กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ กลุ่มสตรีสร้างเสริมสุขภาพกาย ใจ ชุมชนดี ชีวีมีสุข บางปลาหมอ ปี ๖๖
รหัสโครงการ 66-L3065-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ม.๘
วันที่อนุมัติ 29 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กอลีเยาะ อาแวดือมอง
พี่เลี้ยงโครงการ แวอูเซ็ง แวสาและ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.860778,101.196088place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อที่เรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและถือว่าเป็น “ภัยเงียบ” ในแต่ละปีมีกลุ่มเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากสาเหตุการเปลี่ยนแปลงของวิถีการดำรงชีวิต ตามกระแส เช่น เศรษฐกิจ การแข่งทางการตลาด การสื่อสารและการการคมนาคมรวมถึงการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของประชาชนเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากอดีตปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนใหญ่เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อ แต่ปัจจุบันและอนาคตปัญหาสุขภาพดูแนวโน้มแล้วปัญหาสุขภาพจะมีผลกระทบมาจากสังคม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการบริโภคของประชาชน พฤติกรรมการออกกำลังกาย ดังนั้นการแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนจำเป็นจะต้องพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้มีความเหมาะสมทั้งระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน เพื่อให้ประชาชนสามารถส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับตนอง ครอบครัว และชุมชนได้ จำเป็นต้องมีการส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพแก่ประชาชน สอดคล้องกับนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยให้ประชาชนห่างไกลโรคมีเป้าหมายที่สำคัญคือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนและลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว โดยการส่งเสริมให้มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอีกด้วย ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบางปลาหมอ หมู่ที่ 8 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ได้มีการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของประชาชน พบว่าปัญหาสุขภาพที่พบในปัจจุบัน คือการมีดัชนีมวลกายสูง ความเสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูง ป่วยมีไขมันในเส้นเลือดสูง อันเนือ่งมาจาก
๑. ขาดความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง และตามกระแสการบริโภค
๒. ขาดแรงจูงใจและแรงสนับสนุนจากผู้นำชุมชนหรือคนรอบข้าง
๓. ปัญหาในเรื่องอุปสรรคทางวัฒนธรรม คือ ความอาย เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของชมรม และร่วมแก้ไขปัญหาทางสุขภาพของชุมชนอีกช่องทาง ทางชมรมจึงได้ทำโครงการส่งเสริมสุขภาพกาย ใจ ชุมชนดี ชีวีมีสุข บางปลาหมอ ปี ๖๖ เสนอต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง เพื่อพิจารณาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุง ในสัตรี อายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบ

สัตรีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ร้อยละ 70

120.00 84.00
2 เพื่อให้สตรีอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ ได้มีความรู้โดยให้มีบทบาทในการจัดการสุขภาพ

สตรีอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความรู้การดูแลสุขภาพร้อยละ 80

120.00 96.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 3 20,000.00
1 - 28 ก.พ. 66 คัดกรองความเสี่ยงทางสุขภาพ 0 8,300.00 8,300.00
1 - 31 มี.ค. 66 ขับเคลื่อนองค์ความรู้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ 0 10,200.00 10,200.00
1 เม.ย. 66 - 15 ส.ค. 66 เยีย่มบ้านกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วย 0 0.00 -
15 - 31 ส.ค. 66 ประชุมสรุปโครงการ กิจกรรม 0 1,500.00 1,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความตระหนัก และใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน สามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสม
  2. เกิดการพัฒนาการดำเนินงานปิงปอง 7 สี ลดเสี่ยง ลดโรค ในประชาชนทั่วไป
  3. ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2565 00:00 น.