กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

กลุ่มสตรีสร้างเสริมสุขภาพกาย ใจ ชุมชนดี ชีวีมีสุข บางปลาหมอ ปี ๖๖

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ม.๘

๑. นางสาวกอลีเยาะ อาแวดือมอง
๒. นางสำสีย๊ะ สาและ
๓. นางมารีนา สะมาแอ
๔. นางฮามีดะห์ สาและ
๕. นางซูมัยดะห์ ยุนุ

หมู่ที่ 8 บ้านบางปลาหมอ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อที่เรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและถือว่าเป็น “ภัยเงียบ” ในแต่ละปีมีกลุ่มเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของวิถีการดำรงชีวิต ตามกระแส เช่น เศรษฐกิจ การแข่งทางการตลาด การสื่อสารและการการคมนาคมรวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ปัจจุบันและอนาคตปัญหาสุขภาพดูแนวโน้มแล้วปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน พฤติกรรมการออกกำลังกาย ดังนั้นการแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนจำเป็นจะต้องพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้มีความเหมาะสมทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน เพื่อให้ประชาชนสามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับตนอง ครอบครัว และชุมชนได้ จำเป็นต้องมีการส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพแก่ประชาชน สอดคล้องกับนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยให้ประชาชนห่างไกลโรคมีเป้าหมายที่สำคัญคือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนและลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยการส่งเสริมให้มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอีกด้วย
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบางปลาหมอ หมู่ที่ 8 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ได้มีการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของประชาชน พบว่าปัญหาสุขภาพที่พบในปัจจุบัน คือการมีดัชนีมวลกายสูง ความเสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูง ป่วยมีไขมันในเส้นเลือดสูง อันเนือ่งมาจาก
๑. ขาดความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง และตามกระแสการบริโภค
๒. ขาดแรงจูงใจและแรงสนับสนุนจากผู้นำชุมชนหรือคนรอบข้าง
๓. ปัญหาในเรื่องอุปสรรคทางวัฒนธรรม คือ ความอาย
เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของชมรม และร่วมแก้ไขปัญหาทางสุขภาพของชุมชนอีกช่องทาง ทางชมรมจึงได้ทำโครงการส่งเสริมสุขภาพกาย ใจ ชุมชนดี ชีวีมีสุข บางปลาหมอ ปี ๖๖ เสนอต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง เพื่อพิจารณาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุง ในสัตรี อายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบ

สัตรีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ร้อยละ 70

120.00 84.00
2 เพื่อให้สตรีอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ ได้มีความรู้โดยให้มีบทบาทในการจัดการสุขภาพ

สตรีอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความรู้การดูแลสุขภาพร้อยละ 80

120.00 96.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ 40
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุง ในสตรี อายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 120 คน x 25 บาท เป็นเงิน 3,000.-บาท - ค่าวัสดุ เครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรอง (เช่น เครื่องวัดความดัน เครื่องชั่งน้ำหนัก ฯลฯ) เป็นเงิน 5,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรอง/มีข้อมูลสำหรับใช้ในการปรับเปลี่ยน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8300.00

กิจกรรมที่ 2 ขับเคลื่อนองค์ความรู้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ

ชื่อกิจกรรม
ขับเคลื่อนองค์ความรู้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและผู้ดูแลสุขภาพ
- ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม 60 คน x 60 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คน x 35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 4,200 บาท - ค่าวิทยาการ 4 ชม.ๆละ 600 บาท เป็นเงิน2,400 บาท รวมเป็นเงิน10,200บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 31 มีนาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถนำความรู้ไปใช้และเผยเพร่แก่สมาชิกในครอบครัวต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

กิจกรรมที่ 3 เยีย่มบ้านกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
เยีย่มบ้านกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การเยี่ยมบ้านตามความเสี่ยงของกลุ่มสตรีที่ได้มีการคัดกรองเบื้องต้นโดยอสม.หรือเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ - ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2566 ถึง 15 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการเยี่ยมบ้านโดยเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ / เกิดความรัก ความเป็นห่วงเป็นใยในชุมชน สร้างความเอื้ออาทรกันในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมสรุปโครงการ กิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปโครงการ กิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมและถอดบทเรียนจากการจัดกิจกรรม - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คน x 25 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 สิงหาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีข้อมูลที่ได้จากการคัดกรอง การปรับเปลี่ยน การเยี่ยมบ้าน ที่ตกผลึก / สามารถนำความรู้ที่ได้เป็นข้อมูลประกอบและวางแผนการดำเนินงานในปีต่อไปได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. ประชุมชี้แจงโครงการ
2. คัดกรองประเมินภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ แจ้งผลการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงพร้อมแนะนำ ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ
3. อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
4. การติดตามเยี่ยมบ้านเสริมกำลังใจให้แก่กลุ่มเสี่ยง และป่วย
5. สรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความตระหนัก และใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน สามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสม
2. เกิดการพัฒนาการดำเนินงานปิงปอง 7 สี ลดเสี่ยง ลดโรค ในประชาชนทั่วไป
3. ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง


>