนุ่มสาวเทศบาลโก-ลก "ลดน้ำหนัก ลดโรค" หล่อสวยสุขภาพดี ใน 90 วัน season 2 ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L6961-1-42
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 31 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 56,140.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพนิดา รัตนสุริยา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขทั้งของไทยและทั่วโลก เนื่องจาก ภาวะน้ำหนักเกินเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งทวีความรุนแรงและเป็นภัยคุกคามสุขภาพที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างน่าวิตก โรคอ้วนเป็นโรคที่พบบ่อยตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้สูงอายุ เมื่อเราอ้วน นอกจากจะทำให้บุคลิกภาพไม่ดึงดูดและไม่น่าสนใจแล้ว ยังมีผลเสียต่อสุขภาพ เพราะเป็นสาเหตุในการเกิดโรคต่างๆมากมาย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคกระดูก เป็นต้น ซึ่งการออกกำลังกายเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยขจัดความอ้วน เมื่อร่างกายใช้พลังงานมากกว่าปริมาณอาหารที่ได้รับ ร่างกายจะนำไขมันส่วนเกินที่เก็บสะสมเอาไว้มาเปลี่ยนเป็นพลังงานในการออกกำลังกาย ทำให้น้ำหนักลดลง การออกกำลังกายยังมีผลดีระยะยาว ทำให้สุขภาพทางร่างกายและจิตใจดี บุคลิกดี เป็นที่ดึงดูดใจของผู้คนที่พบเห็น ทำให้คล่องแคล่วว่องไว และลดสาเหตุในการเกิดโรคต่างๆอีกมากมาย และนอกจากการออกกำลังกายแล้ว การรู้จักควบคุมอาหาร รับประทานอาหารที่มีประโยชน์แต่พอดี ก็เป็นการควบคุมน้ำหนักได้อีกทางหนึ่งด้วย รายงานขององค์การอนามัยโลกในปี พ.ศ. 2559 ระบุ ว่าประชากรทั่วโลกที่อายุมากกว่า 18 ปี ร้อยละ 39 มีภาวะน้ำหนักเกิน (BMI > 25) โดยที่ในประเทศไทยนั้น จากรายงานการสำรวจสุขภาพของประชากรไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 พบว่า ผู้หญิงร้อยละ 41.8 และผู้ชายร้อยละ 32.9 มีภาวะน้ำหนักเกิน (BMI > 25) พบความชุกของภาวะน้ำหนักเกินของผู้ชายใน กทม. มากที่สุด ส่วนของผู้หญิงพบในภาคกลางมากที่สุด ปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกได้ปรับเกณฑ์ดัชนีมวลกายของชาวเอเชียแล้ว (ดัชนีมวลกายของคนเอเชีย ≥ 23 จะถือว่ามีน้ำหนักเกินเกณฑ์ และหากดัชนีมวลกาย > 30 จะถือว่าเป็นโรคอ้วน) แต่ยังไม่มีการสำรวจสัดส่วนของประชากรไทยที่น้ำหนักเกิน โดยอิงเกณฑ์นี้ ปัจจัยเสี่ยงของภาวะน้ำหนักเกินในประเทศไทยที่พบมากขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมที่เป็นแบบตะวันตกมากขึ้น อาหารที่ให้พลังงานสูง เทคโนโลยีที่สะดวกสบายมากขึ้น การทำงานที่ใช้การเคลื่อนไหวทางร่างกายลดลง สังคมการทำงานที่มีการแข่งกันสูงมากขึ้น ทำให้เกิดความเครียด การทำงานกลางคืน ต่างก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินได้ทั้งสิ้น
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ว่าด้วยการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ และให้บริการเผยแพร่ความรู้ทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และได้เล็งเห็นถึงปัญหาสุขภาพของบุคลากรในหน่วยงาน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีภาวะน้ำหนักเกิน โดยในปี 2564 ได้มีการจัดโครงการหนุ่มสาวเทศบาลโก-ลก "ลดน้ำหนัด ลดโรค" หล่อสวยสุขภาพดี ใน 90 วัน พบว่า ก่อนการจัดโครงการมีการสำรวจดัชนีมวลกายของพนักงานเเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกทั้งหมด 195 คน ผลดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์อ้วนร้อยละ 35 และอ้วนมากร้อยละ 22 ซึ่งหลังการจัดโครงการมีผลดัชนีมวลกายที่ดีขึ้นคือ ผลดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์อ้วนลดลงเหลือร้อยละ 34 และอ้วนมากเหลือร้อยละ 18 ซึ่งเป็นที่น่าพึงพอใจ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ได้เพิ่มกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขึ้น คือ กลุ่มสมาชิกของชมรม/กลุ่มแอโรบิคในพื้นที่เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกที่มีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตรฐาน เป็นเป้าหมายในโครงการด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) เกินเกณฑ์มาตรฐาน ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานหรือเข้าใกล้เกณฑ์มาตรฐานมากที่สุด

ผู้เข้าร่วมโครงการมีน้ำหนักลดลงได้ตามเกณฑ์มาตรฐานหรือเข้าใกล้เกณฑ์มาตรฐานมากที่สุดร้อยละ 30

57.00 30.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการลดน้ำหนักที่ถูกต้อง

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการลดน้ำหนักที่ถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

50.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 56,140.00 2 56,140.00
1 - 30 มิ.ย. 66 อบรมให้ความรู้ "ลดน้ำหนักอย่างไร ให้หล่อสวยสุขภาพดี" 0 55,660.00 55,660.00
3 ก.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 กิจกรรม "ลดน้ำหนัก ลดโรค" 0 480.00 480.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) เกินเกณฑ์มาตรฐาน มีดัชนีมวลกาย (BMI) ลดลง ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานหรือเข้าใกล้เกณฑ์มาตรฐานมากที่สุด
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการลดน้ำหนักที่ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2565 00:00 น.